COLUMNISTS

ไตรกลีเซอร์ไรด์สูง อันตรายหรือไม่ หาคำตอบได้ที่นี่!

Avatar photo
Longevity Inspirationist ผู้เชี่ยวชาญสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการรักสุขภาพ
30493

“ผลตรวจเลือดออกมาแล้วค่ะ…ค่าไตรกลีเซอไรด์สูงปรี๊ดดดดด เกิดจากอะไรคะ”

เพื่อนสนิทผู้เขียนยิงคำถามนี้ด้วยเสียงสู๊งงงงงงสูง! ท่ามกลางมื้ออาหารกลางวันแสนอร่อยเมื่อบ่ายวันก่อน ถือเป็นคำถามที่เจอะเจอบ่อย ค่าไตรกลีเซอรไรด์สูงนั้น สาเหตุเกิดจากปัจจัยอะไร ?

คนส่วนใหญ่เทความสนใจไปแต่ “ค่าคอเลสเตอรอล, ค่า LDL ไขมันเลว” โดยลืมคิดไปว่า ค่าไตรกลีเซอไรด์ ก็สำคัญเช่นกัน แน่นอนไตรกลีเซอไรด์สูง เกิดจากอาหารที่เรารับประทานมีส่วนร้อยเปอร์เซ็นต์เลยค่ะ อาหารถือเป็นภัยร้ายที่ซ่อนมากับความอร่อย กลุ่มอาหารอะไรควรทาน ควรเลี่ยงดี? ก่อนอื่น ผู้เขียนจะพามารู้จักเจ้าตัวไตรกลีเซอไรด์ก่อนเลย

ไตรกลีเซอไรด์สูง อันตรายมั๊ย1 01

ไตรกลีเซอไรด์ น่าสนใจอย่างไร?

ไตรกลีเซอไรด์ คือ อนุภาคไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นในตับ มีขนาดเบาบาง และเล็กมาก หรืออธิบายง่าย ๆ ไม่อิงวิทยาศาสตร์แพทย์มากเกินไป เจ้าตัวไตรกลีเซอไรด์ เป็นไขมันชนิดหนึ่งในร่างกาย เกิดขึ้นได้ทั้งจากการรับประทานไขมันจากอาหารเข้าไปโดยตรง และเกิดจากที่ตับสังเคราะห์ขึ้นใช้เอง จากน้ำตาล ข้าว แป้ง และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ไม่สงสัยเลย ท่านใดนักดื่ม คอทองแดงทั้งหลาย หมั่นควรตรวจเลือดเช็คไตรกลีเซอไรด์ด้วยนะคะ)

เจ้าตัวไตรกลีเซอไรด์อยู่ในกระแสเลือดได้ โดยรวมตัวกับเจ้าโปรตีน และนำไปใช้เป็นพลังงานสำรองของร่างกาย บางส่วนเก็บไว้ในตับด้วยค่ะ และหากมีไตรกลีเซอไรด์สูง โดยไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี เสี่ยงมากกับการใกล้ชิดการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหัวใจขาดเลือดได้

รู้ได้อย่างไรว่า ร่างกายเริ่มมีปัญหาแล้ว?

โดยปกติ ร่างกายขจัดไตรกลีเซอไรด์ ออกจากเลือดได้อย่างรวดเร็ว เพียงแค่ 2 – 3 ชั่วโมงหลังจากทานอาหาร ไขมันไตรกลีเซอไรด์ ก็จะถูกขับออกจากเลือดเข้าสู่เซลล์ได้แล้ว คนทั่วไป จึงมีไตรกลีเซอไรด์ในเลือดไม่สูง คือประมาณ 50 – 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แต่ถ้าตรวจเลือด หลังอดอาหารมาแล้ว 8 – 12 ชั่วโมง พบว่า ไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ยังสูงกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป แสดงว่า ร่างกายเริ่มมีปัญหา โดยทั่วไปเมื่อไตรกลีเซอไรด์สูงจะไม่ค่อยแสดงอาการใดๆ อย่างชัดเจน (นอกจากเจาะเลือดจะรู้ทันทีค่ะ) แต่ในกรณีที่ไตรกลีเซอไรด์สูงมากจริง ๆ อาจจะเหมือนโรคหัวใจคือ เจ็บหน้าอก และอ่อนเพลีย

ไตรกลีเซอไรด์สูงได้อย่างไร

ไตรกลีเซอไรด์สูงผิดปกติ เกิดจากการกินอาหารไม่ถูกสัดส่วน ได้รับพลังงานหรือแคลอรีมากเกินไป กินอาหารที่มีไขมันหรือขนมหวานในปริมาณมาก ทำให้ร่างกายสร้างไตรกลีเซอไรด์แล้วขับเข้าสู่กระแสเลือดมากเกินไป การรับประทานอาหารไม่สมดุล โดยเฉพาะกลุ่มข้าว – แป้ง น้ำตาล ไขมัน ในปริมาณที่สูง (เรียกว่าทานเยอะ แต่ใช้พลังงานน้อย คือไม่ออกกำลังกายเลย)

ในกรณีชื่นชอบเอนเตอร์เทน โดยเฉพาะการดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็จะไปกระตุ้นตับให้ผลิตไตรกลีเซอไรด์มากขึ้นเช่นกัน ภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ยังพบได้บ่อยในคนอ้วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งอ้วนลงพุง คนที่เป็นโรคไต โรคเบาหวานชนิดที่สองหรือชนิดไม่พึ่งอินซูลิน คนที่เป็นโรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย และคนที่เป็นโรคตับ ทั้งนี้ เพราะกลไกการย่อยสลายไตรกลีเซอไรด์ในเลือดเปลี่ยนแปลงไป การกินยาบางชนิดอาจทำให้ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงขึ้นได้ เช่น ยาขับปัสสาวะไธอาไซต์ ฮอร์โมนเพศหญิง ยาคุมกำเนิดบางชนิด

ผลการตรวจเลือดเช็คค่าระดับไตรกลีเซอไรด์เทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน มีดังนี้

  • ไตรกลีเซอไรด์ เกณฑ์ปกติ ระดับไตรกลีเซอไรด์น้อยกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ไตรกลีเซอไรด์ คาบเส้น ระดับไตรกลีเซอไรด์ 150 – 199 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ไตรกลีเซอไรด์ ระดับสูง ระดับไตรกลีเซอไรด์ 200 – 499 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ไตรกลีเซอไรด์ ระดับสูงมาก ระดับไตรกลีเซอไรด์ 500 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป

โดยปกติ เราจะทราบค่าไตรกลีเซอไรด์ของเรา ก็ต่อเมื่อไปตรวจสุขภาพประจำปี หรือ เมื่อไปพบแพทย์ แต่ในกรณีที่ผู้มีปัจจัยในเสี่ยงทางสุขภาพ เช่น ความดันเลือดสูง น้ำหนักตัวมาก ขาดการออกกำลังกาย ก็แนะนำให้มีการตรวจไตรกลีเซอไรด์เป็นประจำ

กล้วยแขก

เมื่อผู้อ่านทราบมาจนถึงบรรทัดนี้ อาจมีสงสัยว่า แล้วอาหารอะไรบ้างหล่ะ ที่มีส่วนทำให้ไตรกลีเซอไรด์สูง (จะได้เลี่ยงทัน)
มาดูกันค่ะ

  • อาหารที่มีน้ำตาล หลับตานึกภาพออกเลย ไม่ยากข้อนี้ (หยิบมาเป็นข้อแรกเลย) เช่นพวกขนมวาน ทองหยิบ ทองหยอด ผลไม้เชื่อม รวมถึงเครื่องดื่มสำเร็จรูป ทั้งแบบชง ผง ซอง ขวด กระป๋อง ชานมไข่มุก นมกล่อง นมเปรี้ยว น้ำอัดลม และที่ยิ่งในปัจจุบัน เครื่องดื่มในท้องตลาดมีกันหลายแบรนด์ แนะนำให้ดูส่วนประกอบข้างขวดนิดนึง (ว่าน้ำตาลกี่ %) ก่อนยกดื่ม
  • อาหารที่มีแป้งเป็นส่วนประกอบหลัก พวกข้าว แป้ง ก๋วยเตี๋ยว ขนมปังขาว คิดง่าย ๆ เลย อาหารกลุ่มนี้ เสมือนเราทานน้ำตาลเพียว ๆ เช่นกัน เพราะเมื่อย่อยแล้ว แป้งจะถูกแปรรูปเป็นน้ำตาล และน้ำตาลแปรรูปเป็นไขมันซ่อนตัวอยู่ในหลอดเลือดในร่างเรา แต่ถ้าต้องการทานคาร์โบไฮเดรตจริง ๆ แนะนำทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น พวกขนมปังโฮลวีต ข้าวกล้อง เหล่านี้ได้เลยค่ะ
  • อาหารที่ทีไขมันทรานส์สูง ไขมันทรานส์ เป็นไขมันที่ย่อยยาก และไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อาหารที่มีไขมันทรานส์อยู่ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มของเบเกอรี่ เช่นพวกคุกกี้ โดนัท ฯลฯ
  • แอลกฮอล์ เหล้า เบียร์ ไวน์ ถือเป็นตัวสำคัญที่ทำให้ไตรกลีเซอไรด์ในร่างกายสูง อธิบายง่าย ๆ กลไกการสร้างไตรกลีเซอไรด์เมื่อเหล้าดื่มแอลกอฮอล์เข้าไป โดยเมื่อดื่มแอลกอฮอล์เข้าไป ตับจะถูกกระตุ้นให้ผลิตไตรกลีเซอไรด์มากขึ้น อีกทั้งยังทำให้ไขมันถูกกำจัดออกจากเลือดได้ช้าลงอีกด้วย

ไตรกลีเซอไรด์กับปัญหาสุขภาพ การสะสมไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดมากผิดปกติ จะทำให้มีความเสี่ยงต่อ

  • โรคหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด อัมพาต อัมพฤกษ์ เช่นเดียวกับ การทีคอเลสเตอรอลสูง เพราะไตรกลีเซอไรด์ ปริมาณสูงทำให้เลือดข้นเหนียวขึ้น เกิดการจับตัวกันเป็นลิ่ม และอุดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะที่ส่วนหัวใจ และสมอง
  • โรคตับ ในรายที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงมาก ๆ จะทำให้เกิดโรคตับอ่อนอักเสบได้
  • โรคมะเร็งเต้านม ในรายที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงมาก ๆ ในเพศหญิง ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมสูงขึ้นด้วย เพราะไตรกลีเซอไรด์ ที่สูงจะไปกระตุ้นให้ระดบฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ไหลเวียนอยู่สูงตามขึ้นด้วย ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเป็นมะเร็งเต้านม

วิธีควบคุมระดับไตรกลีเซอไรด์

  • ลดอาหารคาร์โบไฮเดรต ควรลดอาหารประเภทน้ำตาล แป้ง เพราะอาหารในกลุ่มนี้ หากเหลือใช้ จะถูกอินซูลิน เปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ การออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต อย่างน้อย 3-4 ครั้งต่ออาทิตย์
  • เน้นทานอาหารกากใยต่างๆ เน้นทานอาหารมากไฟเบอร์ เช่น คะน้า ผักกาด บล็อกเคอรี่ เพราะกากใยอาหารที่ได้จากผัก และ ผลไม้ รวมทั้งธัญพืชต่าง ๆ มีส่วนช่วยลดการดูดซึมไขมันในลำไส้ ลดความเสี่ยงของการเกิดไขมันไตรกลีเซอไรด์ เพิ่มขึ้นด้วย
  • เลี่ยงพวกเครื่องในสัตว์ทุกชนิด พยายามเลี่ยงทานเครื่องในสัตว์ทุกชนิด เช่น หนังเป็ด หนังไก่ ตับไก่
  • เลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นเบียร์ ไวน์ ต่างมีส่วนประกอบของน้ำตาลด้วยกันทั้งสิ้น ควรเลี่ยงดีที่สุด
  • งดสูบบุหรี่ บุหรี่ มีส่วนกระตุ้นให้กับสร้างไตรกลีเซอไรด์มากขึ้น สารนิโคตินในบุหรี่ ยังให้โทษต่อร่างกาย และเสี่ยงให้เป็นโรคร้ายหลายชนิดอีกด้วย
  • เน้นทานสมุนไพร หนึ่งในสมุนไพรที่ช่วยลดไขมันในเลือดได้อย่างชัดเจน คือกลุ่มอาหารเสริมที่สกัดจากถั่วนัตโตะเข้มข้น ซึ่งเป็นสมุนไพรธรรมชาติ ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ และไขมันชนิดไม่ดี คอเลสเตอรอล ได้อย่างเห็นผลชัดเจน

จะเห็นได้ว่า เมื่อไตรกลีเซอไรด์สูง จะนำพาซึ่งหลายโรค เพราะหากมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูงแล้ว จะเกิดภาวะแทรกซ้อนของไตรกลีเซอไรด์สูงอีกต่างหาก โดยอาจทำให้ผนังของหลอดเลือดแดงหนาขึ้น หรือ หลอดเลือดแดงเกิดการแข็งตัว ฉะนั้น ทางที่ดีที่สุด เราควรป้องกันไม่ให้ไตรกลีเซอไรด์สูงจะดีที่สุด อย่าลืมออกกำลังกายเสริมด้วยนะคะ พบกันใหม่ ฉบับหน้า

อ่านข่าวเพิ่มเติม