Business

แบรนด์ทุ่มงบ ‘โฆษณาออนไลน์’ พุ่งกว่า 20% แนะ ‘อินฟลูเอนเซอร์’ ปรับตัวรับ

โฆษณาออนไลน์ พุ่งกว่า 20% แบรนด์หันทุ่มงบเข้าถึงลูกค้า “พ็อพส์” ชูกลยุทธ์ Beyond Influencer Marketing ทำแคมเปญให้ปังด้วยอินฟลูเอนเซอร์

นายบานิ แทน ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท พ็อพส์ (ประเทศไทย) จำกัด (POPS Thailand) เอเจนซี่การตลาดออนไลน์ และผู้นำด้านการผลิตคอนเทนต์แบบหลายแพลตฟอร์มในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดเผยว่า จากวิกฤติโควิด-19 ทำให้หลายธุรกิจหยุดชะงัก ส่งผลให้องค์กรต่าง ๆ  ปรับลดงบประมาณการซื้อสื่อโฆษณาลง แต่กลับพบว่า แบรนด์ทุ่มงบ โฆษณาออนไลน์ พุ่งกว่า 20%

โฆษณาออนไลน์

ทั้งนี้ การใช้สื่อออนไลน์ โดยเฉพาะในกลุ่ม อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) กลับมีแนวโน้มการเติบโต สวนทางสื่อในกลุ่มอื่น ๆ

สำหรับ พ็อพส์ฯ ได้เก็บสถิติ งบประมาณโฆษณา ของแบรนด์ ที่ทำแคมเปญกับบริษัท ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา (มกราคม-มิถุนายน 2563) จำนวนรวมกว่า 390 แคมเปญ พบว่า มีการทุ่มเม็ดเงิน ให้กับสื่อออนไลน์ และ อินฟลูเอนเซอร์ เพิ่มขึ้นกว่า 20% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562

การใช้งบเพิ่มขึ้นดังกล่าว เนื่องจากแต่ละแบรนด์ ได้มีการปรับลด การจัดกิจกรรมออฟไลน์การตลาดอื่น ๆ ในช่วงวิกฤตโควิด-19 และ ปรับงบประมาณเพิ่มสื่อออนไลน์ เพิ่มมากขึ้น ตามพฤติกรรมของผู้บริโภค ในการใช้สื่อออนไลน์ ที่เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน

นายบานิ กล่าวว่า พ็อพส์ฯ มีบริการวางแผน บริหารจัดการ และ ผลิตคอนเทนต์ เพื่อสร้างการรับรู้ และจดจำ
แบรนด์ ในสินค้าหลายกลุ่มอุตสาหกรรม รวมถึงการทำงานร่วมกับ อินฟลูเอนเซอร์ ชั้นนำหลายราย อาทิ The Snack, Peachii, Bearhug, Kaykai salaider, Bie the ska, และอื่น ๆ

K.Bani Tan
บานิ แทน

พร้อมกันนี้ ยังมีการพิจารณา และนำเสนอ อินฟลูเอนเซอร์ ที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ ในการทำงานร่วมกัน เพื่อให้แคมเปญการตลาด ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

ขณะเดียวกัน มองว่า วิกฤติโควิด-19 ถือเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ที่ทำให้เทรนด์ของ อินฟลูเอนเซอร์ เปลี่ยนแปลงไป เพราะนอกจาก ผู้บริโภคจะมีพฤติกรรม การใช้โซเชียลมีเดียเพิ่มขึ้น และ หลายแพลตฟอร์ม มีจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นแล้ว ในส่วนของ อินฟลูเอนเซอร์ ก็ได้มีการปรับตัวตามเช่นกัน

ตัวอย่างเช่น ศิลปินดาราผันตัวมาเป็น YouTuber จำนวนมาก ส่งผลให้การแข่งขันในตลาด อินฟลูเอนเซอร์ ทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจาก ศิลปินดารา เป็นกลุ่มที่มีฐานแฟนคลับเดิมที่สูงอยู่แล้ว

ดังนั้น อินฟลูเอนเซอร์ ที่เป็นสายคอนเทนต์ดั้งเดิม ต้องปรับตัว ด้วยการสร้างกิจกรรม ที่โดดเด่นน่าสนใจ และตรงต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

POPS Team 2

ที่สำคัญ คือ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งภาพลักษณ์ที่ดีให้แบรนด์ ถือเป็นกลยุทธ์ Beyond Influencer Marketing ที่จะช่วยสร้าง ทั้งกระแสความสนใจ ยอดขาย และภาพลักษณ์ของสินค้า ควบคู่ไปอย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ การทำแคมเปญความร่วมมือ (Collaboration) ระหว่างแบรนด์และ อินฟลูเอนเซอร์ ในการผลิตสินค้าคอลเลคชั่นพิเศษขึ้น เป็นต้น

ด้านนายปิยพล ม่วงมี ครีเอทีฟและผู้ก่อตั้ง บริษัท เดอะ สแน็ค เวิลด์ จำกัด เจ้าของช่องยูทูบชื่อดัง ขวัญใจวัยรุ่น “The Snack” ผู้เป็น trend setter ของวัยรุ่น ทั้งในเรื่องแฟชั่น และความคิด การใช้ชีวิต ด้วยจำนวนผู้ติดตามกว่า 3.41 ล้านคน กล่าวว่า The Snack ได้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับพ็อพส์ฯ ในการผลิตคอนเทนต์ เพื่อสร้างแบรนด์สินค้า ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ เช่น YouTube

การที่สินค้า จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ผู้ผลิตคอนเทนต์ ต้องทำงานร่วมกับ นักการตลาด และแบรนด์สินค้า โดยในส่วนของ The Snack จะได้รับข้อมูลความคิดเห็น หรือฟีดแบค จากลูกค้าที่เป็น กลุ่มเป้าหมายของแบรนด์นั้น ๆ โดยตรง ว่าชอบหรือไม่ชอบอะไร ต้องการคอนเทนต์ในรูปแบบใด

GENO 01
ปิยพล ม่วงมี

หลังจากนั้น The Snack จะนำฟีคแบคจากลูกค้า มาสร้างสรรค์คอนเทนต์ และสื่อสารไปยังผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย ด้วยการนำเสนอข้อความหลัก (Key Message) ของแบรนด์สินค้า ให้ครบถ้วน เพื่อเป็นการส่งเสริมการขายอย่างสมบูรณ์แบบ

“เรื่องยากสำหรับการทำคอนเทนต์คือ ความสม่ำเสมอ ในการเสิร์ฟคอนเทนต์ ให้กลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ และอัพเดทเทรนด์ใหม่ๆ ที่ไม่จำเจ เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภค เปลี่ยนแปลงง่าย และรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องเช็คเทรนด์ และอัพเดทตัวเองอยู่ตลอดเวลา เพื่อครีเอทคอนเทนต์ ที่ตอบโจทย์แบรนด์สินค้า และตรงใจกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด” นายปิยพล กล่าว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo