Politics

บอกละเอียด! วิธีเช็คสิทธิ ‘เลือกตั้งท้องถิ่น’ แค่กรอกบัตรประชาชนง่ายๆ รู้หมด

คนอยากหย่อนบัตรฯ เข้ามาเลย! บอกละเอียด วิธีเช็คสิทธิ “เลือกตั้งท้องถิ่น” วันที่ 20 ธ.ค. แค่กรอกหมายเลขบัตรประชาชนง่ายๆ รู้ข้อมูลหมด

เตรียมตัวหย่อนบัตรฯ หรือยัง? เพราะในเวลา 08.00-17.00 น. วันที่ 20 ธันวาคมนี้ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้จัดการเลือกตั้งท้องถิ่น นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (นายกฯ อบจ.) และ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (สภาฯ อบจ.) ขึ้นทั่วประเทศ

วิธีเช็คสิทธิ เลือกตั้งท้องถิ่น 465

ในการเลือกตั้งครั้งจะไม่มีการเลือกตั้งล่วงหน้า และไม่มีการเลือกตั้งนอกประเทศเหมือนกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ครั้งที่ผ่าน ฉะนั้นจึงขอให้มีผู้สิทธิ์มีเสียงเตรียมตัวให้ดี! เพราะโอกาสใช้สิทธิ์ใช้เสียงมีแค่วันเดียวเท่านั้น

การเตรียมตัวขั้นแรกสุด คือ การตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งด้วย 2 วิธี

ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 25 วัน ตรวจสอบรายชื่อได้ที่ที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการ อบจ. ที่เลือกตั้งหรือบริเวณใกล้เคียงกับที่เลือกตั้ง

ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 15 วัน ให้ตรวจสอบรายชื่อจากเอกสารที่แจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งมายังเจ้าบ้าน

แต่ช้าก่อน … ประชาชนมีทางเลือกใหม่ สามารถเช็คสิทธิ์ได้ง่ายๆ ในยุค 4.0

 

วิธีเช็คสิทธิ “เลือกตั้งท้องถิ่น” แค่คลิกเดียว

ล่าสุดมีวิธีการเช็คสิทธิ์เลือกตั้งท้องถิ่นง่ายๆ ไม่ต้องเดินทางให้ยุ่งยาก เมื่อกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้เปิดระบบตรวจสอบผู้มีสิทธิ เลือกตั้งท้องถิ่น สุดง่าย ดังนี้

  • เข้าสู่ลิงก์ของกรมการปกครอง คลิกที่นี่ **จากทดลองใช้พบว่า ระบบค่อนข้างช้า ขอให้ประชาชนใจเย็นๆ 
  • กรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก จากนั้นกด “ค้นหา”

เช็คสิทธิ์ เลือกตั้งท้องถิ่น

  • ปรากฎผลการตรวจสอบสิทธิ เลือกตั้งท้องถิ่น

ถ้าไม่ใช่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนายกฯ และสภาฯ อบจ. ระบบก็จะขึ้นว่า “ผลการตรวจสอบ ไม่พบข้อมูลผู้มีสิทธิเลือกตั้ง”

หกด

ถ้าเป็นผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งนายกฯ และสภาฯ อบจ. ระบบก็จะแจ้งรายละเอียดการเลือกตั้งในวันที่ 20 ธันวาคม 2563 ว่า มีสิทธิเลือกตั้งที่จังหวัดใด รายชื่อของผู้มีสิทธิ เขตเลือกตั้ง หน่วยเลือกตั้ง สถานที่เลือกตั้ง ลำดับในบัญชีรายชื่อ รวมถึงมีสิทธิเลือกตั้งอะไรบ้าง

เช็คสิทธิ์ เลือกตั้งท้องถิ่น

เห็นไหมว่า ง่ายๆ แค่นิดเดียว!

อย่างไรก็ตาม ถ้าหากพบว่า ตนเอง หรือผู้มีชื่อยู่ในทะเบียนบ้านของตนไม่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หรือเจ้าบ้านเห็นว่ามีชื่อบุคคลอื่นอยู่ในทะเบียนบ้านของตน โดยไม่ได้อาศัยอยู่จริง ก็ให้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นเพื่อ ขอเพิ่มชื่อ – ถอนชื่อ ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10 วัน พร้อมนำสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชน หรือบัตรประจำตัวอื่นใดที่ทางราชการออกให้ไปแสดงด้วย

 

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

ในการ เลือกตั้งท้องถิ่น นายกฯ อบจ. หรือสภาฯ อบจ. ครั้งนี้ ประชาชนจะสามารถใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งได้ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

  • มีสัญชาติไทย แต่ถ้าแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
  • อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี ในวันเลือกตั้ง
  • มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันเลือกตั้ง
  • คุณสมบัติอื่น ตามที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด

ขณะเดียวกันก็มีการกำหนด “ลักษณะต้องห้าม” มิให้ใช้สิทธิ เลือกตั้งท้องถิ่น สำหรับบุคคลต่อไปนี้

  • เป็นภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวช
  • อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ไม่ว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดแล้วหรือไม่
  • ต้องคุมขังอยู่ โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ขอบด้วยกฎหมาย
  • วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
  • มีลักษณะอื่น ตามที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด

เลือกตั้ง กกต.2

หลักฐานแสดงตน “เลือกตั้งท้องถิ่น”

  • บัตรประจำตัวประชาชน (บัตรที่หมดอายุก็ใช้ได้)
  • บัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐออกให้ที่มีรูปถ่ายและมีเลขประจำตัวประชาชน เช่น บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ, ใบขับขี่, หนังสือเดินทาง (พาสปอร์ต) เป็นต้น

 

ไปเลือกตั้งไม่ได้ ควรแจ้งเหตุ!

สำหรับผู้มีสิทธิ เลือกตั้งท้องถิ่น ในครั้งนี้ แต่ไม่สามารถไปใช้สิทธิได้ เนื่องจากมีเหตุผลจำเป็น ก็ควรแจ้งเหตุต่อนายทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่นที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน เพื่อไม่ให้เสียสิทธิทางการเมืองในอนาคต

โดยทำเป็นหนังสือซึ่งต้องระบุเลขประจำตัวประชาชน และที่อยู่ตามหลักฐานทะเบียนบ้าน ภายใน 7 วันก่อนวันเลือกตั้ง หรือภายใน 7 วันนับแต่วันเลือกตั้ง สามารถแจ้งด้วยตัวเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นไปยื่นแทน หรือจัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน

เลือกตั้ง กกต

เหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้

  • มีกิจธุระจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเดินทางไปพื้นที่ห่างไกล
  • เจ็บป่วยและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
  • เป็นคนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
  • เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
  • มีถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากที่เลือกตั้งเกินกว่า 100 กิโลเมตร
  • ได้รับคำสั่งจากทางราชการให้ไปปฏิบัติหน้าที่นอกเขตเลือกตั้ง
  • มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุอื่นที่ กกต. กำหนด

กรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้แจ้งเหตุไว้แล้ว แต่ในวันเลือกตั้งไม่ได้ติดธุระหรือมีความจำเป็นใดๆ แล้ว ก็ยังสามารถไปใช้สิทธิ เลือกตั้งท้องถิ่น ที่หน่วยเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิเลือกตั้งได้

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo