Lifestyle

กินจัดหนัก ซัดไม่ยั้ง ระวัง! ฟู้ดโคม่า ไม่ถึงตาย แต่ทรมาน

ฟู้ดโคม่า ระวัง กินจัดหนัก ซัดไม่ยั้ง จนเกิดอาการกินอิ่มเกินไป เหมือนท้องจะแตก ลุกก็ไม่ไหว หายใจก็ติดขัด แถมยังง่วงสุด ๆ ไม่อยากเป็นแบบนี้แนะนำให้เลี่ยงด่วน

พอเข้าใจว่าเวลาได้กินอาหารอร่อย ๆ เป็นใครก็คงหยุดปากไม่อยู่ เอะอะก็กินอีก เติมอีก มารู้ตัวอีกทีก็จุกจนลุกไม่ขึ้น พ่วงด้วยความรู้สึกเหมือนอาหารที่กินเข้าไปพุ่งขึ้นมาจ่อที่ลำค­­อ เกิดอาการหายใจไม่ค่อยออกแทรกซ้อนอีกอาการ นี่คือ อาการของ ฟู้ดโคม่า (Food coma)

ฟู้ดโคม่า

กระทรวงสาธารณสุข เผยแพร่ บทความสุขภาพ เกี่ยวกับ ฟู้ดโคม่า ไว้ว่า อาการกินอิ่มเกินพิกัดอย่างนี้ ไม่น่าจะเป็นเรื่องปกติ ที่ควรปล่­­อยผ่าน เพราะอาจมีเอฟเฟกต์ด้านสุขภาพ ตามมาอีกมาก ซึ่งหากอยากหลุดพ้นจากความทรมาน เพราะอาการ ฟู้ดโคม่า มาเริ่มจากทำความรู้จัก อาการของฟู้ดโคม่า กันก่อน

อาการฟู้ดโคม่า

หนังท้องตึง หนังตาหย่อน อาการเบสิกหลังอิ่มมื้ออาหารเช่นนี้ เป็นเรื่องคุ้นชิน แต่สำหรับฟู้ดโคม่า การกินอิ่มเกินไป ไม่ได้แค่สร้างความอึดอ­­ัดเท่านั้น แต่มอาการจุกจนลุกไม่ไหว หายใจไม่สะดวกมาด้วย หรือในบางเคส ไม่ได้กินอิ่มมาก แต่กลับรู้สึกง่วงผิดปกติ ลักษณะอาการอย่างที่ว่ามานี้ As Scientific Americanอธิบายว่า อาจเป็นผลกระทบ จากการที่ร่างกายได้รับซูโครสมากเกินไป

อิ่มจัดแล้วทำไมอาการฟู้ดโคม่าจึงถามหา สาเหตุเพราะ

1. ระบบประสาทแปรปรวน

เพื่อส่งต่ออาหาร ที่กินเข้าไปลงสู่ กระเพาะและลำไส้เล็ก ร่างกายจะปรับตัว ด้วยการเพิ่มการทำงาน ของระบบประสาท พาราซิมพาเท­­ติก ในขณะที่ลดการทำงานของ ระบบประสาทซิมพาเทติก การเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลันนี้ ส่งผลให้ร่างกาย ปรับเข้าสู่โหม­­ดพักผ่อนโดยอัตโนมัติ ดังนั้นหากกินอาหารเข้าไปมาก แน่นอนว่าจะทำให้ง่วงงุนนานกว่าปกติ เผลอ ๆ อาจหลับไปไม่รู้ตัว

hamburger 2683042 1280

2. ดัชนีน้ำตาลปั่นป่วน

เมื่อร่างกายรับประทานอาหาร ที่มีส่วนผสมของน้ำตาลมาก น้ำตาลเหล่านี้ จะแทรกซึมเข้าสู่กระแสเลือด เปลี่ยนน้ำตาลที่กินให้เป็นกลูโคส เพื่อสะสมเอาไว้ เผื่อร่างกายจ­­ะเรียกใช้เป็นพลังงาน

ทว่าเมื่อ ระดับกลูโคสในเลือด มีอยู่สูงเกินไป ร่างกายจะส่งฮอร์โมนอินซูลิน ออกมาเก็บกวาดส่วนเกินของกลูโคส ทิ้­­งไปโดยอัตโนมัติ เท่ากับว่าฮอร์โมนอินซูลิน ณ ขณะนั้นจะสูงเกินปกติ ส่งผลให้สมองหลั่งเซโรโทนิน และเมลาโทนินออกมา โดยทั้งสองฮอร์โมนสื่อประสาทเหล่านี้ ล้วนมีคุณสมบัติกล่อมให้ร่­­างกายรู้สึกง่วงงุน

3. ทริปโตเฟนออกอาละวาด

เมื่อร่างกายมีกลูโคสสูง แถมฮอร์โมนอินซูลิน ยังหลั่งออกมามากกว่าปกติ ร่างกายจะเพิ่มความเข้มข้น ของกรดอะมิโนทริปโตเฟน เพื่อให้สามารถ­­ดูดซึมกรดอะมิโนชนิดอื่น ๆ ได้มากขึ้น

ทริปโตเฟนตัวนี้ เมื่อถูกดูดซึมเข้าสู่สมอง จะทำให้รู้สึกง่ว­­งงุนได้ อีกทั้งผลการวิจัย ยังเสริมด้วยว่า หากรับประทานอาหาร ประเภทคาร์โบไฮเดรตสูง จะยิ่งกระตุ้นกลูโคสในร่างกายได้ง่าย และเยอะขึ้นอีกหลายเท่า ดังนั้น หากไม่อยากรู้สึกง่วงหลังท้องอิ่ม แนะนำให้กินคาร์โบไฮเดรต เช่น แป้งและข้าวให้น้อย ๆ หน่อย

binge eating disorder

4. ฤทธิ์ของโคลีซิสโตไคนิน

ระหว่างที่กระบวนการย่อยอาหารเกิดขึ้น ร่างกายจำเป็นต้องหลั่ง ฮอร์โมนโคลีซิสโตไคนิน ออกมาด้วย เพราะฮอร์โมนตัวนี้ จะทำให้เราเข้าถึงความรู้สึกอิ่ม และยังมีส่วนกระตุ้นสมอง ให้รู้สึกง่วงได้อีกต่างหาก ดังนั้น หลังจากที่กินอิ่มไปสักพัก และอยู่ในช่วงย่อยอาหาร อาการง่วงซึม จึงเข้ามาเยือนเป็นประจำ

วิธีป้องกัน อาการฟู้ดโคม่า

  • กินอาหารแต่พอดี เพื่อระบบประสาท จะได้ทำงานเป็นปกติ
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร ที่มีดัชนีน้ำตาลสูง เช่น ข้าวขัดสี ขนมปังขัดสี เป็นต้น
  • เคี้ยวช้า ๆ และพยายามลดสปีดการรับประทานอาหาร เพื่อให้ร่างกายได้รับรู้รสอาหารอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งจะช่วยให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้น ร่างกายก็จะหลั่งฮอร์โมนโคลีซิสโตไคนิน ออกมาในระดับที่พ­­อดี กับความต้องการใช้งานในกระบวนการย่อย
  • ผลการวิจัยในวารสาร American Journal of Clinical Nutrition เผยว่า ชินนาม่อนมีส่วนช่วยให้ร่างกายรู้สึกอิ่มนาน ซึ่งก็เท่ากับว่า จะไม่รู้สึกหิวบ่อย ๆ ระดับน้ำตาลในเลือด ก็อยู่ในเกณฑ์ปกติสม่ำเสมอ แม้ในช่วงที่กินอาหารอิ่มแล้ว ฉะนั้นอาจลองโรยผงชินนาม่อนลงในจานอาหารดู

แม้ อาการฟู้ดโคม่า จะไม่ส่งผลกระทบ ที่ร้ายแรงต่อสุขภาพ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า สร้างความทรมาน ให้ร่างกายไม่น้อย แทนที่จะได้กินอาหารให้อร่อย และรู้สึกฟิน กลับต้องมาอึดอัดท้อง และหายใจไม่ออก แถมง่วงอีกต่างหาก ฉะนั้น อย่าเห็นแก่ของอร่อย จนลืมนึกถึงร่างกายตัวเองด้วย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo