Politics

ศาลแพ่งรับฟ้อง ‘คดีเพิกถอนสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง’ รอลุ้นคำสั่งวันนี้

ศาลแพ่ง รับฟ้อง “คดีเพิกถอน สถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง” นัดไต่สวนวันนี้ (22 ต.ค.) ม็อบลุ้น! คำสั่งคุ้มครองการชุมนุม 

วันนี้ (22 ต.ค. 63) ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก นัดฟังคำสั่งคดีที่ศาลแพ่ง ในคดีที่มีการยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 3 สำนวน โดยศาลแพ่งมีคำสั่งให้รับคำร้องคดีทั้ง 3 สำนวนไว้

พ.ร.กฉุกเฉินฯ

ในช่วงเช้า ศาลฯ จะไต่สวนสำนวนของนายวัชระ เพชรทอง ตามด้วยสำนวนของนายชลน่าน ศรีแก้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พรรคเพื่อไทย ในช่วงบ่ายจะไต่สวนสำนวนของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในนามกลุ่ม “คณะจุฬาฯ” และ “TPC Awaken” โดยทั้ง 3 สำนวนจะนัดฟังคำสั่งวันนี้

คณะจุฬาฯ สถานการณ์ฉุกเฉิน

ทั้งนี้ กลุ่ม คณะจุฬาฯ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงกรณีดังกล่าวว่า

“ศาลแพ่งรับคำฟ้องของนิสิตนักศึกษาทั้ง 6 คน ที่ได้ยื่นฟ้องนายกรัฐมนตรีและจำเลยอีก 2 คน และได้อธิบายว่าศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดีทั่วไป แม้ศาลปกครองจะไม่มีอำนาจในขณะที่ยังใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ อยู่

การไต่สวนฉุกเฉินจะเริ่มในช่วง 13.30 น. ของวันนี้ เพื่อพิจารณาคำสั่งคุ้มครองผู้ชุมนุมจนกว่าจะมีคำพิพากษาต่อไป

ส่วนในห้องพิจารณาที่มีโจทก์เป็นนายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.พรรคเพื่อไทย และโจทก์อีก 3 คน ได้ยื่นคำฟ้องและไต่สวนฉุกเฉิน ศาลได้รับคำฟ้องในเวลาต่อมาพร้อมไต่สวนฉุกเฉินในเวลานั้น”

ประกาศ สถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง

ทั้งนี้ เมื่อเวลา 04.00 น. วันที่ 15 ตุลาคม 2563 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ออก ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ความว่า

โดยที่ปรากฏว่า มีบุคคลหลายกลุ่ม ได้เชิญชวน ปลุกระดม และดำเนินการให้มีการชุมนุมสาธารณะ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะขึ้นในกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการและช่องทางต่างๆ ก่อให้เกิดความปั่นป่วนวุ่นนวาย และความไม่สงบเรียบร้อยของประชาชน มีการกระทำที่กระทบต่อขบวนเสด็จพระราชดำเนิน

มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า มีการกระทำที่มีความรุนแรง กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในีวิตหรือทรัพย์สินของรัฐหรือบุคคล อันมิใช่การชุมนุมโดยสงบที่ได้รับการรับรองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาไทย อีกทั้งยังกระทบโดยตรงต่อสัมฤทธิผลของมาตรการควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อันส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศที่อยู่ในภาวะเปราะบาง

กรณีจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีมาตรการเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหากรณีดังกล่าวให้ยุติได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที เพื่อให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายและรักษาความสงบเรียบร้อยและประโยชน์ส่วนรวม

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 11 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 2548 นายกรัฐมนตรีจึงให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2563 เวลา 04.00 น. เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 15 ตุลาคม 2563

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo