Politics

เลือก ‘นายก อบจ.’ โพลเผย ถึงเวลาเปลี่ยน เน้นตัวบุคคลมากกว่าพรรค

เลือกนายก อบจ. นิด้าโพล เผย คนกว่า 80% จะไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียง เพราะ อยากเปลี่ยน เน้นเลือกที่ตัวบุคคล มากกว่าพรรคการเมือง

นิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยว่า จากผลสำรวจเรื่อง “การตัดสินใจ เลือกนายก อบจ. ” จากประชาชนจำนวน 1,312 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเพื่อ เลือกนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และ สมาชิกสภา อบจ. ในวันที่ 20 ธันวาคม 2563 พบว่า 80.03% ระบุว่า ไปใช้สิทธิ ลงคะแนนเสียง ขณะที่ 15.09% ระบุว่า ไม่ไปใช้สิทธิ ลงคะแนนเสียง และ 4.882 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าจะไปหรือไม่

เลือกตั้ง ๒๐๑๑๐๘

ในประเด็นสถานการณ์การเมืองระดับประเทศในปัจจุบัน กับการมีผลต่อการตัดสินใจเลือก นายก อบจ. หรือไม่นั้น ผลสำรวจพบว่า ผู้ที่ไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงและไม่แน่ใจว่าจะไป 20.20% ระบุว่า มีผลมากต่อการตัดสินใจ เพราะ จากสถานการณ์ทางการเมืองตอนนี้ ทำให้สามารถตัดสินใจได้ง่ายว่าจะเลือกคนไหน ขณะที่บางส่วนระบุว่า จะไม่เลือกบุคคลที่มาจากฝ่ายรัฐบาล

ขณะที่ 17.68% ระบุว่า ค่อนข้างมีผลต่อการตัดสินใจ เพราะต้องดูก่อนว่า บุคคลที่จะเลือก มีส่วนเกี่ยวข้องกับใคร ที่อยู่ในประเด็นสถานการณ์การเมืองตอนนี้หรือไม่ และจะเลือกบุคคลที่สังกัดพรรคที่ตนเองชื่นชอบ, 9.43% ระบุว่า ไม่ค่อยมีผลต่อการตัดสินใจ เพราะ สถานการณ์การเมืองตอนนี้ไม่ได้กระทบต่อการเลือกตั้ง นายก อบจ. เนื่องจากเป็นการเลือกตั้งแบบท้องถิ่น ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่ได้สนใจเรื่องการเมืองระดับประเทศอยู่แล้ว

อยจ.

ที่สำคัญคือ ผู้ตอบแบบสอบถามถึง 52.06% ระบุว่า สถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน ไม่มีผลต่อการตัดสินใจเลย เพราะ การชุมนุม ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง กับการเลือกตั้ง นายก อบจ. ขณะที่บางส่วนระบุว่า เป็นการเลือกตั้งเพื่อเข้ามาทำงานให้กับระดับจังหวัด ไม่เกี่ยวกับระดับประเทศ และ 0.63% ระบุว่า ไม่ทราบ ไม่สนใจ

สำหรับการตัดสินใจของประชาชนในการเลือก นายก อบจ. และ สมาชิกสภา อบจ. ที่สังกัดพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองเดียวกัน พบว่า ผู้ที่ไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียง และไม่แน่ใจว่าจะไป ส่วนใหญ่ หรือ 52.06% ระบุว่า ไม่เลือกที่สังกัดพรรคการเมือง หรือกลุ่มการเมืองเดียวกัน เพราะ ดูที่ตัวบุคคล นโยบาย ความสามารถ ประสบการณ์ และผลงานการทำงานที่ผ่านมา

ส่วนรองลงมา 28.19% ระบุว่า เลือกที่สังกัดพรรคการเมือง หรือกลุ่มการเมืองเดียวกัน เพราะ ง่ายต่อการทำงาน การดำเนินงาน หรือการเสนองบต่าง ๆ มีความสะดวก รวดเร็ว ไม่มีความขัดแย้ง และ 19.75% ระบุว่า ยังไม่แน่ใจว่าจะเลือกอย่างไร

เมื่อถามถึงความต้องการของประชาชน ต่อการเปลี่ยน นายก อบจ. ในเขตจังหวัด พบว่า ผู้ที่ไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงและ ไม่แน่ใจว่าจะไป ส่วนใหญ่ 47.31% ระบุว่า อยากเปลี่ยนนายก อบจ. รองลงมา 32.40% ระบุว่า ไม่อยากเปลี่ยนนายก อบจ. ขณะที่ 19.30% ระบุว่า ยังไม่แน่ใจ และ 0.99๔ ระบุว่า ไม่ทราบ ไม่สนใจ

เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจได้เวลาเลือก นายก อบจ. เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2563 พบว่า ผู้ที่ระบุว่า ไม่อยากเปลี่ยนนายก อบจ. มีสัดส่วนลดลง ในขณะที่ผู้ที่ระบุว่า อยากเปลี่ยนนายก อบจ. และยังไม่แน่ใจ มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo