Politics

อ.เจษฎ์ เปิดที่มา ‘แก๊สน้ำตา’ ฉีดใส่ผู้ชุมนุม เผยออกจากพื้นที่ไม่ทันอาจถึงชีวิต

“อ.เจษฎา” เปิดชื่อสารเคมี “แก๊สน้ำตา” ที่ตำรวจฉีดใส่ผู้ชุมนุม เผยออกจากพื้นที่ไม่ทัน ขาดออกซินเจน อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต

จากกรณีที่เมื่อวานนี้ (17 พ.ย. 63) มีการชุมนุม #ม็อบ17พฤศจิกา หน้ารัฐสภา โดยเกิดการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่และกลุ่มผู้ชุมนุมราษฎร ในระหว่างนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำสารเคมีผสมในน้ำแรงดันสูงฉีดใส่ผู้ชุมนุม ส่งผลให้ผู้สัมผัสน้ำดังกล่าวเกิดอาการแสบร้อนตามผิวหนัง ระคายเคืองตาและระบบทางเดินทางหายใจ

รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant (อาจารย์เจษฎ์) ถึงกรณีดังกล่าวว่า สารเคมีดังกล่าวมีชื่อว่า CS Gas ซึ่งเจ้าหน้าที่ใช้สารเคมีดังกล่าวมาตั้งแต่ม็อบ กปปส. โดย CS Gas สามารถทำให้เสียชีวิตได้จากการเกิดขาดออกซิเจน ในกรณีที่ผู้ได้รับสารไม่สามารถออกจากบริเวณดังกล่าวได้ทันเวลา

ม็อบ แก๊สน้ำตา

สรุปว่า แก๊สน้ำตาที่ใช้ฉีดผู้ชุมนุมคือ cs gas ครับ .. ล้างออกด้วยน้ำหรือน้ำเกลือเยอะๆ เป็นวิธีที่ดีที่สุดแล้ว (ไม่ต้องใช้นม หรือน้ำยาลดกรด อันนั้นมันเหมาะกับสเปรย์พริกไทย) แต่ห้ามขยี้ตาเด็ดขาดครับ

แม้ว่าทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจจะไม่เคยออกมาแถลงว่า แก๊สน้ำตาที่ใช้ในการสลายการชุมนุมตั้งแต่วันก่อนจนถึงวันนี้ เป็นสารเคมีตัวไหน? กันแน่

แต่ภาพถ่ายจากเหตุการณ์เมื่อคืน ทำให้เห็นถังน้ำยาและชื่อของสารเคมีบนถังได้อย่างชัดเจน ว่ามันคือ o-chlorobenzylidene malononitrile หรือ cs gas ครับ … เป็นสารเคมีที่ใช้ทำแก๊สน้ำตา ตัวเดียวกันกับที่ตำรวจใช้มาตั้งแต่สมัยการชุมนุม กปปส. แล้ว

แก๊สน้ำตา
                                          Jessada Denduangboripant (อาจารย์เจษฎ์)

2-chlorobenzalmalononitrile, หรือ o-chlorobenzylidene malononitrile (หรือ CS)

คิดค้นโดย Ben Corson และRoger Stoughton ในปี ค.ศ. 1928 ชื่อของ CS ถูกตั้งตามนามสกุลของทั้งคู่ CS มี

จุดหลอมเหลวที่ 93°C จึงมี สถานะเป็นของแข็งในอุณหภูมิห้อง จึงต้องการตัวทำละลายให้มีสถานะเป็นแอโรซอล (aerosol) เพื่อให้สามารถฟุ้งกระจายไปในอากาศได้

cs gas ทำให้เกิดความระคายเคืองต่อประสาทสัมผัส (sensory nerve) ที่เนื้อเยื่อผิวที่มีเมือก (mucous membrane) ของตา จมูก คอ และกระเพาะอาหาร

– ผลต่อดวงตา ทำให้เกิดการระคายเคืองสูง น้ำตาไหลพราก ตาแดง ปวดตา กระพริบตามากอย่างควบคุมไม่ได้

– ผลต่อจมูกและปาก ทำให้เกิดอาการเจ็บแสบไหม้ น้ำมูกไหลพราก

– ผลต่อทางเดินหายใจ ทำให้เกิดอาการไอ จาม มีสารคัดหลั่งที่หลอดลมเพิ่มขึ้น แน่นหน้าอก

– ผลต่อทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการอาเจียน ท้องร่วง

– ผลต่อผิวหนังทำให้เกิดอาการแสบไหม้ บวม ผื่นแดง พอง (เกิดได้ง่าย

โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นและอุณหภูมิสูง

CS gas ออกแบบให้ออกฤทธิ์เร็วใน 30 วินาที และมีความระคายเคืองสูง เพื่อให้ผู้ที่ได้รับสารต้องรีบออกจากบริเวณดังกล่าว

ผลจาก CS gas สามารถลดลง และหายไปได้เองเมื่อหยุดรับสาร แต่ CS gas สามารถทำให้เสียชีวิตได้จากการเกิดขาดออกซิเจน ในกรณีที่ผู้ได้รับสารไม่สามารถออกจากบริเวณดังกล่าว

ม็อบ17พฤศจิกา 1

หลักการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ผู้ป่วยที่โดนแก๊สน้ำตา

– ทำการลดการปนเปื้อนของสาร (decontamination) คือ พาผู้ป่วยออกไปยังที่อากาศถ่ายเทสะดวก

– ถอดหรือตัดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนสารออก (เสื้อผ้าที่ปนเปื้อน ควรใส่ถุงพลาสติกปิดปากถุง)

– ผู้ที่มีอาการระคายเคืองของดวงตา ควรทำการล้างด้วยน้ำเปล่าหรือสารละลายน้ำเกลือ (normal saline solution) จนหายแสบตา

– ผู้ป่วยที่ใส่คอนแทคเลนส์อยู่ ต้องถอดออก และไม่ให้ผู้ป่วยขยี้ตาเด็ดขาด (ห้ามใช้ผ้าชุบน้ำ มาปาดตาด้วย)

– การทำความสะอาดผิวหนังด้วยน้ำและสบู่ ยังคงเป็นประเด็นถกเถียงกันอยู่ เนื่องจาก CS มีสมบัติในการละลายน้ำได้ บางคนจึงเชื่อว่าอาจทำให้เกิดการระคายเคืองมากขึ้น (ถ้ามีการถูสบู่)

– มีการคิดค้นผลิตภัณฑ์ขึ้นมาโดยเฉพาะ เช่น Diphoterine แต่เนื่องจากราคาที่สูง จึงยังไม่มีการใช้อย่างแพร่หลาย ปัจจุบันจึงยังคงให้ล้างด้วยน้ำ”

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo