Business

รออีกนิด! ‘ประกันราคายางพารา’ พร้อมจ่ายเงินงวดแรก 27 พ.ย. นี้

รออีกนิด! กยท. เตรียมถกธนาคาร แจ้งพร้อมจ่ายเงิน “ประกันราคายางพารา” งวดแรก 27 พ.ย. นี้ เลื่อนจากกำหนดเดิม 1 วัน

นายประพันธ์ บุณยเกียรติ ประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2563 ชาวสวนยางและคนกรีดจะได้รับเงิน ประกันราคายางพารา งวดแรก วงเงินรวม 2,116 ล้านบาท

ประกันราคายางพารา งวดแรก

  • ยางแผ่นดิบชั้นดี ราคาอ้างอิงอยู่ที่ 62 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งรัฐบาลไม่ต้องชดเชยยางในกลุ่มนี้ เพราะราคาประกันที่รัฐบาลกำหนดไว้คือ 60 บาทต่อกิโลกรัม
  • น้ำยางสด (DRC 100%) ชดเชยราคา 14 บาทต่อกิโลกรัม เนื่องจากราคาอ้างอิงอยู่ที่ 52.86 บาทต่อกิโลกรัม และราคาประกันอยู่ที่ 57 บาทต่อกิโลกรัม
  • ยางก้อนถ้วย (DRC 50%) ราคาชดเชย 91 บาทต่อกิโลกรัม จากราคาอ้างอิง 19.09 บาทต่อกิโลกรัม และราคาประกันรายได้ที่ราคา 23 บาทต่อกิโลกรัม

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในวันที่ 26 พฤศจิกายนนี้ กยท. เตรียมหารือกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) เพื่อดำเนินการจ่ายเงิน ประกันราคายางพารา ให้เกษตรกรชาวสวนยาง กว่า 1.8 ล้านราย ในวันที่ 27 พฤศจิกายน

พื้นที่ยางพาราที่จะได้รับการชดเชยราคาครอบคลุม 18 ล้านไร่ กำหนดราคาประกันรายได้ดังนี้ ยางแผ่นดิบคุณภาพดี ราคา 60 บาทต่อกิโลกรัม, น้ำยางสด (DRC 100%) ราคา 57 บาทต่อกิโลกรัม และ ยางก้อนถ้วย (DRC 50%) ราคา 23 บาทต่อกิโลกรัม

กำหนดปริมาณผลผลิตยางที่จะประกันรายได้ คือ ผลผลิตยางแห้ง (DRC 100%) ไม่เกิน 20 กิโลกรัมต่อไร่ต่อเดือน และผลผลิตยางก้อนถ้วย (DRC 50%) ไม่เกิน 40 กิโลกรัมต่อไร่ต่อเดือน ตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยางระยะที่ 2 วงเงิน 10,042 ล้านบาท

เช็คสิทธิ์ ประกันราคายางพารา.jpg 46564

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การจ่ายเงิน ประกันราคายางพาคา ในครั้งนี้ได้เลื่อนออกไป 1 วัน จากเดิมนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แจ้งว่าเกษตรกรจะสามารถรับเงินได้ในที่ 26 พฤศจิกายน 2563 นี้

อย่างไรก็ตาม นายเฉลิมชัย เน้นย้ำให้เกษตรกรชาวสวนยางรีบเช็คสิทธิ์การรับเงินประกันราคายางพารา เพื่อรับเงินในงวดแรก

 

วิธี เช็คสิทธิ์ “ประกันราคายางพารา”

ชาวสวนยางสามารถตรวจสอบสิทธิ์โครงการประกันรายได้เกษตรกรได้ง่ายๆ ดังนี้

  • เข้าเว็บไซต์ www.rubber.co.th คลิกที่นี่
  • คลิกเลือกประเภท “บุคคลธรรมดา”

 ประกันรายได้ยางพารา

  • คลิกเลือกโครงการ “ตรวจสอบ ประกันรายได้ ระยะที่ 2”
  • กรอกหมายเลขบัตประชาชน 13 หลัก
  • กดปุ่ม “ตรวจสอบข้อมูล”

 ประกันรายได้ยางพารา

ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยหรือไม่พบข้อมูลการขึ้นทะเบียน สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) สำนักงานใหญ่, กยท.จังหวัด และ กยท. สาขา ทั่วประเทศ

 

รายละเอียดโครงการผ่าน ครม.

โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 2 ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรที่ปลูกยางพารา ในกรณีที่ราคายางตกต่ำในช่วงวิกฤติการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เพื่อเพิ่มรายได้และสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง

โครงการฯ จะ ประกันรายได้ เกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. และแจ้งข้อมูลพื้นที่ปลูกยางกับ กยท. ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 จำนวน 1,834,087 ราย พื้นที่สวนยางกรีดได้ 18,286,186.03 ไร่

ทั้งนี้ ผู้ที่จะได้รับเงิน ประกันราคายางพารา จะต้องเข้าเกณฑ์ดังนี้

  • เป็นสวน ยางพารา อายุ 7 ปีขึ้นไปที่เปิดกรีดแล้ว รายละไม่เกิน 25 ไร่
  • กำหนดปริมาณผลผลิตยางที่จะประกันรายได้

1.ผลผลิตยางแห้ง (DRC 100%) จำนวน 20 กิโลกรัมต่อไร่ต่อเดือน รายละไม่เกิน 25 ไร่ ได้แก่ ยางแผ่นดิบคุณภาพดีและน้ำยาง (DRC 100%)

2.ผลผลิตยางก้อนถ้วย (DRC 50%) จำนวน 40 กิโลกรัมต่อไร่ต่อเดือน รายละไม่เกิน 25 ไร่ ได้แก่ ยางก้อนถ้วย (DRC 50%)

ประกันราคายางพารา งวดแรก

  • กำหนดเงินค่าประกันรายได้ในแต่ละเดือน = [ราคายางที่ประกันรายได้ (ก) – ราคากลางอ้างอิงการขาย (ข)] X ปริมาณผลผลิตยางตามเนื้อที่กรีดยาง (ค)

(ก) ราคายางที่ ประกันรายได้ ดังนี้

1.ยางแผ่นดิบคุณภาพดี 60 บาทต่อกิโลกรัม

2.น้ำยางสด (DRC 100%) 57 บาทต่อกิโลกรัม

3.ยางก้อนถ้วย (DRC 50%) 23 บาทต่อกิโลกรัม

(ข) ราคากลางอ้างอิงการขาย หมายถึง ราคาที่คณะทำงานกำหนดราคากลางอ้างอิงประกาศทุก 2 เดือน (บาทต่อกิโลกรัม)

(ค) ปริมาณผลผลิตยางตามเนื้อที่กรีดยาง หมายถึง ผลผลิตยางแห้ง (DRC 100%) จำนวน 20 กิโลกรัมต่อไร่ต่อเดือน X จำนวนไร่ รายละไม่เกิน 25 ไร่ และผลผลิตยางก้อนถ้วย (DRC 50%) จำนวน 40 กิโลกรัมต่อไร่ต่อเดือน X จำนวนไร่ รายละไม่เกิน 25 ไร่

  • แบ่งสัดส่วนรายได้เจ้าของสวน ยางพารา 60% และคนกรีด 40% ของรายได้ทั้งหมด

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo