Lifestyle

อย.เตือนดื่มชาเย็น! ระวังส่วนผสมจุลินทรีย์ทำให้เกิดโรคได้

อย.เตือนดื่มชาเย็น ชี้เครื่องดื่มชาไทย มีส่วนผสมเอื้อต่อการเจริญของจุลินทรีย์ เก็บนานอาจเปลี่ยนสภาพได้ จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคได้

อย.เตือนดื่มชาเย็น กรณีคลิปอวสานชาเย็น อย. แจงเหตุจากส่วนผสมของชาที่มีทั้งน้ำ น้ำตาล นม เอื้อต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ยิ่งเก็บไว้นาน ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพและเน่าเสียได้ ชาที่ขายตามร้านค้า หรือตลาดนัดไม่ได้อยู่ในการกำกับดูแลของ อย. ผู้บริโภคควรเลือกซื้อจากร้านที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ส่วนชาที่ อย. กำกับดูแล คือ ผลิตภัณฑ์ชาปรุงสำเร็จ ในภาชนะบรรจุปิดสนิท ซึ่งจะมีการกำหนดมาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์และสถานที่ผลิต ก่อนซื้อผู้บริโภคควรดูรายละเอียดที่ฉลาก ต้องมีเลขสารบบอาหาร

การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ยิ่งเก็บไว้นาน ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพและเน่าเสียได้ ชาที่ขายตามร้านค้าหรือตลาดนัดไม่ได้อยู่ในการกำกับดูแลของ อย. ผู้บริโภคควรเลือกซื้อจากร้านที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ส่วนชาที่ อย. กำกับดูแล คือ ผลิตภัณฑ์ชาปรุงสำเร็จในภาชนะบรรจุปิดสนิท ซึ่งจะมีการกำหนดมาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์และสถานที่ผลิต ก่อนซื้อผู้บริโภคควรดูรายละเอียดที่ฉลาก ต้องมีเลขสารบบอาหาร

นายแพทย์พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการ คณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า กรณีที่มีการเผยแพร่ คลิป ที่ผู้บริโภคซื้อเครื่องดื่มชาไทย จากตลาดนัด นำไปเก็บไว้ในตู้เย็น 2 วัน แต่ปรากฏว่าเมื่อแกะถุง ชาไทยได้เปลี่ยนสภาพเป็นเมือกเหลว คล้ายพลาสติกถูกหลอมละลาย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอชี้แจงว่า ชาไทย เป็นเครื่องดื่มที่ผลิตจากชาซีลอน ที่นำมาปรับกลิ่น และแต่งสี เพื่อให้เวลาชงแล้วออกมาเป็นสีส้ม และนำมาชงดื่มในแบบต่าง ๆ เช่น ชาร้อน (ใส่นม และน้ำตาล) ชาดำร้อน (ใส่น้ำตาล) ชาดำเย็น (ใส่น้ำตาล และน้ำแข็ง) ชาเย็นหรือชาไทย (ใส่นม หรือครีมเทียม น้ำตาล หรือนมข้นหวาน และน้ำแข็ง) โดยอาจเติมนมข้นจืด หรือครีมเทียมข้นจืดเพื่อเพิ่มรสชาติ ผลิตภัณฑ์ชาเย็นซึ่งมีน้ำ น้ำตาล และนมเป็นส่วนประกอบ จึงเอื้อต่อการเจริญของจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเน่าเสีย และจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค

ดังนั้น จึงต้องมีกระบวนการผลิตที่ถูกสุขลักษณะ ทั้งความสะอาดของเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ อุณหภูมิที่ใช้ในการต้ม และความสะอาดของผู้จำหน่าย รวมทั้งอุณหภูมิที่ใช้ในการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม 

ระวังอันตรายจากจุลินทรีย์

นายแพทย์พูลลาภ กล่าวเพิ่มเติมว่า เครื่องดื่มชาไทยที่ขายตามร้านค้า ตลาดนัด โดยไม่ได้บรรจุในภาชนะที่ปิดสนิท เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่ได้อยู่ในการกำกับดูแลของ อย. ผู้บริโภคที่ต้องการซื้อ ควรเลือกซื้อจากร้านที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ทั้งความสะอาดของวัตถุดิบ อุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการผลิต และสุขลักษณะของผู้ปรุงจำหน่าย อีกทั้ง ไม่ควรนำผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะผิดปกติ เช่น เป็นเมือก เป็นยาง เหนียวข้น หรือมีสี กลิ่น รส เปลี่ยนไปมาบริโภค

อย.เตือนดื่มชาเย็น

สำหรับผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในการกำกับดูแลของ อย. จะเป็นผลิตภัณฑ์ชาปรุงสำเร็จที่บรรจุในภาชนะบรรจุ ที่ปิดสนิท ซึ่งมีข้อกำหนดในเรื่องคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ เช่น ตรวจไม่พบแบคทีเรียชนิด อี.โคไล ไม่มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค สถานที่ผลิตต้องผ่านการตรวจประเมินตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (GMP) ในการเลือกซื้อ ผู้บริโภคควรสังเกตภาชนะบรรจุ ต้องสะอาด ไม่บุบ แตก หรือฉีกขาด มีเลขสารบบอาหาร มีการแสดงฉลาก เช่น ชื่ออาหาร ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต ปริมาตรสุทธิ วันเดือนปีที่ควรบริโภคก่อน ข้อมูลการใช้วัตถุเจือปนอาหาร และข้อมูลเกี่ยวกับการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์บนฉลาก

ชาเย็น3

หากเป็นผลิตภัณฑ์ ที่ต้องเก็บรักษาในตู้แช่เย็น ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิของตู้แช่เย็นตลอดเวลา ทั้งนี้ หากผู้บริโภคพบเห็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่ได้รับความปลอดภัย สามารถร้องเรียนได้ที่ สายด่วน อย. 1556 หรือ E-mail: [email protected] หรือ ตู้ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application หรือ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เพื่ออย. จะดําเนินคดีตามกฎหมายกับผู้ที่กระทําผิดต่อไป

ชาเย็น (Iced tea)เป็นชาที่มีความเย็นซึ่งอาจจะมาจากการใส่น้ำแข็ง หรือนำชาไปแช่เย็น โดยอาจจะมีหรือไม่มีรสหวานก็ได้ ชาเย็นนั้นเป็นเครื่องดื่มแบบสำเร็จรูปที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ซึ่งสามารถผสมน้ำเชื่อมรสชาติต่าง ๆ เช่น เลมอน, แรสเบอร์รี, มะนาว, เสาวรส, ท้อ, ส้ม, สตรอว์เบอร์รี และ เชอร์รี ในขณะที่ชาเย็นส่วนใหญ่จะมีรสชาติของใบชา ส่วนชาจากสมุนไพร ก็สามารถนำมาทำเป็นชาเย็นได้เช่นกัน ในบางครั้งชาเย็นอาจทำมาจากน้ำชาที่อุณหภูมิต่ำโดยวัตถุดิบที่สำคัญและเป็นเอกลักษณ์ของชาไทยคือ ใบชา และ นมข้นหวานหรือน้ำตาล หลังจากชงด้วยน้ำร้อนแล้ว จึงนำไปเทใส่แก้วหรือถุงที่มีน้ำแข็ง หรือนำไปแช่เย็นไว้ดื่มภายหลัง

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight