Economics

บทวิเคราะห์ ‘เที่ยวไทย’ ไตรมาสสุดท้ายเงินสะพัด 1.8 แสนล้าน หดตัว 37%

บทวิเคราะห์ “ศูนย์วิจัยกสิกร” ประเมิน “เที่ยวไทย” ไตรมาสสุดท้ายเงินสะพัด 1.8 แสนล้าน หดตัว 37% “โควิด-19-เศรษฐกิจ-การเมือง” คือความเสี่ยง แนะผู้ประกอบการออกโปรฯ-จัดแพคเกจเฉพาะกลุ่ม

ในช่วงโค้งสุดท้ายของปี 2563 หน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างเร่งทำตลาดกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ เพื่อความต่อเนื่องในการฟื้นตัวของตลาดไทยเที่ยวไทย

คนส่วนใหญ่วางแผนเที่ยว

จากผลสำรวจของ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปี 2563 กลุ่มตัวอย่างมีแผนจะเดินทางไปท่องเที่ยวต่างจังหวัดคิดเป็นสัดส่วน 77.3% ซึ่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากผลสำรวจช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ยังไม่มีแผนที่จะเดินทางสัดส่วนประมาณ 22.7%

โดยกลุ่มตัวอย่างกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะมีความกังวลเรื่องของค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ท่องเที่ยว และยังมีความกังวลต่อโรคโควิด-19

อย่างไรก็ดี ทิศทางการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศของคนไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้ ยังมีความไม่แน่นอนสูง เมื่อคนไทยยังมีความกังวลต่อสถานการณ์โควิด-19 จากผลสำรวจ โดยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง 49% มองว่าหากมีข่าวการพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศจะมีผลต่อการปรับแผนการเดินทางท่องเที่ยวในช่วงที่เหลือของปีนี้ ขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถาม 35.3% ยังขอรอดูสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ก่อนที่จะตัดสินใจ

บทวิเคราะห์ เที่ยวไทย

สำหรับจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปีนี้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างยังนิยมเดินทางไปท่องเที่ยวธรรมชาติทางภูเขา โดยจังหวัดที่กลุ่มตัวอย่างเลือกเดินทางมากที่สุด อาทิ เชียงใหม่ เชียงราย เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี และน่าน ขณะที่แหล่งท่องเที่ยวทางทะเล จังหวัดที่กลุ่มตัวอย่างเลือกที่จะเดินทางมากที่สุด อาทิ ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ภูเก็ต เป็นต้น

อย่างไรก็ดี จุดหมายปลายทาง การท่องเที่ยว อาจมีการปรับเปลี่ยนตามปัจจัยแวดล้อมอย่างเรื่องโควิดและการชุมนุม

ทั้งนี้ สื่อที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการตัดสินใจเลือกจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวของกลุ่มตัวอย่าง คือ สื่อดิจิทัลออนไลน์ เช่น Facebook, Instagram และเว็บท่องเที่ยว

โดยกลุ่มตัวอย่างที่มองว่า สื่อสังคมออนไลน์ รูปแบบ Social Media Influencer มีอิทธิพลมากที่สุดจะเป็นกลุ่มคน Gen Y และ Gen Z ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความคุ้นชินกับเทคโนโลยี ขณะที่กลุ่มคน Gen X ขึ้นไป การเลือกสถานที่ท่องเที่ยวจะมาจากการบอกกล่าวจากเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวเป็นส่วนใหญ่

ทะเล ท่องเที่ยว11

นักท่องเที่ยวลดค่าใช้จ่าย 5.5%

แม้ผลสำรวจจสะท้อนภาพของจำนวนคนที่คาดว่าจะเดินทางเพิ่มขึ้นในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปีนี้ แต่ผลสำรวจจำนวนครั้งที่กลุ่มตัวอย่างมีแผนที่จะเดินทาง ท่องเที่ยว อยู่ที่ประมาณ 1.8 ครั้ง (ทริป) ลดลงเมื่อเทียบกับผลสำรวจในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการปรับลดค่าใช้จ่ายเพื่อการ ท่องเที่ยว โดยค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 6,700 บาทต่อทริป ซึ่งลดลงประมาณ 5.5% เมื่อเทียบกับผลสำรวจจากช่วงเดียวกันของปีก่อน

โดยค่าใช้จ่ายที่ลดลง ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการซื้อของฝาก โดยค่าใช้จ่ายในกลุ่มนี้ลดลงต่อเนื่องติดต่อกันมา 2 ปี เนื่องจากปัจจุบันผู้ประกอบการธุรกิจขายสินค้าของที่ระลึกและของฝาก ปรับมาทำตลาดออนไลน์มากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคสามารถสั่งซื้อได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ปรับลดลงเช่นกันอย่างค่าใช้จ่ายการเข้าสถานที่ ท่องเที่ยว เป็นต้น

แผหกด

บทวิเคราะห์ เที่ยวไทย

ขณะที่ในส่วนของค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ โรงแรมและที่พัก ซึ่งเป็นผลจากโครงการเราเที่ยวด้วยกันที่รัฐบาลสนับสนุนค่าที่พัก 40% สูงสุด 3,000 บาทต่อคืนต่อห้อง นอกจากนี้ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมระดับ 4 ดาวขึ้นไป ลงมาทำราคาที่จูงใจเพื่อเป็นทางเลือกให้นักท่องเที่ยว ทำให้กลุ่มตัวอย่างส่วนหนึ่งปรับไปเลือกใช้บริการกลุ่มโรงแรมดังกล่าว

นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายในอาหารและเครื่องดื่มปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวไทยที่นิยมเดินทางท่องเที่ยวเพื่ออาหาร (Gastronomy Tourism) โดยจะนิยมไปยังร้านอาหารพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงของเมืองท่องเที่ยวนั้นๆ และยังนิยมเดินทางไปยังร้านที่มีการตกแต่งสวยงามที่มีชื่อเสียงตามที่มีการรีวิวหรือแชร์ในสื่อสังคมออนไลน์มากขึ้นเช่นกัน จึงเป็นอีกเหตุผลที่ทำให้การใช้จ่ายในกลุ่มนี้เพิ่มขึ้น

“ท่องเที่ยว” ไตรมาสสุดท้ายหดตัว 37%

บทวิเคราะห์ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มอง เที่ยวไทย ว่า ภายใต้กรณีที่ไม่มีการระบาดของโควิด-19 ในประเทศอีกครั้ง ประกอบกับมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว และการชุมนุมทางการเมืองที่อยู่ในขอบเขตจำกัด จะช่วยทำให้การใช้จ่ายของคนไทยเที่ยวในประเทศในช่วง 3 เดือนสุดท้ายนี้  น่าจะมีมูลค่าประมาณ 1.8 แสนล้านบาท หดตัวประมาณ 37.1% (YoY) ดีขึ้นจากที่หดตัวแรงในช่วงก่อนหน้า

ทั้งปี 2563 นี้ ผลจากโควิด-19 ทำให้การใช้จ่ายของคนไทยเที่ยวในประเทศน่าจะมีมูลค่า 5.06 แสนล้านบาท หดตัว 53.3% จากปี 2562

ในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวนี้ เป็นจังหวะที่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวคงต้องเร่งทำตลาดสร้างการรับรู้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการใช้โอกาสจากการที่ภาครัฐออกมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวในช่วงนี้ มาทำแคมเปญการตลาดควบคู่กันไป โดยใช้ประโยชน์จากช่องทางเทคโนโลยีมากขึ้น อาทิ การทำตลาดผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งเหมาะกับกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจที่มีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณในการทำตลาดอย่างกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก และยังเป็นช่องทางที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการเลือกสถานที่ ท่องเที่ยว และที่พัก

fig 26 10 2020 12 28 36

นอกจากนี้ ภายใต้ภาวะที่กำลังซื้อของนักท่องเที่ยวมีจำกัด ผู้ประกอบการอาจจะจัดทำแพคเกจท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายทางด้านราคา เพื่อเจาะกลุ่มที่มีแผนเดินทางท่องเที่ยวแต่มีงบประมาณจำกัดอย่างแพคเกจพิเศษสำหรับครอบครัว นอกจากนี้ ในกลุ่มผู้ประกอบการโรงแรมและที่พักระดับกลาง-บน ก็อาจจะต้องมีการจัดแพคเกจที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของกลุ่มนักท่องเที่ยวไทยระดับบนที่กำลังมองหาสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศทดแทนการเดินทางไปต่างประเทศ

ด้านผู้ประกอบการท่องเที่ยวในพื้นที่ที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวคงจะต้องมีการอัพเดทข้อมูลข่าวสารในพื้นที่เพื่อสร้างความเข้าใจแก่นักท่องเที่ยวไทยที่จะเดินทางเข้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo