Business

‘ช้อปดีมีคืน’ รายได้ปีละ 2 ล้าน พร้อมใช้สิทธิเต็ม 30,000 บาท ค้าปลีกได้เต็มๆ

ช้อปดีมีคืน รายได้ปีละ 2 ล้าน พร้อมใช้เต็มอัตรา ภาพรวมส่วนใหญ่คาดใช้สิทธิเฉลี่ย 5,000-10,000 บาทต่อคน ชี้ค้าปลีก ร้านอาหาร ไอที ได้อานิสงส์มากสุด

การประกาศใช้มาตรการ ช้อปดีมีคืน ระหว่างวันที่ 23 ตุลาคม – 31 ธันวาคม 2563 ที่รัฐบาลคาดหวังจะเป็นอีกกลไก ในการกระตุ้น การใช้จ่ายของผู้บริโภคช่วงปลายปี จากผลสำรวจของ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ในโครงการ ช้อปดีมีคืน รายได้ปีละ 2 ล้าน พร้อมใช้สิทธิเต็มจำนวน 30,000 บาท

ช้อปดีมีคืน รายได้ปีละ 2 ล้าน

ทั้งนี้ พบว่า ระดับรายได้ มีผลต่อการใช้สิทธิในวงเงินที่แตกต่างกัน โดยภาพรวม 70% ของผู้ที่ตอบแบบสอบถาม ที่มีรายได้สุทธิมากกว่า 500,000 บาทต่อปีขึ้นไป หรือมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 42,000 บาทขึ้นไป วางแผนที่จะใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากมาตรการช้อปดีมีคืน

นอกจากคนรายได้ปีละ 2 ล้านบาท ส่วนใหญ่จะเลือกใช้สิทธิช้อปปิ้ง 30,000 บาท ยังพบว่า คนที่มีรายได้สุทธิไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี วางแผนที่จะใช้สิทธิเพียง 40% ของผู้ที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมด และส่วนใหญ่จะใช้จ่ายแค่บางส่วน หรือไม่เต็มจำนวน โดย เฉลี่ยอยู่ที่คนละ 5,000 – 10,000 บาท เนื่องจาก ผู้บริโภคกลุ่มนี้ ยังคงกังวลกำลังซื้อในอนาคต และโดยปกติก็เสียภาษีในอัตราที่ไม่สูงมาก จึงยังไม่มีความจำเป็น ที่จะต้องใช้จ่าย เพื่อนำมาลดหย่อนภาษีเพิ่ม

อย่างไรก็ตาม มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ที่ทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง อาทิ คนละครึ่ง ที่ส่งผลดีต่อร้านค้าปลีกรายย่อย ที่เน้นจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน เช่น ร้านธงฟ้า ร้านโชห่วย ร้านค้าปลีกขนาดเล็ก

ขณะที่ มาตรการ ช้อปดีมีคืน คาดว่าจะเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการค้าปลีก ที่จดทะเบียนอยู่ในระบบ และออกใบกำกับภาษีได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางขึ้นไป ทำให้น่าจะช่วยกระตุ้นยอดขายของธุรกิจค้าปลีกในภาพรวมได้ในระดับหนึ่ง

fig 07 11 2019 05 42 53

 

ผลการสำรวจยังพบว่า สินค้าและบริการยอดนิยม 3 อันดับแรก คือ การรับประทานอาหารในร้านอาหาร อุปกรณ์ไอที และของใช้จำเป็นส่วนบุคคล เช่น แชมพู ครีมอาบน้ำ ยาสีฟัน ซึ่งเป็นสินค้าและบริการ ที่ผู้บริโภคจับจ่ายอยู่แล้ว  และยังอาจส่งผลให้เกิดการเลื่อนแผนการใช้จ่าย ให้ตรงกับช่วงที่มีการใช้สิทธิจากมาตรการดังกล่าว

นอกจากนี้ ยังพบว่า ห้างสรรพสินค้า เป็นช่องทางหลัก ที่ผู้บริโภคจะเลือกไปจับจ่าย เพราะตอบโจทย์ ในเรื่องของความสะดวก อีกทั้งยังมีสินค้าและบริการที่ครบวงจร

ส่วน อีมาร์เก็ตเพลส เป็นช่องทางออนไลน์ ที่ตอบโจทย์พฤติกรรม ของผู้บริโภครุ่นใหม่ ที่เป็นวัยรุ่นและวัยทำงาน ซึ่งมีความคุ้นเคยกับ การซื้อสินค้าผ่านช่องทาง อีคอมเมิร์ซ อยู่แล้ว อีกทั้งแพลตฟอร์มออนไลน์ ร่วมกับร้านค้า ที่อยู่บนแพลตฟอร์มดังกล่าว มีการจัดทำกิจกรรมส่งเสริมการตลาด กันอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะการลดราคา ซึ่งน่าจะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภคได้

ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงคาดว่า แรงส่งจากมาตรการ ช้อปดีมีคืน และ คนละครึ่ง จะช่วยให้ภาพรวมธุรกิจค้าปลีกทั้งปี ให้หดตัวลดลงเหลือ 6% เมื่อเทียบกับหากไม่มีมาตรการฯ ที่คาดว่าจะหดตัวราว 7.2%

ด้าน บล.ไทยพาณิชย์ ได้วิเคราะห์ถึงผลของมาตการ กระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลว่า ทั้งโครงการ ช้อปดีมีคืน, การเพิ่มเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และมาตรการคนละครึ่ง ล้วนส่งอานิสงส์ กับธุรกิจค้าปลีก โดยกลุ่มหุ้นที่จะได้ประโยชน์ เช่น โฮมโปร, โกลบอลเฮ้าส์, ซีอาร์ซี, ธนพิริยะ, คอมเซเว่น เป็นต้น

พร้อมกันนี้ ยังมองว่า การขยายเวลามาตรการ “เราเที่ยวด้วยกัน” ออกไปจนถึงวันที่ 31 มกราคม 2564 และลดเวลากักตัวนักท่องเที่ยวเหลือ 7 วัน คาดว่าจะส่งผลดีต่อหุ้นกลุ่มโรงแรม ทำให้เกิดแรงเก็งกำไรในหุ้นโรงแรมมากขึ้น เนื่องจากกระตุ้นการท่องเที่ยว ที่ส่งผลดีต่อธุรกิจโรงแรมโดยตรง

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo