Economics

สัญญาณฟื้นตัวเศรษฐกิจเริ่มแผ่ว ชี้รัฐต้องเร่งมาตรการกระตุ้น

มาตรการกระตุ้น รอบแรกเริ่มหมดฤทธิ์ สัญญาณฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยเริ่มแผ่วลง แนะรัฐบาลเร่งออกมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายต่อเนื่อง ก่อนเศรษฐกิจดิ่งเหว

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี  หรือ TMB Analytics ระบุว่าการบริโภคภาคเอกชนมีสัญญาณแผ่วลง จากที่มีทิศทางปรับดีขึ้นหลังคลายล็อกดาวน์ แนะรัฐบาลเร่งออก มาตรการกระตุ้น การใช้จ่ายต่อเนื่อง ก่อนเศรษฐกิจดิ่งเหว

ล่าสุดในเดือนส.ค. การใช้จ่ายสินค้าหมวดไม่คงทนและหมวดบริการแผ่วลงจากกำลังซื้อที่ยังคงอ่อนแอ มีเพียงการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนที่ยังคงเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ มีโอกาสที่แรงส่งของการฟื้นตัวจะอ่อนแรงลงไปอีก

มาตรการกระตุ้น

เครื่องชี้วัดการบริโภคเริ่มแผ่วลง หลังจากที่ปรับดีขึ้นต่อเนื่อง ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนปรับดีขึ้นจากจุดต่ำสุดในเดือน เม.ย. 2563 ซึ่งเป็นไปในทุกหมวดสินค้า โดยในหมวดสินค้าคงทน ยอดขายรถใหม่ปรับเพิ่มขึ้นจากยอดขายเดิมที่เคยลดเหลือเพียง 3 หมื่นคัน ในเดือนเมษายน มาอยู่ที่ 6.8 หมื่นคัน ในเดือนส.ค. และราคารถมือสองที่ขยับดีขึ้นจากเดือน เม.ย. 2563

มาตรการกระตุ้น

อย่างไรก็ดี ประเมินยอดขายรถใหม่ที่เพิ่มขึ้นจากจุดต่ำสุด ยังไม่เป็นตัวชี้ถึงดีมานด์ที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นความต้องการที่เลื่อนมาจากช่วงล็อกดาวน์ รวมทั้งได้ปัจจัยหนุน จากการจัดกิจกรรมมอเตอร์โชว์ที่ถูกเลื่อนจากต้นปี จึงถือเป็นเพียงปัจจัยกระตุ้นชั่วคราว และการเพิ่มขึ้นอาจไม่ต่อเนื่อง เนื่องจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และแรงกดดันจากหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง

สำหรับดัชนีการบริโภคหมวดสินค้าไม่คงทน สินค้ากึ่งคงทน และการใช้จ่ายในภาคบริการมีทิศทางปรับดีขึ้น เช่นเดียวกับในช่วงของมาตรการเยียวยาจ่ายเงิน 5,000 บาทต่อเดือน แต่เริ่มมีสัญญาณแผ่วลงในเดือนส.ค. ซึ่งเป็นช่วงที่มาตรการจ่ายเงินเยียวยาสิ้นสุดลง ประกอบกับปัจจัยพิเศษ วันหยุดยาวที่ดึงดูดการท่องที่ยวไปแล้วในเดือนก่อนหน้า

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยกดดันจากสภาพตลาดแรงงานที่ยังเปราะบาง สะท้อนจากจำนวนผู้ขอรับสิทธิตกงาน ณ เดือน ส.ค. ที่ยังคงเพิ่มขึ้น โดยอยู่ที่ 4.4 แสนคน และความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มการหารายได้ในอนาคตที่ยังอยู่ในระดับต่ำ

C171E23F 6EB0 4B3B 9E0F AA4BF2B10F04 E3842501 E844 411E B3E6 C05FFAE33F30

นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาข้อมูลธุรกรรมการชำระเงินจากหลากหลายช่องทาง ทั้งออฟไลน์ และออนไลน์ พบว่าทิศทางเริ่มแผ่วลง ในเดือน กรกฎาคม เช่นเดียวกัน สะท้อนจากมูลค่าการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต และบัตรเดบิต มูลค่าการใช้จ่ายผ่านมือถือ รวมทั้งการโอนเงินผ่านพร้อมเพย์ ที่ปรับดีขึ้นต่อเนื่องนับจากจุดต่ำสุด ในเดือนเม.ย. ก็เริ่มแผ่วลง ในช่วงต้นไตรมาสสามเช่นเดียวกัน

มาตรการกระตุ้น

ขณะเดียวกัน ข้อมูล Real time บ่งบอกกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้น หลังคลายล็อกดาวน์ ได้กลับมาทรงตัวตั้งแต่เดือนกรกฎาคม โดยดัชนี Google mobility ที่สะท้อนการเคลื่อนไหว ของกิจกรรมเศรษฐกิจในด้านต่างๆ มีแนวโน้มเข้าใกล้ช่วงปกติ ก่อนเกิดโควิดแต่เริ่มแผ่วลง ทั้งการเดินทางไปยังร้านค้าปลีก กิจกรรมการพักผ่อนหย่อนใจ ร้านขายสินค้าทั่วไป และร้านสะดวกซื้อ

สำหรับข้อมูล Apple mobility บ่งบอกว่ากิจกรรมเดินทาง หรือการขับขี่ส่วนใหญ่ กระจุกตัวในจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งมาจากผลของมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐ อาทิ เราไปเที่ยวกัน และคนไทยหันมาท่องเที่ยวในไทยหลังคลายล็อกดาวน์ โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดยาว

เมื่อเครื่องยนต์เศรษฐกิจในภาคต่างประเทศของไทย ส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างช้าๆ โดยเฉพาะการส่งออกที่ได้รับผลจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และภาคการท่องเที่ยวที่ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากการเกิดระบาดโควิดรอบสอง

ดังนั้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ ยังถือเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย จึงมองว่า มาตรการกระตุ้น จากภาครัฐ เพื่อเร่งให้เกิดการใช้จ่ายในประเทศจึงเป็นสิ่งจำเป็น ทำให้เศรษฐกิจไทยปรับดีขึ้นต่อเนื่อง

เมื่อพิจารณา มาตรการกระตุ้น การใช้จ่ายหลังคลายล็อกดาวน์ ได้แก่ มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว (เที่ยวปันสุข-เราไปเที่ยวกัน-กำลังใจ) ที่เชื่อมโยงไปกระตุ้นการใช้จ่ายด้วย

โดยมาตรการที่จะเปิดให้ลงทะเบียนใน เดือน ต.ค.นี้ คือ มาตรการ คนละครึ่ง โดยรัฐจะจ่ายให้ 50% ของยอดใช้จ่ายไม่เกิน 3,000 บาท เป็นจำนวน 10 ล้านคน ประเมินว่าจะมีส่วนช่วยพยุงกำลังซื้อของคนในประเทศ ทำให้สินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน ยังขยายตัวได้ อีกทั้งยังจะช่วยพยุงกิจการของผู้ประกอบการรายเล็ก

ทั้งนี้ จากข้อมูลผู้มีรายได้ในตลาดแรงงาน พบว่า มีกลุ่มที่รายได้ ที่ได้รับผลกระทบจากโควิดค่อนข้างจำกัด มีเป็นจำนวน 15.5 ล้านคน หรือ 40% ของจำนวนคนในตลาดแรงงาน หรือ 38.2 ล้านคน ซึ่งโดยรวมยังมีอำนาจซื้ออยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบด้วยข้าราชการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานบริษัท และธุรกิจเอกชน โดยไม่รวมกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว และภาคบริการที่เกี่ยวข้อง

ดังนั้น หากมีมาตรการเพิ่มเติม มาช่วยกระตุ้นคนในกลุ่มนี้ ให้ใช้จ่ายมากขึ้น คาดว่าจะช่วยให้การบริโภคฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ อาจเป็นในรูปแบบมาตรการที่นำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง มาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือ เป็นเงินสดคืนให้เป็นร้อยละของยอดใช้จ่าย หรือ Cash Back

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo