Economics

‘คลัง’ ลงนามกู้เงิน ‘ADB’ 4.5 หมื่นล้าน เยียวยาเศรษฐกิจจากพิษโควิด-19

“อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” รมว.คลัง ลงนาม กู้เงิน “ADB” 4.5 หมื่นล้าน ฟื้นฟูเยียวยาเศรษฐกิจจากพิษโควิด-19

วันนี้ (16 พ.ย. 63) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่า การกระทรวงคลัง และ Hideaki Iwasaki ผู้อำนวยการสำนักงานผู้แทนธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ประจำประเทศไทย ลงนามใน สัญญาเงินกู้ COVID-19 Active Response and Expenditure Support Program วงเงิน 1,500 ล้านดอลลาร์ หรือราว 45,000 ล้านบาท

อาคม ADB

ความร่วมมือทางการเงินระหว่างกระทรวงการคลังและธนาคาร ADB ครั้งนี้ เป็นการดำเนินการภายใต้ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลัง กู้เงิน เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พ.ร.ก. COVID-19)

โดย ADB ได้จัดเตรียมมาตรการทางการเงินเพื่อให้การสนับสนุนแก่ประเทศสมาชิกในการแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 “โดยมีเงื่อนไขเงินกู้แบบผ่อนปรน” ซึ่งสามารถนำไปสนับสนุนด้านงบประมาณให้แก่รัฐบาลของกลุ่มประเทศสมาชิกเพื่อดำเนินนโยบายและมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟู เศรษฐกิจ

ทั้งนี้ ในปีงบประมาณที่ผ่านมากระทรวงการคลังได้มีการใช้เครื่องมือในการระดมทุนหลากหลายชนิด เช่น พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วสัญญาใช้เงิน การทำสัญญากู้เงิน และตั๋วเงินคลัง จากตลาดเงินในประเทศเพื่อเป็นการระดมทุนสำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินแผนงาน/ โครงการ ภายใต้ พ.ร.ก. โควิด-19 ทั้ง 3 แผนงาน ได้แก่

  • แผนงานที่ 1 แผนงาน/โครงการที่มีวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดชื้อไวรัสโคโรนา 2019
  • แผนงานที่ 2 แผนงาน/โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้กับภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการฯ
  • แผนงานที่ 3 แผนงาน/โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมฯ

125210083 1532593920279252 819670237698150652 o

ทั้งนี้ กระทรวงการคลังมีภารกิจในการบริหารและจัดการหนี้สาธารณะของประเทศ โดยการกู้เงินให้สอดคล้องและเพียงพอต่อความต้องการใช้จ่ายของรัฐบาลภายใต้ต้นทุนและความเสี่ยงที่เหมาะสม เพื่อรักษาความยั่งยืนของฐานะการเงินการคลังของรัฐบาล รวมทั้งสอดคล้องกับสภาวะตลาด (Market Base) และป้องกันไม่ให้เกิดการแย่งชิงสภาพคล่องหรือทรัพยากรทางการเงิน (Crowding Out) กับภาคเอกชนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการกู้เงินโดยรวมของประเทศ

นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า การ กู้เงิน ร่วมกับ ADB ในครั้งนี้คิดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้น (BIBOR) 0.5% ส่วนการกู้เงินตาม พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ล่าสุดมีการกู้เงินไปแล้วทั้งสิ้น 3.38 แสนล้านบาท คิดเป็น 34% ของแผนการกู้เงิน

เศรษฐกิจ ถนน พ่อค้าแม่ค้า ผู้ประกอบการ sme

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 ปี 2563 ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ติดลบ 6.4% เป็นการหดตัวน้อยลงจากไตรมาส 2 ที่ติดลบสูงถึง 12.1% ทำให้ช่วง 9 เดือน เศรษฐกิจไทยติดลบ 6.7%

สภาพัฒน์ยังได้ปรับประมาณการตัวเลข เศรษฐกิจ ไทยปี 2563 ดีขึ้นเป็นติดลบ 6% จากเดิมที่คาดไว้ในช่วงเดือนสิงหาคม 2563 คาดว่าจะติดลบ 7.5% และเศรษฐกิจไทยจะกลับมาเป็นบวกได้ในปี 2564 ที่ 3.5 – 4.5% จากปัจจัยการควบคุมการระบาดของโควิด-19 ในประเทศ เศรษฐกิจไทยได้รับแรงกระตุ้นจากมาตรการภาครัฐ การเปิดสเปเซียลทัวร์ริสวีซ่า การปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจและการค้าโลก ซึ่งจะส่งผลดีต่อการส่งออกของไทย ขณะที่การเบิกจ่ายเงินกู้ 1 ล้านล้านบาท คาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ไม่ต่ำกว่า 70% ของเงินกู้

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo