Business

‘New S-Curve’ โตสวนโควิด จ้างงานกว่า 100,000 ตำแหน่ง

New S-Curve โตสวนโควิด เผยผลสำรวจ ต้องการจ้างงานกว่า 100,000 ตำแหน่ง อุตสาหกรรมดิจิทัล มาแรงสุด ต้องการแรงงานถึง 30,742 ตำแหน่ง

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เปิดเผยรายงานผลสำรวจ ความต้องการแรงงาน ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S Curve และ New S-Curve ) ที่เน้นอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง พบว่า ยังมีความต้องการแรงงานเป็นจำนวนมาก

New S-Curve

ทั้งนี้ แม้ว่าสถานการณ์ วิกฤติโควิดที่ผ่านมา ส่งผลให้หลายธุรกิจต้องปิดตัวลง จนเกิดภาวะการว่างงานเป็นจำนวนมาก แต่ผลสำรวจพบว่า โดยเฉพาะกลุ่ม New S-Curve ยังมีความต้องการจ้างงานมากกว่า 100,000 ตำแหน่ง โดยอุตสาหกรรม New S-Curve ที่ต้องการจ้างงานสูงสุด 5 อันดับแรก ดังนี้

  • อุตสาหกรรมดิจิทัล ต้องการจ้างงานจำนวน 30,742 ตำแแหน่ง

เป็นอุตสาหกรรม ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ในปัจจุบัน ก่อให้เกิดโอกาสการลงทุนมากมาย ไม่ว่าจะเป็น อีคอมเมิร์ซ ไอโอที ดิจิทัลคอนเทนต์ และคลาวด์คอมพิวติ้ง โดยคาดว่าภายในปี 2565 อุตสาหกรรมดิจิทัล
จะมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 61 ของ GDP ประเทศไทย

นโยบายการพัฒนาเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ จะช่วยขับเคลื่อนประเทศไทย ด้วยนวัตกรรมดิจิทัล และ เทคโนโลยีสมัยใหม่ สร้างมูลค่าสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งปัจจุบัน ประเทศไทยมีระบบนิเวศ ที่พร้อมจะพัฒนาสู่การเป็นผู้นำเศรษฐกิจดิจิทัล เพราะมีอุตสาหกรรมดิจิทัลที่แข็งแกร่ง โครงสร้างพื้นฐานไอซีที ที่ล้ำสมัย และมีความต้องการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสูง

21OCT s curve รองรับการจ้างงาน

นอกจากนี้รัฐบาลได้ตั้งนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ซึ่งจะขับเคลื่อนประเทศไทยให้กลายเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางการลงทุนทางด้านดิจิทัลที่ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สำหรับ อุตสาหกรรมดิจิทัล ประกอบด้วย 6 อุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมการพัฒนาและให้บริการซอฟต์แวร์, อุตสาหกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, อุตสาหกรรมการจัดตั้งศูนย์รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลผู้บริโภค, อุตสาหกรรมการให้บริการเกี่ยวกับหน่วยจัดเก็บข้อมูลและการประมวลผลออนไลน์ และการป้องกันอันตรายจากอินเทอร์เน็ต, อุตสาหกรรมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และ อุตสาหกรรมสื่อสร้างสรรค์และแอนิเมชั่น

 

  • อุตสาหกรรมการบินและโลจิตติกส์ ต้องการจ้างงานจำนวน 29,289 ตำแแหน่ง

ประกอบไปด้วยอุตสาหกรรมหลัก คือ อุตสาหกรรมการบิน และ อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐาน โดยการที่ประเทศไทย ตั้งอยู่ในจุดภูมิศาสตร์ที่สำคัญ ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความต้องการการเดินทางทางอากาศที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดโอกาสทางธุรกิจ ในอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์

Holiday ๒๐๑๐๒๑

ขณะเดียวกั โครงการพัฒนาสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเมืองการบิน ภาคตะวันออก (EECa) จะทำให้ประเทศไทย สามารถพัฒนาสู่ การเป็นศูนย์กลางทางการบินของภูมิภาค รวมถึงการเป็นศูนย์กลางการซ่อมบำรุงอากาศยานของภูมิภาคได้

  • อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร ต้องการจ้างงานจำนวน 17,732 ตำแแหน่ง

ประเทศไทย นำเสนออุตสาหกรรมรูปแบบใหม่ ที่ประกอบไปด้วยธุรกิจด้านการดูแลสุขภาพ และการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ที่ครบวงจร ด้วยอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ ที่ครอบคลุมและการพัฒนาวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ ส่งผลให้ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะก้าวสู่การเป็น “ศูนย์กลางทางการแพทย์”

โรงพยาบาลในประเทศไทย ได้ดำเนินงานตามมาตรฐานสากล และมีบุคลากรทางการแพทย์ ที่ผ่านการฝึกอบรมมาเป็นอย่างดี ประเทศไทยมีโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรองมาตรฐานโดย Joint Commission International (JCI) ถึง 66 แหง ทำให้ประเทศไทย เหมาะสำหรับการลงทุน ในธุรกิจอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพครบวงจร

New S-Curve

  • อุตสาหกรรม แปรรูปอาหาร ต้องการจ้างงานจำนวน 12,458 ตำแแหน่ง

อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลัก ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยประเทศไทยเป็นที่รู้จักในฐานะ “ครัวของโลก” เป็นแหล่งผลิตอาหารครบวงจร ที่ให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านเทคโนโลยีการผลิต การสร้างมาตรฐานความปลอดภัยในอาหาร และการพัฒนาระบบการตรวจสอบคุณภาพในทุกขั้นตอนการผลิต เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ พาครัวไทยสู่ครัวโลก

ประเทศไทย ยังมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และมีฤดูการผลิตตลอดทั้งปี โดยเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกมันสำปะหลัง ทูน่ากระป๋อง สับปะรดกระป๋อง ข้าว และน้ำตาล ที่สำคัญของโลก อีกทั้งอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารในประเทศไทย ผลิตสินค้าโดยใช้วัตถุดิบในประเทศกว่าร้อยละ 80 ซึ่งช่วยลดต้นทุนการผลิตให้กับผู้ประกอบการ ส่งผลให้บริษัทผลิตและแปรรูปอาหารในไทย สามารถเติบโต และแข่งขันได้ในตลาดโลก

  • อุตสาหกรรม หุ่นยนต์ ต้องการจ้างงานจำนวน 10,020 ตำแหน่ง

ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมที่สำคัญของอาเซียน โดยมุ่งเน้นการผลิตหุ่นยนต์ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร

New S-Curve

อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ ในประเทศไทยเติบโตอย่างรวดเร็ว ขับเคลื่อนธุรกิจให้เข้าสู่ตลาด สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก ลดการใช้แรงงาน และเพิ่มกำไร เนื่องจากระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ เป็นตัวแปรสำคัญของอุตสาหกรรมการผลิต โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์

ด้วยความต้องการในการใช้ ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงถือเป็นโอกาสทางธุรกิจในประเทศไทย ที่สำคัญสำหรับนักลงทุนทั่วโลก ขณะที่ภาครัฐให้การสนับสนุน เช่น การร่วมมือกับสถาบันการศึกษาไทยหลายแห่ง สนับสนุนการพัฒนา อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีศูนย์วิจัยและพัฒนา และศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรมากมาย เช่น สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์
ภาคสนาม (FIBO) สมาคมหุ่นยนต์ไทย (TRS) และสมาคมอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย (TARA) ที่จะช่วยผลักดันอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ไทยให้ก้าวหน้าและเติบโตไปในอนาคต

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo