Politics

ชี้เป้า เอาผิดม็อบ 3 กระทง ระดมตำรวจ 40 นาย ‘บันทึกภาพ-เสียง’ หลักฐานพร้อม

เอาผิดม็อบ 3 กระทง ตำรวจลั่น ชุมนุมโดยไม่ได้รับอนุญาต รุกล้ำ ปักหมุด สนามหลวงที่ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เผยหลักฐานพร้อม ทั้งภาพเสียง ตลอดการชุมนุม

พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย รอง ผบช.น. และ พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (รองโฆษก ตร.) ร่วมกันแถลง หลังกลุ่มผู้ชุมนุมยุติการชุมนุม โดยระบุว่า สามารถ เอาผิดม็อบ 3 กระทง โดยเฉพาะการที่ สนามหลวง ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน

เอาผิดม็อบ 3 กระทง

ปัจจุบัน สนามหลวง อยู่ภายใต้การดูแลของ 2 หน่วยงาน คือ กรุงเทพมหานคร ที่ได้รับมอบหมาย ให้ดูแลพื้นที่สนามหลวงทั้งหมด และ กระทรวงศึกษาธิการ ที่ดูแลตาม พ.ร.บ.โบราณสถาน

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา กลุ่มผู้ชุมนุม ได้ออกจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เข้ามายังสนามหลวง ที่ กรุงเทพมหานคร เปิดให้ประชาชน ใช้ในการทำกิจกรรม ตามที่กำหนด ซึ่งผู้ชุมนุมมีการฝ่าฝืนกฎหมาย

ส่วนการดำเนินการ พักแรมค้างคืน ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ กรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้ดูแล จะต้องพิจารณาว่า การค้างคืนนี้ เป็นการกระทำผิดกฎหมายหรือไม่อย่างไร

สำหรับกรณีการปักหมุด บนพื้นซีเมนต์ ของท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร ต้องประสานกับ กระทรวงศึกษาธิการ ว่าการกระทำดังกล่าว เข้าองค์ประกอบความผิด แค่ไหน อย่างไร แต่เท่าที่ดูด้วยข้อเท็จจริงที่ปรากฏ น่าจะมีความผิดตามกฎหมาย

ม็อบสนามหลวง

“ส่วนจะต้องดำเนินการเอาออกหรือไม่ ถ้าไม่มีความจำเป็น ในสนามหลวง กทม.ก็ต้องมีการพิจารณา เพื่อนำออกไป”

โดยสรุปแล้ว สรุปการกระทำผิดได้ดังนี้

การกระทำผิดส่วนที่ 1 ตั้งแต่ออกจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้าสู่สนามหลวง ถ้าสนามหลวงเปิดให้ประชาชนเข้าใช้บริการ ถือว่าเป็นพื้นที่สาธารณะให้ประชาชนใช้ แต่การชุมนุม โดยไม่แจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทราบ ถือว่าเป็นการกระทำ ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

การกระทำผิดส่วนที่ 2 เมื่อเข้าไปในท้องสนามหลวงแล้ว อยู่เกินเวลาที่กำหนด

การกระทำผิดส่วนที่ 3 คือ การปักหมุด ซึ่งถือว่าเป็นส่วนเกิน ไม่ใช่สิ่งที่พึงมีในท้อง สนามหลวง ทางกรุงเทพมหานคร ต้องพิจารณาต่อไป

EiUQYb0U0AA

พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวว่า ตั้งแต่เริ่มการชุมนุม มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ พนักงานสอบสวนกว่า 40 นาย เฝ้าดู รวมทั้งบันทึกภาพ บันทึกเสียง เพื่อพิจารณาว่า การปราศรัย หรือการให้สัมภาษณ์ เข้าข่ายความผิดหรือไม่อย่างไร ถ้าเข้าข่ายความผิดก็จะดำเนินคดี

ด้าน พ.ต.อ.กฤษณะ กล่าวว่า พล.ต.ท.ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) ที่เป็นผู้รับหนังสือจากกลุ่มผู้ชุมนุม ไปในฐานะผู้บัญชาการเหตุการณ์ ไม่ได้เป็นตัวแทน ของส่วนสำนักองคมนตรี

เมื่อรับหนังสือมาแล้ว จะดำเนินการตามขั้นตอน ตามที่ผู้ยื่นหนังสือ มีความประสงค์ ซึ่งเป็นขั้นตอนตามธุรการให้เร็วที่สุด สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อช่วงเช้า เป็นสิ่งที่ฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ อยากจะให้เกิดขึ้น คือ การเจรจาต่อรอง ไม่มีการเคลื่อนไหว หรือ กระทำความผิดเพิ่มเติม

สำหรับกรณีที่ผู้ชุมนุม นัดชุมนุมกันวันที่ 23-24 กันยายนนี้ ที่รัฐสภา เกียกกาย เจ้าหน้าที่จะได้ติดตามประเมินสถานการณ์ เพื่อวางกำลังให้เกิดความเหมาะสม

“แม้เจ้าหน้าที่จะใช้ แผนการชุมนุม 63 แต่ภาพที่เกิดขึ้น เมื่อช่วงเช้า ถือว่าเป็นความสำเร็จ ของการเจรจาระหว่างผู้ชุมนุม กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เป็นสิ่งที่หลายฝ่ายอยากให้เกิดขึ้น”พ.ต.อ.กฤษณะ กล่าว

ในส่วนของแกนนำ ที่เข้าร่วมในการชุมนุมครั้งนี้ ถูกออกหมายจับมาแล้ว หลายคดี ถ้าพบมีการกระทำความผิดซ้ำหรือ ผิดเงื่อนไข การประกันตัว ก็จะดำเนินการ ตามขั้นตอนต่อไป ส่วนความผิดที่เกิดขึ้นใหม่ หลังจากการชุมนุมในครั้งนี้ ก็ว่ากันไปตามพยานหลักฐาน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo