Business

EIC วิเคราะห์ประมูล ‘รถไฟฟ้าสายสีส้ม’ 1.28 แสนล้าน ช่วยเทเงินปั๊มเศรษฐกิจ

EIC วิเคราะห์ ประมูล “รถไฟฟ้าสายสีส้ม” ช่วยเทเงิน 1.28 แสนล้าน กระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังซบเซา ชี้ 3 ประเด็นสำคัญพัฒนาโครงการให้เกิดประโยชน์สูงสุด

Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ ออกบทวิเคราะห์เรื่อง “เช็กความพร้อมประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม…ปฐมบทเส้นทางยุทธศาสตร์ใหม่ในการเดินทางเกี่ยวกับการยื่นซอง ประมูล โครงการ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563

รถไฟฟ้าสายสีส้ม ประมูล

รถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-มีนบุรี) ถือเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เพราะนอกจากจะเป็นเส้นทางที่เชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก (เขตคลองสามวา เขตมีนบุรี เขตลาดกระบัง) และกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตก (เขตบางกอกน้อย) แล้ว ยังเป็นเส้นทางที่มีการเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าทุกเส้นทางที่กำลังให้บริการอยู่และกำลังก่อสร้างในปัจจุบัน เช่น รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน, รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์, รถไฟฟ้าสายสีเขียว, รถไฟฟ้าสายสีชมพู, รถไฟฟ้าสายสีเหลือง เป็นต้น

การเชื่อมต่อดังกล่าวนอกจากจะเป็นการขยายโครงข่ายรถไฟฟ้าเพื่อดึงดูดจำนวนผู้โดยสารในภาพรวมให้มากขึ้นแล้ว ยังเป็นการเพิ่มปริมาณผู้โดยสาร (traffic) ที่ต้องมาเปลี่ยน เส้นทางบริเวณสถานีรถไฟฟ้าที่เป็นจุดตัด (intersection) อีกด้วย

เอกชนผู้ชนะประมูลจะรับผิดชอบในงานโยธาส่วน ตะวันตก ระบบรถไฟฟ้า และขบวนรถไฟฟ้าทั้งหมดราว 1.28 แสนล้านบาท เพื่อแลกกับสิทธิสัมปทานเดิน รถไฟฟ้าสายสีส้มตลอดสาย ทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตก เป็นระยะเวลา 30 ปี

โดยหลังจากประกาศเอกชนผู้ชนะประมูลแล้ว เม็ดเงินจะไหลเข้าสู่ธุรกิจที่ปรึกษาการลงทุน ที่ปรึกษาการก่อสร้าง ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง ธุรกิจระบบรถไฟฟ้า ธุรกิจขบวนรถไฟฟ้า เป็นการกระตุ้นการลงทุนในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวด้วยเม็ดเงินกว่า 1.28 ล้านบาท ในช่วง 7 ปีข้างหน้า

fig 06 11 2020 10 24 01

อย่างไรก็ดี EIC ประเมินว่า ภาครัฐและเอกชนผู้เข้าร่วม ประมูล โครงการ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ควรมีการ พิจารณา 3 ประเด็นสำคัญเพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดจากการพัฒนาโครงการ ได้แก่

  • เชื่อมต่อจุดตัดกับรถไฟฟ้าเส้นทางอื่นๆ และระบบขนส่งคมนาคมในรูปแบบอื่นๆ

ด้วยลักษณะโครงการ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่มีสถานีจุดตัดมากมาย จึงมีแนวโน้มที่จะมีปริมาณผู้โดยสารมาใช้บริการเป็นจำนวนมาก การพัฒนาโครงการจึงต้องมีการออกแบบเพื่อรองรับการเปลี่ยนเส้นทางโดยสารให้มีความสะดวก ไม่สร้างความสับสนให้แก่ผู้โดยสาร และการวางระบบการเชื่อมต่อกับการขนส่ง รูปแบบอื่น เช่น รถประจำทาง เรือ ควรมีการสอดประสานกันทั้งในด้านจุดขึ้น/ลงพาหนะและตารางเวลาเดินรถ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทาง

อีกทั้งการวางแผนระบบตั๋วร่วม (common ticket) ในอนาคตที่ภาครัฐ และผู้รับสัมปทานควรมีการวางแผนเพื่อใช้ตั๋วโดยสารใบเดียวในการเดินทาง ทั้งกับรถไฟฟ้าทุกเส้นทางและการ ขนส่งรูปแบบอื่น ๆ รวมถึงยังต้องเตรียมพร้อมในการกำหนดอัตราค่าโดยสารร่วม (common fare) ที่เหมาะสม

ในปัจจุบันโครงสร้างอัตราค่าโดยสาร (fare structure) ของรถไฟฟ้าประกอบด้วย 2 ส่วนได้แก่ 1. ค่าแรกเข้า ระบบรถไฟฟ้าในแต่ละเส้นทาง และ 2. ค่าโดยสารที่ผันแปรตามระยะทาง ซึ่งการมีจุดเชื่อมต่อกับรถฟ้าเส้นทางอื่น ๆ เป็นจำนวนมากทำให้การกำหนดอัตราค่าโดยสารแรกเข้าของรถไฟฟ้าสายสีส้มควรมีการร่วมพิจารณากับ ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ เพื่อกำหนดราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรมกับผู้โดยสาร

หัวเจาะ รถไฟฟ้าสายสีส้ม 2

  • สร้างรายได้จากพื้นที่พาณิชย์บริเวณสถานีและการหาโอกาสทางธุรกิจใหม่

ในช่วงการเดินรถนอกจากค่าโดยสาร (farebox revenue) ที่เป็นรายได้หลักของเอกชนผู้รับสัมปทานแล้ว ผู้ประกอบการควรเน้นการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมเพื่อสร้างรายได้เพิ่มเติม ยกตัวอย่างเช่น การให้เช่า พื้นที่เพื่อขายสินค้า เพื่อรับฝากกระเป๋าเดินทางและพัสดุบริเวณสถานีรถไฟฟ้า โดยเฉพาะสถานีที่เป็นจุดตัด ซึ่งมีโอกาสที่จะพัฒนาเป็นฮับ (hub) คมนาคมที่มีผู้โดยสารหนาแน่น

การหารายได้จากการโฆษณาบริเวณ สถานีและขบวนรถไฟฟ้า และการสร้างพันธมิตรเพื่อเตรียมพัฒนาโมเดลทางธุรกิจใหม่ ๆ ถือเป็นอีก ปัจจัยสำคัญในการสร้างความยั่งยืนของธุรกิจในอนาคต เช่น กรณีของสถานีรถไฟ Birmingham New Street ในอังกฤษที่มีการสร้างพันธมิตรกับ Vodafone หนึ่งในผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมของโลก ในการเปิดใช้เทคโนโลยี 5G เพื่อใช้สนับสนุนการวางรากฐานในระบบบริหารการจัดการยานพาหนะอัจฉริยะ (Smart 4 transport) ที่เป็นองค์ประกอบหนึ่งของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart city) และต่อยอดสู่การนำเทคโนโลยี เช่น Artificial Intelligence (A.I.), Internet of Things (IOT) และ Robotics ไปพัฒนาโมเดลทางธุรกิจใหม่ อีกด้วย

fig 06 11 2020 10 24 46

  • ควบคุมรายจ่ายที่เกิดจากการให้บริการ

ในช่วงการให้บริการ เนื่องจากลักษณะโครงการของ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่มีสถานีใต้ดิน 21 สถานีจากสถานี ทั้งหมด 28 สถานี ทำให้เอกชนผู้รับสัมปทานต้องมีการบำรุงรักษาระบบต่าง ๆ มากกว่ารถไฟฟ้าที่ใช้ทางวิ่งยกระดับ ซึ่งเป็นความท้าทายในการบริหารโครงการในอนาคตที่ไม่ควรมองข้าม

ในเบื้องต้นเอกชนผู้รับสัมปทานควรพิจารณาการทำการศึกษาวิธีการประหยัดพลังงานบริเวณสถานีและการทำการศึกษา ความเป็นไปได้ในการใช้พลังงานทางเลือก เช่น โซลาร์เซลล์ ซึ่งเริ่มมีแนวคิดในการติดตั้งตามสถานีรถไฟฟ้าใน หลายประเทศ เช่น อังกฤษ นอร์เวย์ อินเดีย เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในอนาคต

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo