Business

‘BTS’ กางคำสั่ง กอร.ฉ. 6 ฉบับ โต้ข่าวปิดรถไฟฟ้าด้วยความสมัครใจ

“BTS” โต้ข่าวปิดรถไฟฟ้าด้วยความสมัครใจ ชี้ทำตามคำสั่ง กอร.ฉ. แจ้งผลกระทบให้เจ้าหน้าที่ทราบทุกครั้ง

จากกรณีที่มีการเสนอข่าวผ่านทางสื่อออนไลน์ว่า การปิดให้บริการรถไฟฟ้า BTS ช่วงที่มีการชุมนุมเป็นความสมัครใจของผู้ให้บริการนั้น

คำสั่ง กอร.ฉ. ปิด BTS

ล่าสุด บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า BTS ชี้แจงว่า ทางบริษัทจำเป็นต้องประกาศหยุดให้บริการรถไฟฟ้าทุกครั้ง ตามคำสั่งจากกองอำนวยการร่วมแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (กอร.ฉ.) และคำสั่งศูนย์ติดตามสถานการณ์กรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตกรุงเทพมหานคร เรื่องห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมและอาคารสถานที่

ทางบริษัทได้เข้าใจในการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจที่ต้องทำตามหน้าที่ แต่ทุกครั้งก่อนที่จะมีการปิดให้บริการรถไฟฟ้า จะมีการประชุมหารือร่วมกับตำรวจทุกครั้ง และได้มีการชี้แจงให้ทราบผลกระทบที่จะตามมา แต่ทางตำรวจเน้นย้ำเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก บริษัทก็ต้องปฏิบัติตาม

บริษัทตระหนักถึงผู้โดยสารทุกคน และเข้าใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทุกคน รถไฟฟ้า BTS ยังคงมุ่งมั่นให้บริการผู้โดยสารของเราอย่างดี และขอเป็นกำลังใจให้คนไทยทุกคน ผ่านช่วงเวลานี้ไปด้วยกัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการชี้แจงครั้งนี้ BTSC ได้ส่งคำสั่ง กอร.ฉ. ที่ให้ปิดรถไฟฟ้าแนบมาให้ผู้สื่อข่าวด้วยจำนวน 6 ฉบับ

คำสั่ง กอร.ฉ. ปิด BTS

343135

คำสั่ง กอร.ฉ. ปิด BTS

คำสั่ง กอร.ฉ. ปิด BTS

คำสั่ง กอร.ฉ. ปิด BTS

คำสั่ง กอร.ฉ. ปิด BTS

คำสั่ง กอร.ฉ. ปิด BTS

 

ก่อนหน้านี้ในวันเดียวกัน น.ส.กัญญ์ณาณัฏฐ์ ภาธรสืบนุกูล โฆษกกองอำนวยการร่วมแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (กอร.ฉ.) เปิดเผยระหว่างการแถลงข่าวสถานการณ์การชุมนุมในวันนี้ (21 ต.ค. 63) ว่า ขณะนี้สื่อมวลชนและประชาชนยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการปิดรถไฟฟ้าและระบบขนส่งมวลชนขณะที่มีการชุมนุมในแต่ละวัน

โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้มีการพูดคุยและสื่อสารกับพี่น้องประชาชนไปหลายครั้งแล้ว แต่วันนี้จะขอย้ำอีกครั้งเพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจกับทุกคน เบื้องต้นการปิดรถไฟฟ้าและระบบขนส่งมวลชนต่างๆ เป็นไปเพื่อความปลดภัยของประชาชน อีกทั้งเป็นการปิดชั่วคราว

“สิ่งที่พวกเราพุดคุยกัน เป็นความร่วมใจ เป็นความสมัครใจร่วมกันระหว่างทาง BTS และทางเจ้าหน้าที่ในการทำให้เกิดความสะดวกสบาย ให้เกิดความปลอดภัยกับพี่น้องประชาชน”

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่มองว่า หากเกิดการทะเลาะวิวาทกันเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในบางพื้นที่ แล้วมีคนตกลงไปบนรางรถไฟที่มีกำลังไฟฟ้าแรงสูง อาจจะมีผู้ได้รับอันตราย นอกจากนี้พบว่ากลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนเข้าไปทำลายข้าวของอุปกรณ์ต่างๆ พังประตูรั้วรถไฟฟ้า หากไม่ปิด เหตุการณ์อาจจะมีเหตุลุกลามสร้างความเสียหายไปมากกว่านี้ หรือหลังจากชุมนุมเลิก สถานีรถไฟฟ้าไม่สามารถใช้บริการได้ ความเสียหายอาจจะมากกว่าหรือไม่

ในมุมแบบนี้ สิ่งที่ภาครัฐกำลังทำ เพราะห่วงชีวิตของทุกๆ คน รวมไปถึงผู้ชุมนุมด้วย เพราะอุบัติเหตุไม่ได้เลือกเกิดกับฝั่งใดฝั่งหนึ่ง

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo