Economics

จบศึกเลือกตั้งสหรัฐ สั่งจับตาส่งออกไทย เชื่อมีโอกาสทองมากขึ้น!

เลือกตั้ง สหรัฐ 2020 “ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” สั่งจับตาภาคการส่งออก เชื่อมีโอกาสทองมากขึ้น ได้อานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ ที่ผ่านพ้นจุดต่ำสุดในปีนี้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ​​การส่งออกของไทยไปสหรัฐ ในปี 2564 หลักๆ ได้อานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ ที่ผ่านพ้นจุดต่ำสุดในปีนี้ ขณะที่นโยบายของ “ว่าที่ผู้นำคนใหม่” ภายหลังการ เลือกตั้ง สหรัฐ เป็นอีกปัจจัยเสริม ที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจสหรัฐ และ หนุนการส่งออกของไทย ให้เร่งตัวไปพร้อมกัน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า หากเป็น “โจ ไบเดน” เข้ามาบริหารประเทศจะทำให้การส่งออกไปสหรัฐ ในปี 2564 กลับมาเร่งตัวได้ดีกว่าที่ 10-12% มีมูลค่าการส่งออกที่ 36,700 – 37,300 ล้านดอลลาร์ แต่ถ้าเป็นนโยบายของ “โดนัลด์ ทรัมป์” การส่งออกของไทยไปสหรัฐ เติบโตค่อนข้างจำกัดโดยต่ำกว่า 5.0% มีมูลค่าการส่งออกประมาณ 35,000 ล้านดอลลาร์

เลือกตั้ง สหรัฐ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ธุรกิจและการส่งออกของไทยที่มีโอกาสทำตลาดได้มากขึ้นหลังเลือกตั้งสหรัฐ แบ่งเป็น

  1. สินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น น่าจะเห็นภาพการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ต่อเนื่องจากปีนี้ ไม่ว่าผู้นำคนไหนจะขึ้นมาบริหารประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มอาหาร
  2. สินค้าอุปโภคบริโภคกลุ่มฟุ่มเฟือย น่าจะได้ประโยชน์จากนโยบายของ “โจ ไบเดน” มากกว่า อาทิ อัญมณีและเครื่องประดับ ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเฟอร์นิเจอร์
  3. สินค้าขั้นกลาง เพื่อการผลิตของไทยนั้น ได้อานิสงส์ 2 ทางทั้งจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ และ นโยบายของ “โจ ไบเดน” ที่ให้ความสำคัญ กับการลงทุนด้านโครงสร้างฟื้นฐาน พลังงานสะอาด ขยายเครือข่ายระบบ 5G หนุนความต้องการสินค้าเหล็กและผลิตภัณฑ์ แผงโซล่าเซลล์และไดโอด อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์

นอกจากนี้ ภายใต้นโยบายของ พรรคเดโมแครต ยังทำให้สินค้าไทย ได้อานิสงส์ทางอ้อม ผ่านกำลังซื้อของสหรัฐ ที่ฟื้นตัว ทำให้ต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคในทุกหมวด กลับมาได้เร็ว หนุนความต้องการสินค้าขั้นกลางของไทย ให้ส่งออกไปตอบโจทย์การผลิตในประเทศต่างๆ เพื่อส่งสินค้า ไปยังปลายทางผู้บริโภคในสหรัฐ

ในเบื้องต้น สินค้า หรือ ธุรกิจไทย ที่เกี่ยวเนื่องกับตลาดสหรัฐ น่าจะได้อานิสงส์จากการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์หลังจากผ่านมรสุมโควิด-19 ในปีนี้ไปได้ และน่าจะเข้าสู่เส้นทางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในปี 2564 ซึ่งแน่นอนว่า ระดับการฟื้นตัวคงต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของว่าที่ผู้นำคนใหม่ของสหรัฐเป็นหลัก

จะเห็นได้ว่า “ไทย” พึ่งพาการส่งออกไปสหรัฐในภาพรวมคิดเป็นสัดส่วนถึง 14.7% ของการส่งออกทั้งหมดของไทย ซึ่งเมื่อพิจารณาสินค้าไทย 20 รายการแรกที่ส่งออกไปสหรัฐ จะพบว่า ธุรกิจส่งออกสินค้าไทยแต่ละชนิดล้วนพึ่งตลาดสหรัฐ ใน
สัดส่วนที่ค่อนข้างสูง ตั้งแต่ 11% ถึง 73.7% โดยเฉพาะในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า และ อิเล็กทรอนิกส์ ที่เป็นสินค้าที่ไทยมีศักยภาพในการผลิตและส่งออกมาโดยตลอด

จึงกล่าวได้ว่า ธุรกิจไทยที่มีสหรัฐเป็นตลาดปลายทางคงต้องจับตากับทิศทางเศรษฐกิจ การผลิตตลอดจนกำลังซื้อของครัวเรือนในสหรัฐอย่างใกล้ชิด

ดังนั้น ในปี 2564 เศรษฐกิจสหรัฐ น่าจะเข้าสู่ช่วงทยอยฟื้นตัวหลังผ่านวิกฤตโควิต-19 แต่ระดับการเติบโต คงต้องจับตาผลการ เลือกตั้งสหรัฐ อย่างเป็นทางการ ว่าใครจะเป็นก้าวขึ้นมาเป็นผู้บริหารประเทศในระยะ 4 ปีข้างหน้า ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ภายใต้การนำของ “โจ ไบเดน” แห่งพรรคเดโมแครต ด้วยงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่จะนำพาให้เศรษฐกิจสหรัฐ เติบโตได้ดีกว่า ขยายตัวไม่ต่ำกว่า 3.0% สูงกว่ากรณีของ “โดนัลด์ ทรัมป์” ที่เศรษฐกิจสหรัฐอาจขยายตัวน้อยกว่า 2.0% จากข้อจำกัดในการบริหารงาน

ารส่งออกของไทยไปสหรัฐน่าจะได้รับผลบวกจากนโยบายของ “โจ ไบเดน” มากกว่า โดยทำให้การส่งออกไปสหรัฐ ในปี 2564 กลับมาเร่งตัวได้ค่อนข้างดีที่ 10 – 12% มีมูลค่าการส่งออกที่ 36,700 – 37,300 ล้านดอลลาร์ ขณะที่การส่งออกของไทยก็ยังสามารถเติบโตได้หาก “โดนัลด์ ทรัมป์” ได้เข้ามาสานต่อนโยบายเดิม แม้จะไม่สามารถขับเคลื่อนนโยบายได้อย่างราบรื่นนัก จากการที่ไม่สามารถครองสภาคองเกรสได้แบบเบ็ดเสร็จ

จึงทำให้การส่งออกของไทยไปสหรัฐ เติบโตค่อนข้างจำกัด อาจต่ำกว่า 5.0% มีมูลค่าการส่งออกประมาณ 35,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งการเติบโตที่เกิดจากความต้องการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย อาจถูกชะลอการบริโภคออกไปก่อน

ขณะที่สินค้าขั้นกลางของไทยก็อาจเผชิญอุปสรรคจากสงครามการค้าและกำลังซื้อของสหรัฐที่ไม่กลับมาเต็มที่ อีกทั้งถ้าหากสหรัฐเดินหน้าตัดสิทธิ GSP สินค้าไทยอีกเรื่อยๆ คงยิ่งท้าทายการส่งออกของไทยในระยะต่อไป

อย่างไรก็ดี ไม่ว่าใครจะก้าวขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐ จุดร่วมของทั้งคู่คือเป้าหมายที่จะ “โดดเดี่ยวจีน” นั่นทำให้ในระยะต่อจากนี้ไป การลงทุนในภาคการผลิตยังคงกระจายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่น เพื่อลดความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ภาพรวมการค้าของไทยกับจีน โดยเฉพาะในส่วนของห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเทคโนโลยีที่ผลิตหรือประกอบในจีน ลดบทบาทลงไปโดยปริยาย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo