Business

เศรษฐกิจไทย ส.ค. เริ่มฟื้น ‘ดัชนีทุกตัวดีขึ้น’ หลังคลายล็อกดาวน์

เศรษฐกิจไทย ส.ค. ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ทั้งภาคการผลิต อุตสาหกรรม เกษตรกรรม ส่งออก การบริโภคภาคเอกชน ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ปรับตัวดี

นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษก สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทย ส.ค. 2563 ยังคงชะลอตัว แต่มีทิศทางปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะการผลิตภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การส่งออกสินค้า และการบริโภคภาคเอกชน

เศรษฐกิจไทย ส.ค.

นอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับ ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจต่าง ๆ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ภายหลังมาตรการผ่อนคลายการป้องกัน และยับยั้งการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยมีรายละเอียดดังนี้ง

  • ด้านการบริโภคภาคเอกชน

เครื่องชี้สัญญานการบริโภคภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า โดยการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ปรับตัวดีขึ้น โดยขยายตัว 4.3% จากเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาล และหดตัวในอัตราชะลอลง จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ติดลบ 3.8%

ทั้งนี้ สอดคล้องกับ การบริโภคในหมวดสินค้าคงทน ที่สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งที่ปรับตัวดีขึ้น โดยขยายตัว 14.8% จากเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาล และหดตัวในอัตราชะลอลง จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ติดลบ 35.5% เช่นเดียวกันกับปริมาณรถจักรยานยนต์ จดทะเบียนใหม่ หดตัวในอัตราชะลอลงที่ติดลบ 2.5% ต่อปี

แนวโน้มที่ดีขึ้น ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุน จากรายได้เกษตรกรที่แท้จริง ขยายตัวเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันที่ 9.2% ต่อปี และดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ปรับตัวดีขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันมาอยู่ที่ระดับ 51.0 หลังจากรัฐบาล ดำเนินมาตรการผ่อนคลายล็อกดาวน์ ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ สามารถกลับมาดำเนินการได้มากขึ้น ประกอบกับผลของมาตรการเยียวยาต่าง ๆ ในช่วงก่อนหน้า ช่วยให้มีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น

รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง 01

  • ด้านการลงทุนภาคเอกชน

การลงทุนภาคเอกชน ส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย จากเดือนก่อนหน้า โดยการลงทุนภาคเอกชน ในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร  สะท้อนจากปริมาณการนำเข้าสินค้าทุน และปริมาณการจำหน่าย รถยนต์เชิงพาณิชย์ ที่ปรับตัวดีขึ้น โดยขยายตัว 1.5% และ 13.1%  จากเดือนก่อนหน้า และหดตัวในอัตราที่ชะลอลง จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ติดลบ 11.5% และ 0.5% ตามลำดับ

ส่วนการลงทุน ในหมวดการก่อสร้าง ทรงตัวจากเดือนก่อน สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ ขยายตัว 2.7% ขณะที่การจัดเก็บภาษี การทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ กลับมาลดลงติดลบ 6.9% จากเดือนก่อนหน้า และลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ติดลบ 14.1%

  • เศรษฐกิจภาคการค้าระหว่างประเทศ

ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนจาก มูลค่าการส่งออกสินค้า ในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ หดตัวในอัตราที่ชะลอลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ติดลบ 7.9%

ทั้งนี้ เป็นผลจากการขยายตัวต่อเนื่องในกลุ่มสินค้าอาหาร, สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (Work from Home), สินค้าที่เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด และ สินค้าเก็งกำไร และลดความเสี่ยง จากความไม่แน่นอนของระบบเศรษฐกิจ เช่น ทองคำ เป็นต้น แต่ การส่งออกยานยนต์ อัญมณีและเครื่องมือ (ไม่รวมทองคำ) ยังคงชะลอตัว

เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกสินค้า โดยจำแนกเป็นรายตลาด คู่ค้าหลักของไทย พบว่า ตลาดคู่ค้าหลักของไทย เกือบทุกตลาด ปรับตัวดีขึ้น โดยการส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ 15.2% ต่อปี เช่นเดียวกับการส่งออกไปญี่ปุ่น และอาเซียน 9 ประเทศ หดตัวชะลอลง โดยยังคงติดลบ 16.6% และ -13.5% ต่อปีตามลำดับ

เศรษฐกิจไทย ส.ค.

ตัวเลขดังกล่าว สะท้อนถึงแนวโน้มการฟื้นตัว อย่างค่อยเป็นค่อยไป หลังจากประเทศคู่ค้า ได้มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ ที่ได้รับผลกระทบ จากการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างต่อเนื่อง

  • ดัชนีด้านอุปทาน

ดัชนีด้านอุปทาน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ปรับตัวดีขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันมาอยู่ที่ระดับ 84.0 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก มาตรการผ่อนคลายฯ ทำให้ภาคเอกชน สามารถกลับมาดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ

สำหรับภาคเกษตร ที่สะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ขยายตัว 1.2% ต่อปี ตามการเพิ่มขึ้นข องผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ อาทิ ไก่เนื้อ ไข่ไก่ เป็นต้น

ในขณะที่สถานการณ์ ของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 ที่มีการระบาดทั่วทุกภูมิภาคของโลก ส่งผลให้ ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทย ต่อเนื่องเป็นที่ 5 นับตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 แต่การท่องเที่ยวภายในประเทศ ปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยหดตัวในอัตราชะลอลง โดยลดลง 32.4% ต่อปี

เศรษฐกิจไทย ส.ค.

  • เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ

ยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ติดลบ 0.5% ต่อปี และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.3% ต่อปี ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2563 อยู่ที่ 47% ต่อ GDP ซึ่งยังอยู่ภายใต้กรอบ วินัยการเงินการคลังที่ตั้งไว้ ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561

ส่วนเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับ ความเสี่ยงจากความผันผวน ของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเท ศ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2563 อยู่ในระดับสูงที่ 254.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo