COVID-19

เปิดฉบับเต็ม ‘อนามัยโลก’ ชื่นชมไทยรับมือ ‘โควิด’ ร้องชาติอื่นทำตามแบบ

ผู้อำนวยการองค์การ อนามัยโลก “ทีโดรส อัดฮานอม กีเบรเยซุส” ชื่นชมความสำเร็จของ “ไทย” ในการรับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 พร้อมเรียกร้องให้นานาชาติ ประเมินแนวทางการดูแลสุขภาพอีกครั้ง

ระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์ปิดประชุมองค์การ อนามัยโลก ที่สวิตเซอร์แลนด์ เมื่อเร็วๆ นี้ นายทีโดรส อัดฮานอม เกรเบรเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก (WHO)  ในการประชุมอนามัยโลกครั้งที่ 73 ที่สวิตเซอร์แลนด์

อนามัยโลก

ผมต้องขอขอบคุณพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย ที่ประกาศสนับสนุนองค์การอนามัยโลก  ประเทศไทยเป็นตัวอย่างที่ยอดเยี่ยม ในการดำเนินการอย่างครอบคลุม ทั้งในระดับรัฐบาล และระดับสังคมที่ทำงานร่วมกันทั้งหมด ซึ่งนี่ทำให้สามารถยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสได้ แม้ว่าจะไม่มีวัคซีนเลยก็ตาม

ไทยเป็นประเทศแรกนอกจีน ที่รายงานการพบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่จนถึงขณะนี้ ไทยมีผู้ติดเชื้อไม่ถึง 4,000 คน และมีผู้เสียชีวิตเพียง 60 รายเท่านั้น ถึงแม้ว่าา จะมีประชากรมากถึง 70 ล้านคน และกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของไทย ยังเป็น 1 ในเมืองที่มีจำนวนประชากรหนาแน่นมากสุดของโลกด้วย

เทียบกับสหราชอาณาจักร ที่มีประชากรราว 68 ล้านคน จะเห็นว่า สหราชอาณาจักรมียอดสะสมผู้ติดเชื้อทั้งหมด 1.3 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตที่ 51,396 ล้านราย

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในไทย ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ โดยมองว่า ไทยใช้เวลาร่วม 40 ปี ในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานสาธารณสุข และได้สร้างเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านขึ้นมา ทำหน้าที่เป็นหูเป็นตาในระบบสาธารณสุขให้กับชุมชนของตัวเอง

นอกจากนี้ ไทยยังได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของตัวเอง เมื่อครั้งต้องรับมือกับการระบาดของโรคซาร์ส ในปี 2546

“ไทย ยังได้เรียนรู้บทเรียนในปัจจุบัน ด้วยการทำงานร่วมกับสำนักงานขององค์การอนามัยโลกในท้องถิ่น เพื่อดำเนินการทบทวนภายใน เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการ ที่สามารถเพิ่มความเข้มแข็งในด้านระบบป้องกันสาธารณสุขเพิ่มขึ้นไปอีก”

“ผมอยากขอให้ทุกประเทศ ทำตามแบบไทย ไม่มีประเทศใด ที่จะพูดได้ว่า มีการเตรียมตัวอย่างเพียบพร้อมสำหรับโควิด-19 หรือบอกว่า ไม่มีบทเรียนให้ได้เรียนรู้”

การระบาดของโรค เน้นให้เห็นถึงผลที่เกิดขึ้นจากการลงทุนด้านสาธารณสุข ที่น้อยเกินไป อย่างต่อเนื่อง และจุดชนวนให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจที่ทำร้ายชีวิตคนหลายพันล้านคน

ก่อนหน้านี้ พญ.พรรณประภา ยงค์ตระกูล โฆษก กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้รับเชิญให้กล่าวถ้อยคำแถลงในพิธีปิดการประชุมสมัชชา อนามัยโลก สมัยที่ 73 ซึ่งเป็นการจัดประชุมในรูปแบบเสมือนจริง (Virtual) ผ่านทางระบบออนไลน์ มีผู้เข้าร่วมประชุมมากกว่า 500 คน จากประเทศสมาชิก 194 ประเทศ

นายกรัฐมนตรีได้ชื่นชมองค์การอนามัยโลก (WHO) ที่สนับสนุนประเทศสมาชิกในการตอบโต้โรคโควิด 19 และให้ทุกคนเข้าถึงการตรวจวินิจฉัย ยารักษา และวัคซีนโรคโควิด 19 ผ่านข้อริเริ่ม ACT-Accelerator และกลไก COVAX พร้อมชี้ให้เห็นว่าการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการเสริมสร้างความมั่นคงด้านสุขภาพ และเป้าหมาย Triple-billion targets ขององค์การอนามัยโลก คือ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (UHC) การเตรียมความพร้อม ป้องกันและตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสุขภาพ และการสร้างเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี

อนามัยโลก

นายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงความร่วมมือกับสำนักงานองค์การอนามัยโลก ประจำประเทศไทย ในการทบทวนการดำเนินงานตอบโต้โรคโควิด 19 เพื่อถอดบทเรียนและปรับปรุงการดำเนินงานของไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ปัจจัยหลักที่ทำให้ไทยประสบความสำเร็จ คือ การตัดสินใจที่เด็ดเดี่ยวของผู้นำโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ความเข้มแข็งของระบบสาธารณสุขไทยที่มีการลงทุนมานานกว่า 40 ปี และความร่วมมือจากประชาชนและทุกภาคส่วนในสังคม นอกจากนี้ ยังได้ส่งกำลังใจไปยังทุกประเทศทั่วโลกที่กำลังเผชิญกับโรคโควิด 19 และย้ำว่าไทยพร้อมสนับสนุนประชาคมโลกในการตอบโต้โรคระบาด โดยเฉพาะการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบสาธารณสุข และการส่งเสริมให้ยาและวัคซีนโรคโควิด 19 เป็นสินค้าสาธารณะ

ภายหลังที่นายกรัฐมนตรีกล่าวจบ ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การ อนามัยโลก ได้กล่าวขอบคุณนายกรัฐมนตรีไทย ที่สนับสนุนการทำงานขององค์การ อนามัยโลก โดยระบุว่า ไทยเป็นตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมที่รัฐบาลและสังคมทำงานร่วมกัน ทำให้ยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสได้ แม้ยังไม่มีวัคซีน พิสูจน์จากตัวเลขผู้ติดเชื้อในไทยว่า แม้ไทยจะเป็นประเทศแรกที่พบผู้ติดเชื้อโควิด 19 นอกประเทศจีน แต่ปัจจุบันไทยมีผู้ติดเชื้อต่ำกว่า 4,000 ราย มีผู้เสียชีวิตเพียง 60 ราย โดยที่มีประชากร 70 ล้านคน

ซึ่งไม่ใช่เรื่องบังเอิญ เพราะตลอด 40 ปีที่ผ่านมา ไทยทุ่มเทให้กับการลงทุนโครงสร้างขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุข มีเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขมากกว่า 1 ล้านคน คอยดูแลสอดส่องระบบสาธารณสุขในระดับท้องถิ่น และมีบทเรียนการรับมือโรคระบาดในอดีต โดยเฉพาะโรคซาร์สเมื่อปี 2546

ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ยังเรียกร้องให้ทุกประเทศทำตามแบบอย่างประเทศไทย เพราะไม่มีประเทศไหนที่สามารถพูดได้ว่า เตรียมพร้อมรับมือต่อการระบาดของโรคโควิด 19 ได้ดีแล้วหรือไม่มีบทเรียนให้เรียนรู้ได้อีก

นอกจากนี้ ยังขอบคุณ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไทย ที่สนับสนุนข้อริเริ่มขององค์การ อนามัยโลก ในการสร้างคลังเก็บรักษาทรัพยากรชีวภาพ ที่สมาพันธรัฐสวิส เพื่อส่งเสริมการแบ่งปันตัวอย่างเชื้อ สำหรับพัฒนายาและวัคซีนให้เป็นสินค้าสาธารณะ” แพทย์หญิงพรรณประภากล่าว

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม

Avatar photo