General

จัดระเบียบ ‘ปางช้าง’ 250 แห่งทั่วไทย มาตรฐาน ‘บังคับ’ สินค้าเกษตร

จัดระเบียบ ปางช้าง ทั่วไทย ดันเข้ามาตรฐานสินค้าเกษตร หวังยกระดับการเลี้ยง-ดูแลช้าง ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ พร้อมเพิ่มมาตรฐาน พืชสมุนไพรแห้ง ก้อนเชื้อเห็ด

นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ที่ประชุม คณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร ครั้งที่ 3/2563 ได้พิจารณาเห็นชอบ ร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร โดยตั้งเป้า จัดระเบียบ ปางช้าง  250 แห่ง ทั่วประเทศไทย โดยประกาศเป็นมาตรฐานบังคับใช้

จัดระเบียบ ปางช้าง

สำหรับ ร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติที่ดี สำหรับปางช้าง ที่ประชุมฯ ได้มีมติเห็นชอบ เป็นมาตรฐานบังคับ โดยจะบังคับใช้กับปางช้างทุกขนาด ระยะเวลาบังคับใช้ จะมีผลนับแต่วันประกาศใช้ ในราชกิจจานุเบกษา ต่อไป

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการปรับปรุง การปฏิบัติที่ดี ในการจัดการเลี้ยงช้าง ที่ถูกต้องและเหมาะสม ให้เป็นไปตาม หลักสวัสดิภาพสัตว์ รวมทั้งเป็นการยกระดับมาตรฐาน ของปางช้างไทย ทั่วประเทศ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

ขอบข่ายของมาตรฐานดังกล่าว จะกำหนดการปฏิบัติที่ดี สำหรับปางช้าง ครอบคลุม องค์ประกอบปางช้าง การจัดการปางช้าง บุคลากร สุขภาพช้าง สวัสดิภาพสัตว์ สิ่งแวดล้อม การจัดการด้านความปลอดภัย การบันทึกข้อมูล เพื่อให้ช้างมีสุขภาพที่ดี โดยคำนึงถึงสวัสดิภาพสัตว์ สิ่งแวดล้อม รวมถึงสุขภาพและความปลอดภัย และสวัสดิภาพของบุคลากร รวมถึงความปลอดภัย ของผู้มาใช้บริการ

อย่างไรก็ตาม มาตรฐานนี้ไม่ครอบคลุม ในประเด็นดังนี้ 1. การเลี้ยงช้างในครัวเรือน โดยไม่มีการประกอบกิจการเกี่ยวกับช้าง เพื่อการท่องเที่ยว หรือการแสดง 2. การเลี้ยงช้างไว้ใช้แรงงาน เช่นการชักลาก และ 3. ศูนย์อนุรักษ์ เพื่อการอนุรักษ์และบริบาลช้าง โดยเป็นกิจการ ที่ไม่แสวงหากำไร

ประภัตร โพธสุธน
ประภัตร โพธสุธน

การพิจารณาประกาศ ร่างมาตรฐานปางช้าง เนื่องจาก ประเทศไทย มีปางช้างจำนวนมาก ที่ทำธุรกิจบริการ เช่น การแสดงช้าง หรือกิจการท่องเที่ยว ที่เกี่ยวกับช้าง ซึ่งปางช้างส่วนใหญ่ ยังขาดความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องการปฏิบัติที่ดี ในการจัดการควบคุมดูแล  และเลี้ยงช้าง ที่ถูกต้อง ส่งผลให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพช้าง รวมทั้ง เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม

ดังนั้น เพื่อเป็นการปรับปรุงการปฏิบัติ ในการจัดการควบคุมดูแล และเลี้ยงช้าง ให้ถูกต้องเหมาะสม เป็นไปตาม หลักสวัสดิภาพสัตว์ ที่ประชุม จึงเห็นชอบให้ คณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร จัดทำมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติการที่ดี สำหรับปางช้าง เป็นมาตรฐานบังคับใช้ เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐาน ปางช้างไทย

ปางช้าง

ทั้งนี้ ปางช้างแต่ละขนาด มีความพร้อมที่แตกต่างกัน ในการเข้าสู่ระบบมาตรฐาน โดยจำนวนปางช้างในประเทศไทยมี 250 แห่ง แบ่งเป็น

  • ปางช้างขนาดเล็ก (ไม่เกิน 10 เชือก) จำนวน 200 ปาง
  • ปางช้างขนาดกลาง (11 – 30 เชือก) จำนวน 40 ปาง
  • ปางช้างขนาดใหญ่ (31 เชือกขึ้นไป) จำนวน 10 ปาง

นอกจากนี้ ยังได้เห็นชอบให้ ประกาศเป็นมาตรฐานทั่วไป 2 เรื่อง ได้แก่ 1. พืชสมุนไพรแห้ง จำนวน 5 เล่ม คือ เล่ม 1 หัว เหง้า และราก เล่ม 2 ใบ ส่วนเหนือดิน และทั้งต้น เล่ม 3 ดอก เล่ม 4 ผลและเมล็ด และเล่ม 5 เปลือกและเนื้อไม้ 2. การปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิตก้อนเชื้อเห็ด

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo