General

หมูตายเพียบ ‘พีอาร์อาร์เอส’ ระบาดน่าน ย้ำทำลายทันที! กันแพร่เชื้อ

หมูตายเพียบ เจอโรค “พีอาร์อาร์เอส” ระบาดหลายพื้นที่ จังหวัดน่าน ปศุสัตว์ แจงไม่ติดต่อคน แนะคุมเข้มจัดการฟาร์ม เจอสุกรป่วยโรคนี้ ต้องทำลายทิ้งทันที

นายสัตวแพทย์อนุสรณ์ หอมขจร ปศุสัตว์จังหวัดน่าน เปิดเผยว่า ล่าสุดพบการแพร่ระบาดของ โรคพีอาร์อาร์เอส (PRRS: Porcine Reproductive and Respiratory Syndrome) ในสุกร ในหลายหมู่บ้านของ ตำบลยม ตำบลผาตอ ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา และตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว จังหวัดน่าน ทำให้ หมูตายเพียบ

หมูตายเพียบ

สำหรับ สุกรที่ป่วย จะแสดงอาการซึม มีไข้ ไม่กินอาหาร แท้ง ซึ่งการติดต่อของเชื้อ จะผ่านทางรก ทางน้ำนม หรือจากการสัมผัสโดยตรง กับสุกรที่ติดเชื้อ ผ่านทางอุจจาระ ปัสสาวะ น้ำเชื้อ สิ่งคัดหลั่ง หรือแม้แต่การรับเชื้อทางอากาศ ทำให้เกิดการติดเชื้อวนเวียนในฝูงสุกร นอกจากนี้ ยังพบการติดต่อผ่านทางสัตว์พาหะ เช่น ยุง อีกด้วย

ทั้้งนี้ อาการและความรุนแรงของโรค ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อ การจัดการฟาร์ม การสุขาภิบาล ระบบการหมุนเวียนอากาศ และสุขภาพของสุกรในฝูง โดยสุกรตัวเต็มวัย อาจคลอดก่อนกำหนด แท้งในระยะท้ายของการตั้งท้อง ลูกที่คลอดอ่อนแอ อัตราลูกตายแรกคลอดสูง

ส่วนสุกรเล็ก มักมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ แคระแกร็น โตช้า และพบโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ร่วมด้วย เป็นโรคที่ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ เมื่อพบอาการต้องสงสัย ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ เพื่อเก็บตัวอย่างไปตรวจยืนยันโรค

ขณะที่ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดน่าน ได้ดำเนินการควบคุมโรค และให้คำแนะนำแก่เกษตรกร ในการป้องกันโรค จึงขอให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร เฝ้าระวังและป้องกันโรค โดยจัดให้มีระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ เช่น ฟาร์มต้องมีรั้วรอบขอบชิด ไม่ให้บุคคลภายนอกเข้าไปในบริเวณฟาร์ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถขนส่งสุกร รถขนส่งอาหารสัตว์ หรือเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรฟาร์มอื่น

111 2

นอกจากนี้ ต้องแยกใช้อุปกรณ์ภายในฟาร์ม โดยเฉพาะจัดให้มี อ่างจุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ทำการพ่นยาฆ่าเชื้อยานพาหนะ อุปกรณ์ต่าง ๆ และโรงเรือนเป็นประจำ หากพบสุกรป่วยด้วยอาการข้างต้น ให้แจ้งปศุสัตว์อำเภอทันที

อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า โรค PRRS ไม่ติดต่อคน โดยเกิดจากไวรัสไม่มียารักษา จึงต้องทำลายหมู ในพื้นที่เสี่ยง เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น โดยยืนยันว่ามีการเฝ้าระวังโรคอย่างต่อเนื่อง และมีมาตรการติดตามการชำแหละ-จำหน่ายเนื้อหมูอย่างเข้มงวด

โรค PRRS เป็นโรคที่ทำให้เกิดกลุ่มอาการ ทางระบบสืบพันธุ์ และทางเดินหายใจ พบได้ในสัตว์จำพวกสุกร ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมมีกีบคู่ ทั้งที่เป็น สัตว์เลี้ยง และสัตว์ป่า ปัจจุบัน ยังไม่มีข้อมูลที่ยืนยันถึงการติดเชื้อในสัตว์ชนิดอื่น รวมทั้งไม่ติดต่อสู่คน

สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม Arteriviridae แบ่งออกเป็น 2 จีโนไทป์ ได้แก่ ไทป์ 1 กลุ่มสายพันธุ์ยุโรป และไทป์ 2 กลุ่มสายพันธุ์อเมริกา ต่อมาปี 2549 พบการระบาดของไวรัสไทป์ 2 สายพันธุ์รุนแรงในจีนและประเทศในแถบอาเซียน

ซึ่งโดยก่อนหน้านั้นนายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค Porcine Reproductive and Respiratory Syndrome (PRRS) นั้นทำให้ต้องทำลายสุกรในรัศมีที่กำหนดจากจุดเกิดโรค เพื่อลดปริมาณสุกร ซึ่งจะลดความเสี่ยงที่จะเสียหายจากการแพร่ระบาด

น่าน

ทั้งนี้ โรค PRRS ทำให้เกิดกลุ่มอาการทางระบบสืบพันธุ์และทางเดินหายใจ พบได้ในสัตว์จำพวกสุกร ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมมีกีบคู่ ทั้งที่เป็นสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า

ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที่ยืนยันถึงการติดเชื้อในสัตว์ชนิดอื่น รวมทั้งไม่ติดต่อสู่คน สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม Arteriviridae แบ่งออกเป็น 2 จีโนไทป์ ได้แก่ ไทป์ 1 กลุ่มสายพันธุ์ยุโรป และไทป์ 2 กลุ่มสายพันธุ์อเมริกา ต่อมาปี 2549 พบการระบาดของไวรัสไทป์ 2 สายพันธุ์รุนแรงในจีนและประเทศในแถบอาเซียน

ที่สำคัญ เกษตรกรต้องให้ความสำคัญต่อการจัดการฟาร์ม ไม่ควรให้รถรับซื้อสุกรทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถที่มีสุกรจากฟาร์มอื่นอยู่บนรถ เข้ามาในบริเวณฟาร์ม และไม่ควรให้พนักงานของฟาร์มเข้าไปสัมผัสกับรถรับซื้อสุกรนั้น เพราะรถดังกล่าวอาจปนเปื้อนเชื้อโรคจากการขนส่งสุกรป่วยครั้งก่อน

กรณีนำสุกรมาใหม่ ต้องแยกกักจนแน่ใจว่าไม่ป่วยเป็นโรค PRRS หากพบสุกรป่วยหรือตายด้วยโรค PRRS ให้ทำลายสุกรป่วยด้วยการฝังหรือเผาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้เคลื่อนย้ายสุกรป่วยออกจากฟาร์ม ส่วนสุกรที่เหลือในฟาร์ม อนุญาตให้เคลื่อนย้ายไปโรงฆ่าสัตว์เท่านั้น

ขณะนี้กรมปศุสัตว์ ใช้มาตรการลดความเสี่ยง ตามแนวทางป้องกันโรคระบาดในสุกร ที่เป็นวาระแห่งชาติ หากผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันพบสุกรเป็นโรค PRRS ให้ทําลายสุกรที่ป่วยหนัก หรือสุกรที่พิจารณาแล้วว่าไม่สามารถรักษาให้หายได้ หรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นแหล่งการแพร่กระจายของโรคต่อไป โดยมีค่าชดใช้ในการทำลายร้อยละ 75 ของราคาสุกรเพื่อลดความเสียหาย ป้องกันไม่ให้โรคระบาดเป็นวงกว้าง

นายวรพล รุ่งสิทธิมงคล หัวหน้าด่านกักกันสัตว์น่าน กล่าวว่า ได้เพิ่มการเฝ้าระวังโดยการตั้งจุดตรวจควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์-ซากสัตว์และพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อรถบรรทุกเข้า-ออก ณ ร้านค้าชุมชนบ้านผาขวาง ตำบลปอ อำเภอเมืองน่าน ซึ่งเป็นจุดรอยต่อระหว่างอำเภอเมืองและอำเภอท่าวังผา พร้อมทั้งจัดชุดลาดตระเวนตรวจการเคลื่อนย้ายและหาข่าวในพื้นที่ระหว่างอำเภอเมือง อำเภอท่าวังผา และอำเภอปัว

หากพบการลักลอบเคลื่อนย้ายสุกรและซากสุกรโดยไม่ได้รับอนุญาตในพื้นที่เกิดโรค ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ในพื้นที่หรือแจ้งปศุสัตว์อำเภอ เพื่อดำเนินการกับผู้กระทำความผิดกฎหมาย พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 ต่อไป

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo