General

‘ศรีสุวรรณ’ ร้องดีเอสไอ เอาผิด รฟม. เปลี่ยนเกณฑ์ ‘รถไฟฟ้าสายสีส้ม’ ส่อฮั้วประมูล

“ศรีสุวรรณ” ร้อง ดีเอสไอ เอาผิด รฟม.-คณะกรรมการคัดเลือกฯ ปมเปลี่ยนเกณฑ์คะแนน “รถไฟฟ้าสายสีส้ม” 1.4 แสนล้าน ส่อแววฮั้วประมูล

นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคม องค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้เดินทางไปยัง กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ โดยนายศรีสุวรรณ ร้องดีเอสไอ เอาผิด คณะกรรมการคัดเลือกตาม ม. 36 แห่ง พรบ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)

ทั้งนี้ เนื่องจาก คณะกรรมการคัดเลือกฯ ของ รฟม. ได้มีมติเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2563 เห็นชอบเปลี่ยนแปลง เงื่อนไขเอกสารประกวดราคาใหม่ (ทีโออาร์) หลังจากที่มีการขายซองประกวดราคาไปแล้ว

รถไฟฟ้าสายสีส้ม ดีเอสไอ

สำหรับ มติดังกล่าว ส่อพิรุธหลายประการ ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลง ที่เป็นสาระสำคัญ และไม่เคยมีการดำเนินการลักษณะเช่นนี้ กับโครงการขนาดใหญ่ ที่เป็นการร่วมลงทุน ระหว่างรัฐและเอกชน มาก่อน

การคัดเลือก โดยการเปิดซองข้อเสนอทางเทคนิค ร่วมกับข้อเสนอทางการเงิน จะเป็นช่องทางที่ ส่อไปในทางไม่สุจริต ไม่เป็นธรรม หรือ อาจเอื้อประโยชน์ ต่อกลุ่มบริษัทใด บริษัทหนึ่ง เป็นการเฉพาะหรือไม่ เพราะจะเป็นการให้น้ำหนัก ในการใช้ดุลยพินิจ ของคณะกรรมการคัดเลือก ได้มากกว่าแบบเดิม ที่ใช้วิธีการเปิดทีละซอง ซึ่งจะทำให้ได้ ผู้ชนะการประมูล ไม่ใช่ ผู้ที่ให้ผลตอบแทนต่อรัฐสูงสุดก็ได้

นอกจากนี้ ยังมีข่าวเล็ดลอดออกมา ในลักษณะมีการวิ่งเต้น ให้มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข เพื่อกีดกัน เอกชนบางราย ซึ่งอาจเข้าข่าย การฮั้วประมูลได้

ขณะที่ การเปลี่ยนแปลงทีโออาร์ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ใหม่ หลังจากที่มีการขายซองประกวดราคา ไปแล้วนั้น ถือได้ว่าเป็นการขัดต่อ มติของคณะรัฐมนตรี เมื่อ วันที่ 28 มกราคม 2563 และยังขัดต่อ การรักษาวินัยการเงินการคลัง ของรัฐ ตาม ม.6(3) และ ม.32 ของ พรบ.ร่วมทุนฯ 2562

รถไฟฟ้าสายสีส้ม DSI

ประกอบกับข้อ 8(4) ของประกาศ คณะกรรมการนโยบายร่วมทุนฯ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการคัดเลือกเอกชน 2563 ที่กำหนดไว้ชัดเจนว่า การคัดเลือก ตั้งประเมินข้อเสนอ ของผู้ยื่นข้อเสนอ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ในประกาศเชิญชวนฯ เท่านั้น เพราะข้อ 9 ของประกาศดังกล่าว กำหนดว่า การพิจารณา จะพิจารณาทีละซองข้อเสนอ เป็นลำดับไป

 

ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า ไม่ได้มีการกำหนดให้ นำคะแนนของ ซองข้อเสนอด้านเทคนิค มาร่วมพิจารณา กับคะแนนของซองข้อเสนอด้านการลงทุน และ ผลตอบแทน เพื่อหาผู้ชนะการประมูลแต่อย่างใด

ขณะเดียวกัน ยังเข้าข่ายผิดต่อ ม.11 และ ม.12 แห่ง พรบ.ว่าด้วยความผิด เกี่ยวกับการเสนอราคา ต่อหน่วยงานของรัฐ 2542 อีกด้วย

นายศรีสุวรรณกล่าวว่า การกระทำของคณะกรรมการคัดเลือกฯ ที่กล้าเปลี่ยนแปลง ทีโออาร์ หลังจากมีการ ขายซองประกวดราคา ไปแล้วนั้น น่าจะเป็นการใช้อำนาจ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อาจเข้าข่ายความผิด หลายประการ ที่ส่อไปในทางที่ อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรง ต่อระบบเศรษฐกิจ และการคลังของประเทศ

สมาคมฯ จึงจำต้องนำความมาร้องต่อ กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ เพื่อสอบสวนเอาผิด คณะกรรมการคัดเลือกฯ ที่กล้าเปลี่ยน ทีโออาร์ รถไฟฟ้าสายสีส้ม รวมทั้งผู้ว่าการฯ รฟม.ด้วย

รถไฟฟ้าสายสีส้ม

กรณีดังกล่าว สืบเนื่องจาก รฟม. ได้ประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการประมูลงานก่อสร้าง รถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี และงานบริหารการเดินรถตลอดเส้นทาง ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี มูลค่า 1.4 แสนล้านบาท เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 โดยมีกำหนดยื่นซองเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุนในวันที่ 23 กันยายน 2563

ต่อมาบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD ได้ส่งหนังสือร้องเรียนถึงสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ว่าควรปรับเกณฑ์การคัดเลือกผู้ชนะการประมูล โดยไม่อิงแต่ผลประโยชน์ทางการเงินเท่านั้น แต่ควรพิจารณาด้านอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น เทคนิค เป็นต้น

คณะกรรมการคัดเลือกฯ ในการประชุมครั้งที่ 13/2563 เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2563 จึงได้มีมติเห็นชอบข้อชี้แจงต่อข้อสอบถามของผู้ซื้อเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (RFP Clarification) และเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติม (RFP Addendum) รวมถึงเห็นชอบการปรับปรุงวิธีการประเมินข้อเสนอ

จากรูปแบบเดิมที่การประเมินข้อเสนอจะพิจารณาซองเทคนิค และซองการลงทุนและผลตอบแทน แยกจากกัน โดยให้พิจารณาซองการลงทุนและผลตอบแทนเฉพาะผู้ยื่นข้อเสนอรายที่ผ่านการประเมินซองเทคนิคเท่านั้น เป็นรูปแบบการพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคควบคู่กับด้านราคา พร้อมเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาในการยื่นข้อเสนอของเอกชนออกไป 45 วัน เป็นวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563

อย่างไรก็ตาม บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ผู้บริหารรถไฟฟ้า BTS ไม่เห็นด้วยกับประเด็นดังกล่าว จึงได้ร้องเรียนกับหลายหน่วยงาน รวมถึงยื่นเรื่องขอคุ้มครองจากศาลปกครองกลาง

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo