Politics

คนไทยแขวนพระ 70% ‘หลวงปู่ทวด’อันดับ 1

“พระเครื่อง” กับคนไทยที่นับถือพุทธศาสนาเป็นของคู่กันมานาน ซึ่งเป็นทั้งการเคารพบูชา กราบไหว้ เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจ ปัจจุบันเป็นยุคไทยแลนด์ 4.0 พระเครื่องก็ได้มีการพัฒนาออกมาในลักษณะพุทธพาณิชย์ และกลายเป็นธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยข้อมูลเกี่ยวกับพระเครื่องเป็นประเด็นที่ควรศึกษา เพราะมีประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ทั้งด้านความศรัทธาและด้านธุรกิจ

“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของชาวพุทธที่มีต่อพระเครื่องทั่วประเทศ จำนวน 1,126 คน ระหว่างวันที่ 11-15 กันยายน 2561 ดังนี้

คนไทยคิดอย่างไร กับการห้อย/แขวนพระเครื่อง ของคนไทย
1. เคารพบูชา เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ช่วยปกป้องคุ้มครอง 56.86%  ชาย  51.62%  หญิง 62.09%
2. เป็นความเชื่อความศรัทธาของแต่ละบุคคล เป็นสิทธิส่วนบุคคล 25.01%  ชาย 27.27%  หญิง 22.75%
3 เป็นไปตามแนวทางวิถีของชาวพุทธ เป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมารุ่นสู่รุ่น 14.13%  ชาย 16.88%  หญิง 11.37%
อื่นๆ สวมใส่เป็นเครื่องประดับ เพื่อความสวยงาม ควรห้อย/แขวนอย่างเหมาะสม ไม่รุ่มร่าม 4.00%  ชาย 4.23%  หญิง 3.79%

คนไทยห้อยและแขวนพระมากน้อยเพียงใด?
ห้อย/แขวน  70.30%  ชาย 79.53%  หญิง 61.06%  เพราะ มีความศรัทธา เลื่อมใส มีแล้วรู้สึกอุ่นใจ ปลอดภัย ได้มาจากพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ เป็นสิริมงคลกับตัวเอง ฯลฯ
ไม่ห้อย/ไม่แขวน 29.70%  ชาย 20.47%  หญิง 38.94% เพราะ กลัวลืม ทำหล่นหาย ถูกขโมย ไม่มีสร้อยที่เหมาะสม เก็บไว้บูชาที่บ้าน เป็นพระที่มีราคา แพ้สร้อย ฯลฯ

5 อันดับพระเครื่องที่คนไทยห้อย/แขวน
1. หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ 47.79%  ชาย 43.97%  หญิง 51.61%
2. พระสมเด็จโต 21.90%   ชาย 27.66%  หญิง 16.13%
3. พระพุทธโสธร/หลวงพ่อโสธร 12.87%  ชาย 6.38% หญิง 19.35%
4. พระปิดตาหลวงปู่โต๊ะ 9.44%  ชาย 9.22%  หญิง 9.68%
5. หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน 8.00%  ชาย 12.77% หญิง 3.23%

พระเครื่องที่คนไทยห้อย/แขวน ได้มาจากที่ใด
1. เช่ามา 41.13%  ชาย 48.93%  หญิง 33.33%
2. พ่อแม่มอบให้ 32.15%  ชาย 26.30% หญิง 38.00%
3. ผู้ใหญ่/เจ้านายให้มา 7.73% ชาย 6.12% หญิง 9.33%
4. ญาติพี่น้องให้ 6.96%  ชาย 4.59% หญิง 9.33%
5. ปู่ย่า/ตายายมอบให้ 6.51%  ชาย 11.01%  หญิง 2.00%
อื่นๆ เพื่อนให้ แฟนให้ พระ/ที่วัดแจก เป็นต้น 5.52%  ชาย 3.05%  หญิง 8.01%

คนไทยมีความคิดเห็นต่อตลาดพระของไทยขณะนี้อย่างไรบ้าง

1. ตลาดใหญ่ เติบโตอย่างรวดเร็ว ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ 42.84% ชาย 44.13% หญิง 41.55%
2. เป็นการทำธุรกิจมากขึ้น มีการปั่นราคา สร้างรายได้ 20.02%  ชาย 15.38%  หญิง 24.65%
3. เศรษฐกิจไม่ดี ทำให้ตลาดพระซบเซา 13.63%  ชาย 14.57% หญิง 12.68%
4. ยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานราคาเช่าบูชา มีการปลอมพระ มีมิจฉาชีพแฝงเข้ามา 12.26% ชาย 15.38% หญิง 9.15%
5. เป็นตลาดเฉพาะกลุ่ม เฉพาะผู้ที่สนใจ เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน 11.25%  ชาย 10.54%  หญิง 11.97%

สวนดุสิตโพล พระเครื่อง

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight