Economics

แฮปปี้! เคาะ ‘คนละครึ่งเฟส 2’ ขยายวงเงินจุกๆเลย 3,500 บาท

คนละครึ่งเฟส 2 มาแล้ว! เคาะขยายเพิ่มอีก 5 ล้านสิทธิ เปิดลงทะเบียน 16 ธันวาคมนี้ เผยลงทะเบียนใหม่รับเลย 3,500 บาท

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ แถลงผลการประชุมศูนย์บริการสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (ศบศ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน เห็นชอบมาตรการที่สำคัญหลายเรื่อง

โดยหนึ่งในนั้น คือ มาตรการ “คนละครึ่งเฟส 2” โดยจะเป็นรูปแบบการดำเนินการเช่นเดียวกับระยะแรก ที่ภาครัฐจะร่วมจ่าย 50% แต่ไม่เกิน 150 บาท/คน/วัน แต่มีรายละเอียดเพิ่มเติม โดยเปิดให้ลงทะเบียนรับสิทธิเพิ่มอีก 5 ล้านคน วงเงินคนละ 3,500 บาท

แจกเงิน 3000 ๒๐๑๑๑๗ 0

โดยผู้ที่ถูกตัดสิทธิจากโครงการคนละครึ่งระยะที่หนึ่ง เนื่องจาก ไม่ได้ใช้จ่ายภายใต้โครงการภายในวันที่กำหนดยังสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการระยะที่สองได้ มีกำหนดวันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม 2564 พร้อมกับเพิ่มวงเงินผู้ได้รับสิทธิโครงการคนละครึ่งระยะที่หนึ่งอีกคนละ 500 บาท ขยายระยะเวลาใช้สิทธิถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้ามาตรการคนละครึ่ง ระยะที่หนึ่ง มีร้านค้าลงทะเบียนร่วมโครงการคนละครึ่ง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม – 1 ธันวาคม 2563 จำนวน 892,375 ร้าน แบ่งเป็น กิจการที่ลงทะเบียนสำเร็จ 543,812 ร้าน กิจการที่รอดำเนินการตรวจสอบ 158,917 ร้าน และกิจการไม่เข้าข่ายเงื่อนไขของโครงการ 7,012 ร้าน

ประเภทของกิจการที่ลงทะเบียนสำเร็จ แบ่งเป็น ร้านอาหารและเครื่องดื่ม 305,644 ร้าน ร้านธงฟ้า 45,054 ร้าน ร้าน OTOP 16,236 ร้าน และร้านค้าทั่วไป 176,878 ร้าน โดยแบ่งเป็นหน้าร้าน 431,690 ร้าน และหาบเร่แผงลอย 112,122 ร้าน โดยเป็นกิจการอยู่ในภาคกลาง 357,919 ร้าน ภาคใต้ 171,148 ร้าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 157,228 ร้าน ภาคเหนือ 86,589 ร้าน ภาคตะวันออก 79,854 ร้าน และภาคตะวันตก 39,637 ร้าน

ขณะที่ มีประชาชนลงทะเบียนรวมทั้งสิ้น 9,565,702 ราย ใช้สิทธิแล้ว 9,525,572 ราย ได้สิทธิแล้วแต่ยังไม่ใช้ 40,130 ราย ปัจจุบันมียอดใช้จ่ายรวม 33,487.3 ล้านบาท โดยเป็นค่าใช้จ่ายจากส่วนประชาชน 17,101.0 ล้านบาท และรัฐช่วยจ่าย 16,386.3 ล้านบาท คิดเป็นค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 182 บาทต่อคน โดยประเภทของร้านค้าที่มียอดการใช้จ่ายมากที่สุด ได้แก่ ร้านอาหารและเครื่องดื่มคิดเป็นสัดส่วน 35% ร้านค้าทั่วไป 33% ร้านธงฟ้า 23% และร้านค้า OTOP 9% ของยอดการใช้จ่ายรวม

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo