Politics

‘อัษฎางค์’ พาย้อนรอย 19 ก.ย. รัฐประหาร ทักษิณ ’14 ปีที่ไทยไม่สงบสุขอึกเลย’

อัษฎางค์ ยมนาค นักประวัติศาสตร์ชื่อดัง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “อัษฎางค์ ยมนาค” พาย้อนรอย 19 กันยายน เหตุการณ์ รัฐประหาร ทักษิณ ชินวัตร โดยระบุว่า

19 กันยายน เมื่อ 14 ปีที่แล้ว คืนวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 คมช. ซึ่งมี พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะ รัฐประหาร ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งนับเป็นรัฐประหารในรอบ 15 ปี รัฐประหารครั้งนี้ เกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในเดือนต่อมา

รัฐประหาร ทักษิณ

วันที่ 19 กันยายน เป็นวันที่ 262 ของปี (วันที่ 263 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 103 วันในปีนั้น

โดยเช้าวันที่ 19 กันยายน มีคำสั่งจาก ดร. ทักษิณ ชินวัตร เรียกผู้นำทุกเหล่าทัพ เข้าประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล แต่ไม่มีผู้นำเหล่าทัพคนใดเข้าร่วม ยกเว้น พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

ทำให้ช่วงบ่าย มีกระแสข่าวลือรัฐประหาร แพร่สะพัดไปทั่วทำเนียบรัฐบาล และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีข่าวลือว่า รัฐมนตรี และนักการเมืองร่วมรัฐบาลหลายคน หลบหนีออกนอกประเทศแล้ว

ช่วงพลบค่ำ มีข่าวว่า กำลังทหารหน่วยรบพิเศษ จากจังหวัดลพบุรี เคลื่อนกำลังเข้ากรุงเทพมหานคร

เวลา 22.15 น. วันที่ 19 กันยายน ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี ออกแถลงการณ์ สถานการณ์ฉุกเฉิน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผ่านดาวเทียมจากสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี แต่เมื่ออ่านแถลงการณ์ได้ 3 ฉบับ ก็มีกำลังทหาร พร้อมอาวุธกลุ่มหนึ่ง บุกเข้าไปยังสถานีฯ พร้อมออกคำสั่งให้หยุดการแพร่ภาพโดยทันที

เวลา 22.54 น. โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ออกอากาศทางสถานีทุกช่อง ขึ้นคำประกาศของ คมช.

ทักษิณ 1
ทักษิณ ชินวัตร

ภายหลัง พลเอกสนธิ ให้สัมภาษณ์ครั้งหนึ่งว่า เดิมวางแผนให้ดำเนินรัฐประหารในวันที่ 20 กันยายน เพื่อให้ตรงกับการเดินขบวนต่อต้านรัฐบาลครั้งใหญ่ที่กำหนดแล้ว

คมช. ได้ออก “สมุดปกขาว” ชี้แจงสาเหตุของรัฐประหารยึดอำนาจ โดยมีสาระสำคัญ ได้แก่ การทุจริตผลประโยชน์ทับซ้อน การใช้อำนาจในทางมิชอบ การละเมิดจริยธรรมคุณธรรม ของผู้นำประเทศ การแทรกแซงระบบการตรวจสอบทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ ข้อผิดพลาดเชิงนโยบายที่นำไปสู่การละเมิดสิทธิเสรีภาพและการบ่อนทำลายความสามัคคีของคนในชาติ

จากนั้น ทักษิณปรับกำหนดการ ที่จะขึ้นแถลงต่อ สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ แต่แล้วก็ยกเลิกการขึ้นแถลง จากนั้นจึงขึ้นเครื่องบินเที่ยวพิเศษ เดินทางออกจากนครนิวยอร์ก ไปกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 20 กันยายน ตามเวลาในประเทศไทย

เดอะ เนชั่น ยังได้มีข้อสังเกต ถึงการกะเวลารัฐประหาร โดยมีหลายกรณี ที่เกี่ยวข้องกับเลข 9 ซึ่งเป็นเลขมงคลอย่างยิ่งตามความเชื่อ รัฐประหารครั้งนี้ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 เดือน 9 พุทธศักราช 2549 หัวหน้าคณะรัฐประหาร พลเอก สนธิ บุญยรัตกลินได้ประกาศต่อสาธารณชนหลังรัฐประหารเมื่อเวลา 9.39 น.

การรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน 2549 เป็นการรัฐประหารครั้งที่ 11 หลังไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475 ทำให้การเลือกตั้งทั่วไป ที่วางไว้ในเดือนตุลาคม 2549 ถูกยกเลิก พ.ต.ท. ทักษิณ พ้นจากตำแหน่งและเดินทางไปลี้ภัยการเมืองในต่างประเทศ

นับจากวันนั้นถึงวันนี้ 14 ปีเต็มพอดิบพอดี ที่เมืองไทยเคยสงบสุขก็ไม่สงบสุขอึกเลย

ที่มา: วิกิพีเดีย สถาบันพระปกเกล้า

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo