Business

‘ไก่ไข่ ไร้กรง’ ตอบโจทย์เทรนด์สุขภาพ ลุ้นออกมาตรฐานรับรอง เพิ่มโอกาส

ไก่ไข่ ไร้กรง เทรนด์มาแรง ตอบรับกระแสรักสุขภาพ คาดหลังมีมาตรฐานรับรอง ดันตลาดขยายฐาน จากระดับพรีเมียม ค้าปลีก เชนร้านอาหาร สู่ลูกค้าปลายน้ำกลุ่มใหม่มากขึ้น

​การบริโภคที่คำนึงถึง หลักสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) กำลังถูกพูดถึงอย่างมาก ในแวดวงธุรกิจอาหาร รวมถึง ทั้งนี้ ไก่ไข่ ไร้กรง ที่ให้ไข่ไก่ จากแม่ไก่ที่เลี้ยงแบบไม่ขังกรง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “Cage Free Egg

ไก่ไข่ ไร้กรง

“Cage Free Egg” คือ หนึ่งผลิตภัณฑ์ ที่กรมปศุสัตว์ของไทย เตรียมกำหนดมาตรฐานรับรอง ต่อยอดจากมาตรฐานการผลิตอื่น ๆ เพื่อสร้างทางเลือก ด้านคุณภาพสินค้า ให้กับผู้บริโภค

ในขณะเดียวกัน ก็เป็นแนวทางยกระดับ การผลิตสินค้ากลุ่มปศุสัตว์ของไทย ให้เท่าทันกับ กระแสการบริโภค ที่ตระหนักถึงหลักสวัสดิภาพสัตว์มากขึ้น โดยปัจจุบัน อยู่ในขั้นตอนของการ ร่างข้อกำหนดมาตรฐานฟาร์มไก่ไข่เลี้ยงปล่อยอิสระ ในโรงเรือนระบบปิด (Cage Free)

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ไข่ไก่กลุ่ม Cage Free Egg เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมมากขึ้น จากกลุ่มผู้บริโภคที่คำนึงถึงสุขภาพ และแหล่งที่มา ของสินค้าที่ปลอดภัย และรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งพร้อมจะเต็มใจจ่ายสูง

หากมองในภาพกว้างระดับโลก จะพบว่า นโยบายของหลายประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น สหภาพยุโรป และสหรัฐฯ ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศ ที่มีอัตราการบริโภคไข่ไก่ต่อคนสูง มีกฎหมายระบุ ห้ามเลี้ยงไก่ไข่แบบกรงตับ เนื่องจากคำนึงถึง หลักสวัสดิภาพสัตว์ เป็นปัจจัยหลัก

ปัจจัยดังกล่าว มีผลต่อระดับคุณภาพของไข่ไก่ และความปลอดภัย จากการปนเปื้อน จากระบบการเลี้ยง ที่สูงกว่าการเลี้ยงไก่ไข่ประเภทอื่น ๆ บ่งชี้ให้เห็นว่า ไข่ไก่ที่ได้จากระบบการเลี้ยงแบบกรงตับ น่าจะมีแนวโน้มลดลง

ไก่ไข่ ไร้กรง

นอกจากนี้ ยังผลักดันให้ความต้องการไข่ไก่ ที่มาจากระบบการเลี้ยงอื่นๆ ที่คำนึงถึงหลักสวัสดิภาพสัตว์ ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มไข่ไก่อินทรีย์, กลุ่ม Free Range Egg รวมถึง Cage Free Egg มีโอกาสที่จะเติบโตเพิ่มขึ้น โดยมีแรงผลักดันจาก ฝั่งผู้บริโภค เป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตของตลาด

ทั้งนี้ สะท้อนได้จาก มูลค่าตลาดของไข่ไก่ Cage Free Egg ของโลก ที่ถูกประเมินว่า ในปี 2562 จะมีมูลค่าตลาด 4.98 ล้านดอลลาร์ และสามารถเติบโตได้เฉลี่ยร้อยละ 4.75 ต่อปีในช่วงปี 2563-2568

แม้ว่า Cage Free Egg ในไทย จะเป็นสินค้าที่ออกสู่ตลาดมาระยะหนึ่งแล้ว โดยเป็นสินค้าทางเลือก ในกลุ่มไข่พรีเมียม (High end) เจาะกลุ่มเป้าหมาย ตลาดผู้บริโภคระดับบนในประเทศ โดยมีผู้ผลิตรายสำคัญ คือ ผู้ประกอบการไข่ไก่ครบวงจร

แต่อย่างไรก็ดี ยังไม่มีมาตรฐานรับรองการผลิตในประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ในขณะที่มาตรฐานการรับรอง Cage Free Egg ในต่างประเทศ ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ส่วนใหญ่มักจะมีข้อกำหนดที่ชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางในการผลิต เช่น ข้อกำหนดความหนาแน่น ของจำนวนไก่ต่อพื้นที่ อาทิ American Humane Association (พื้นที่ 1.25 ตร.ฟ./ไก่ 1ตัว) United Egg Producers Certified (พื้นที่ 1.00 ตร.ฟ./ไก่ 1ตัว) เป็นต้น

 

ดังนั้น หากมาตรฐาน รับรองมาตรฐานฟาร์มไก่ไข่แบบไม่ใช้กรง (Cage Free) ดังกล่าว ถูกประกาศใช้อย่างเป็นทางการ นอกเหนือจาก จะส่งผลเชิงบวกต่อผู้บริโภคแล้ว ในมุมมองทางธุรกิจ น่าจะส่งผลเชิงบวก ต่อผู้ประกอบการ ที่ผลิตไข่ไก่โดยระบบนี้ ซึ่งรวมถึงกลุ่มเกษตรกรสมัยใหม่

ไก่ไข่ ไร้กรง

นั่นเพราะ การมีมาตรฐานรับรองที่ชัดเจน จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือ ให้กับผลิตภัณฑ์ได้ ทำให้คาดว่า ผู้ประกอบการในธุรกิจไข่ไก่ ที่มีกลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้บริโภคระดับบน มีแนวโน้มจะเพิ่มกำลังการผลิต ไข่ไก่ประเภทนี้ มากขึ้น แม้ว่าจะมีต้นทุนการผลิต ที่สูงกว่าไข่ไก่ในระบบโรงเรือนปิดทั่วไป แต่ก็ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเช่นกัน

ขณะเดียวกัน ยังเป็นอีกหนึ่งแนวทาง ที่ช่วยจูงใจให้ผู้ประกอบการ ในธุรกิจไข่ไก่ พยายามยกระดับ การพัฒนาระบบการเลี้ยงไก่ไข่ จากระบบกรงตับ ไปสู่ระบบที่คำนึงถึงหลักสวัสดิภาพสัตว์ได้ง่ายขึ้น เนื่องจากการปรับระบบการเลี้ยง ไปสู่ระบบการเลี้ยงแบบไม่ขังกรง (Cage Free) หลัก ๆ จะได้แก่ การปรับความหนาแน่นของไก่ ภายในโรงเรือน การห้ามใช้ยาปฏิชีวนะ

ส่วนการปรับไปสู่ระบบการเลี้ยงอื่น ๆ อาทิ การเลี้ยงแบบอินทรีย์ หรือ ปล่อยอิสระ Free Range Egg อาจจะมีเงื่อนไขเพิ่มเติมอีก เช่น เรื่องอาหาร การปรับพื้นที่นอกโรงเรือน เป็นต้น ซึ่งเป็นต้นทุนที่สูงกว่า อนึ่ง หากประเมินจากไก่ไข่ทั้งระบบ สัดส่วนไข่ไก่จากระบบการเลี้ยงแบบ ที่ไม่ใช่กรงตับ ในปัจจุบัน น่าจะอยู่ที่ราวร้อยละ 10 แต่น่าจะเพิ่มสัดส่วนขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง

หากมองไปข้างหน้า ความต้องการ Cage Free Egg น่าจะขยายตัว จากเดิมที่จำกัดอยู่เพียง กลุ่มธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจอาหารเครือข่าย (Food Chain Restaurant) ไปสู่ กลุ่มลูกค้าปลายน้ำกลุ่มใหม่ ที่จะให้การตอบรับสินค้าประเภทนี้มากขึ้น อาทิ ธุรกิจอาหารพร้อมทาน/อาหารสำเร็จรูป-แปรรูป ร้านอาหารระดับพรีเมียม โรงพยาบาลและโรงแรม

ทั้งนี้เนื่องจาก เป็นกลุ่มธุรกิจ ที่มุ่งให้ความสำคัญกับ นโยบายจัดหาจัดซื้อสินค้า อย่างมีความรับผิดชอบ เพราะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างภาพลักษณ์เชิงบวก ในสายตาผู้บริโภค

พร้อมกันนี้ ยังเป็นการตอบสนองผู้บริโภค ที่ให้ความสำคัญกับสินค้าสุขภาพ ที่มีคุณภาพสูง เช่น ผู้รักสุขภาพ ผู้ออกกำลังกาย เด็ก-ผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ป่วย รวมถึงนักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นลูกค้าที่มีศักยภาพของธุรกิจ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo