Digital Economy

ดิจิทัลทรานสฟอร์มเมชันดัน บิ๊กดาต้า’60 โต 1.1 หมื่นล้าน

big data industry

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับบริษัท ไอดีซี รีเสิร์ช (ไทยแลนด์) จำกัด เปิดเผยผลการสำรวจข้อมูลและประเมินสถานภาพอุตสาหกรรมบิ๊กดาต้า (Big Data) เป็นครั้งแรกในระเทศไทย โดยพบว่าภาพรวมอุตสาหกรรมในปี พ.ศ. 2560 มีมูลค่าสูงถึง 11,839 ล้านบาท พร้อมคาดการณ์ว่าจะมีอัตราการเติบโต 13.7% และ 16.4% ในปี พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2562 ตามลำดับ โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการใช้งานและการลงทุนในเทคโนโลยีบิ๊กดาต้าสูงที่สุด 3 อันดับแรก คือ กลุ่มอุตสาหกรรมการเงินการธนาคาร กลุ่มสื่อ การสื่อสาร และการขนส่ง และกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต การก่อสร้าง และทรัพยากรธรรมชาติ

ดร. กษิติธร ภูภราดัย รองผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และบริหาร สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) กล่าวว่า การสำรวจข้อมูลและประเมินสถานภาพอุตสาหกรรมบิ๊กดาต้าครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการศึกษาอย่างเป็นทางการ โดยในโครงการมีการจัดทำนิยามอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมในทุกมิติของห่วงโซ่มูลค่า รวมถึงการศึกษามูลค่าของอุตสาหกรรมซึ่งประเมินจากรายได้ของผู้ประกอบการอันเกิดจากกิจกรรมด้านการขาย การให้บริการปรึกษาและติดตั้งที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีบิ๊กดาต้าที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยครอบคลุมผู้ประกอบการในห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมทั้ง 3 ประเภท คือ เจ้าของผลิตภัณฑ์ที่มีทรัพย์สินทางปัญญาของตนเอง ผู้นำเข้าและจัดจำหน่าย และผู้ให้บริการที่ปรึกษำหรือติดตั้งดูแลระบบ

big data industry

เมื่อจำแนกตามประเภทเทคโนโลยี พบว่างานบริการมีมูลค่าสูงที่สุด คือ 6,462 ล้านบาทตามด้วย ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ มีมูลค่า 3,866 และ 1,511 ล้านบาทตามลำดับ ซึ่งสะท้อนถึงความต้องการพึ่งพาความรู้เฉพาะทางและทักษะชั้นสูงในการใช้งานเทคโนโลยีใหม่ ๆ ด้านบิ๊กดาต้าจากฝั่งผู้ให้บริการ

เมื่อจำแนกตามประเภทผู้ประกอบการ พบว่าเจ้าของผลิตภัณฑ์ที่มีทรัพย์สินทางปัญญาของตนเองมีมูลค่าสูงที่สุด คือ 6,449 ล้านบาท ตามด้วยผู้ให้บริการที่ปรึกษาหรือติดตั้งดูแลระบบ และผู้นำเข้าและจัดจำหน่าย มีมูลค่ำ 4,484 และ 906 ล้านบาทตามลำดับ

big data industry

นอกจากนี้ จากการศึกษายังพบด้วยว่า ปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมบิ๊กดาต้าในประเทศไทยในปัจจุบัน เกิดจากโครงการที่เกี่ยวข้องกับการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน ปริมาณข้อมูลและแหล่งข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงความต้องการใช้งานด้านการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ และการวิเคราะห์เชิงแนะนำที่ทวีความสำคัญยิ่งขึ้น

จากการศึกษาครั้งนี้ สำนักงานฯ ยังพบแนวโน้มสำคัญของการใช้งานบิ๊กดาต้าในประเทศไทยในช่วง 2-3 ปีจากนี้ว่า โครงการด้านบิ๊กดาต้าจะมีขนาดเล็กลง แต่จะมีหลายโครงการมากขึ้น และมีความถี่ในการจัดตั้งและดำเนินโครงการมากขึ้น โดยองค์กรในประเทศไทยจะมุ่งเน้นการลงทุนในเครื่องมือการวิเคราะห์ที่ชาญฉลาดมากขึ้น รวมถึงการพัฒนาระบบการทำงานแบบอัตโนมัติโดยอาศัยแมชชีนเลิร์นนิงและปัญญาประดิษฐ์

จากปัจจัยต่าง ๆ ข้างต้น จึงสามารถคาดการณ์ได้ว่าอุตสาหกรรมจะมีอัตราการเติบโตที่ 13.7% และ 16.4% ต่อปีในปี 2561 และ 2562 ตามลำดับ โดยหากพิจารณาในแง่ของการลงทุน พบว่าการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับบิ๊กดาต้าจะยังคงมีสัดส่วนมูลค่าสูงที่สุด

Avatar photo