Wellness

เปิดผลสำรวจ ‘ดัชนีความสุข’ 77 จังหวัดทั่วประเทศ ไม่น่าเชื่อ ‘กรุงเทพฯ’ รั้งท้าย

เปิดผลสำรวจ “ดัชนีความสุข” 77 จังหวัดทั่วประเทศ ไทย ไม่น่าเชื่อเมืองหลวงอย่าง“กรุงเทพฯ” รั้งท้าย “แม่ฮ่องสอน” ครองแชมป์

แม้จะมีคำกล่าวว่า “คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก” แต่คงยากได้ปฏิเสธว่า ถ้าหากเราได้อยู่ในสถานที่หนึ่ง ก็อาจจะทำให้เรามีความสุขได้มากกว่าสถานที่อื่นๆ ขณะเดียวกันตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจที่นิยมใช้อย่าง ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ก็อาจจะไม่ได้สะท้อนค่าความสุขและคุณภาพชีวิตของสังคมได้อย่างครอบคลุม

เมื่อ พ.ศ. 2515 สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก รัชกาลที่ 4 แห่งราชอาณาจักรภูฏาน จึงริเริ่มการนำแนวคิด ความสุขมวลรวมประชาชาติ (Gross National Happiness: GNH) มาวัดความคุณภาพและการเจริญเติบโตของสังคมภายในประเทศ

ในขณะเดียวกันเมื่อปี 2562  ก็มีการเผยแพร่ รายงานความสุขในโลก จัดทำโดยองค์การสหประชาชาติ ที่วัดระดับความสุขของ 156 ประเทศ แม้ดัชนีนี้จะไม่มีรายละเอียดปลีกย่อยเท่า GNH แต่ดัชนีข้างต้นก็ฉายภาพที่กว้างและลึกกว่าการเปรียบเทียบการเติบโตของ GDP เท่านั้น

สำหรับประเทศอันดับหนึ่งในรายงานความสุขในโลก คือ ประเทศฟินแลนด์ รองลงมาคือเดนมาร์ก นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และเนเธอร์แลนด์

ประเทศไทยอยู่ที่อันดับ 52 เหนือกว่า เกาหลีใต้  ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ปัจจัยที่ทำให้ประเทศไทยมีความสุข คือการสนับสนุนทางสังคมและความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 74% ระบุว่าได้บริจาคเงินในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา

ดัชนีความสุข ไทย

สำหรับประเทศไทยเอง เคยมีการสำรวจ “ดัชนีความสุข” 77 จังหวัดครั้งหนึ่งที่ได้เปิดเผยให้เห็นว่า การอาศัยอยู่ในบางจังหวัดก็มีตัวเลขความสุขมากอย่างไม่น่าเชื่อ แต่จังหวัดที่มีความเจริญสูง กว่ามีตัวเลขความสุขน้อยนิด

“ผลการจัดอันดับจังหวัดแห่งความสุขของประเทศไทย” หรือ ดัชนีความสุข ดังกล่าว สำรวจโดยศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เมื่อปี 2556 โดยพบว่า จังหวัดที่ประชาชนอยู่แล้วมีความสุขมากที่สุดอันดับหนึ่งได้แก่ แม่ฮ่องสอน ส่วนกรุงเทพฯ ที่เป็นเมืองหลวงหลวงเป็นจังหวัดที่อยู่ในอันดับสุดท้าย

สำหรับผลสำรวจดังกล่าว ได้ใช้กลุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 77 จังหวัดทั่วประเทศจำนวนทั้งสิ้น 12,429 ตัวอย่าง ตั้งแต่วันที่ 1-19 มีนาคม 2556 ผลการจัดอันดับค่าร้อยละของประชาชนที่อยู่อาศัยในแต่ละจังหวัดพบว่า จังหวัดที่ประชาชนอยู่แล้วมีความสุขมากที่สุด

  • อันดับ 1 แม่ฮ่องสอน ได้ร้อยละ 60.9
  • อันดับ 2 พังงา ได้ร้อยละ 60.7
  • อันดับ 3 ได้แก่ ชัยภูมิ ได้ร้อยละ 60.0
  • อันดับ 4 ปราจีนบุรี ได้ร้อยละ 57.0
  • อันดับ 5 อุทัยธานี ได้ร้อยละ 56.6
  • อันดับ 6 มี 2 จังหวัดได้แก่ จันทบุรีและสุโขทัย ได้ร้อยละ 56.3
  • อันดับ 7 มี 2 จังหวัดได้แก่ พะเยาและแพร่ ได้ร้อยละ 55.6
  • อันดับ 8 ได้แก่ น่าน ได้ร้อยละ 54.8
  • อันดับ 9 ได้แก่ หนองคาย ได้ร้อยละ 54.3
  • อันดับ 10 ได้แก่ ลำปาง ได้ร้อยละ 53.9

shutterstock 1061058623

โดยปัจจัยที่ทำให้ อยู่แล้วเป็นสุขมีปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติเป็นหลัก วิถีชีวิตชาวบ้านเป็นเมืองที่สงบ เป็นสังคมขนาดเล็ก มีความสัมพันธ์ที่ดีของคนในครอบครัวและชุมชน ผู้คนมีความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินสูง คดีอาชญากรรมต่ำ มีความภูมิใจในประวัติศาสตร์ของคนท้องถิ่น มีความเป็นเมืองและลักษณะวัตถุนิยมระดับน้อยถึงปานกลาง และที่สำคัญอย่างยิ่งคือ คนในพื้นที่มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ เพื่อเสริมสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันในหมู่ประชาชน

 

ส่วน 10 จังหวัดที่อยู่ในอันดับสุดท้ายของประเทศ คือ

  • อันดับที่ 77 ของประเทศคือ กรุงเทพฯ ได้เพียงร้อยละ 20.8
  • อันดับที่ 76 ได้แก่ สมุทรปราการ ได้ร้อยละ 22.0
  • อันดับที่ 75 ได้แก่ ภูเก็ต ได้ร้อยละ 24.2
  • อันดับที่ 74 ได้แก่ ลพบุรี ได้ร้อยละ 26.4
  • อันดับที่ 73 ได้แก่ นราธิวาส ได้ร้อยละ 26.8
  • อันดับที่ 72 ได้แก่ นครศรีธรรมราช ได้ร้อยละ 31.1
  • อันดับที่ 71 ได้แก่ สิงห์บุรี ได้ร้อยละ 32.1
  • อันดับที่ 70 ได้แก่ ระยอง ได้ร้อยละ 32.3
  • อันดับที่ 69 ได้แก่ ยะลา ได้ร้อยละ 32.7
  • อันดับที่ 68 ได้แก่ สงขลา ได้ร้ อยละ 32.8

shutterstock 1223267101

สําหรับปัจจัยสําคัญที่ทําให้จังหวัดเหล่านี้รั้งท้ายในเรื่องความสุขของคนในพื้นที่ได้แก่ ความเป็นเมืองและมีลักษณะวัตถุ นิยมระดับมากถึงมากที่สุด มีคดีอาชญากรรมสูง ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและชุมชนอยู่ในขั้นวิกฤต มีปัญหายาเสพติด มีพฤติกรรมดื่มสุรามาก เป็นพื้นที่ที่มีความขัดแย้งรุนแรง แตกแยก มีอคติต่อกันสูง มีอารมณ์ ร้อนหงุดหงิดง่าย

ผู้คนไม่สามัคคีไม่เป็น นึ่งเดียวกัน ไม่มีความโปร่งใสในการพัฒนาท้องถิ่นมากเพียงพอ ไม่มีความวางใจของสาธารณชนต่อรัฐบาลและการเมืองท้องถิ่นที่มาก เพียงพอเพราะประชาชนไม่สามารถแกะรอยการใช้จ่ายงบประมาณได้ มีปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม เช่น โรงงานปล่อยมลพิษทางอากาศทาง น้ำสารพิษปนเปื้อนสุขภาพกายและสุขภาพใจของประชาชนอยู่ในเกณฑ์ที่น่าเป็นห่วง

สำหรับตัวเลข ดัชนีความสุข ของทั้ง 77 จังหวัดเป็นดังนี้

ดัชนีความสุข ไทย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo