Lifestyle

ศุกร์ (สุข) ละวัด กับ ‘ไอ้ส้มฉุน’ เด็กวัดทรงเสวย แรงศรัทธานักเสี่ยงโชค!

ศุกร์ (สุข) ละวัด วัดทรงเสวย อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ประชาชนกราบไหว้ไม่ขาดสาย กับ “ไอ้ส้มฉุน” สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตามความเชื่อของชาวบ้าน เพื่อขอโชคลาภ

วัดทรงเสวย ตั้งอยู่ตำบลหนองน้อย อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท เป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกายสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2430 เดิมชื่อว่าวัดหนองแคแต่หลังจากที่สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5ได้เสด็จตรวจลำน้ำเก่าและแวะพักเสวยพระกระยาหารที่วัดเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2451จึงได้พระราชทานนามว่า “เสวย” ซึ่งชาวบ้านเห็นว่าเป็นคำราชาศัพท์ จึงเพิ่มคำว่า “ทรง” และเรียกว่า “วัดทรงเสวย” มาถึงปัจจุบัน

วัดทรงเสวย ๒๐๐๙๑๗

หลังจากเสด็จกลับพระองค์ได้พระราชทานของที่ระลึกแด่ “หลวงพ่อคล้อย” เจ้าอาวาสวัดหนองแคในสมัยนั้น เนื่องในงานพระศพของพระเจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภชน์มีบาตร ปิ่นโต พระขรรค์ ตาลปัตร ใบลาน ตะเกียงลาน เรือสำปั้น ป้านน้ำชา 1 ชุด นับเป็นของพระราชทานที่ยังสมบูรณ์ที่สุด และทำการเก็บรักษาเป็นอย่างดี ปัจจุบันมีการสร้างพิพิธภัณฑ์ สำหรับเก็บสิ่งของพระราชทานจากรัชกาลที่ 5 และมีงานประจำปีในวันที่ 6 ธันวาคม เป็นประจำทุกปี

วัดทรงเสวย 8

ประวัติวัดทรงเสวย

เมื่อวันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2451 (ร.ศ.127)พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินตรวจสอบลำน้ำเก่าโดยทางรถไฟถึงจังหวัดนครสวรรค์แล้วเสด็จประทับเรือพระที่นั่งครุฑเหิรเท็จ เพื่อมาตรวจสอบแม่น้ำมะขามเฒ่า (แม่น้ำท่าจีน)ทรงประทับแรมที่วัดหัวหาด อำเภอมโนรมย์นับเป็นการเสด็จเมืองขัยนาท เป็นครั้งที่ 3ต่อจากนั้นวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2451 เสด็จตามแม่น้ำมะขามเฒ่าผ่านตลาดวัดสิงห์ ลำน้ำมะขามเฒ่า สมัยนั้นเต็มไปด้วยผักตบชวา และตอไม้ พระองค์ประทับแรมที่บ้านหนองแค

ในสมัยนั้นขึ้นกับตำบลคลองจันทน์ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลหนองน้อย อำเภอวัดสิงห์ในครั้งนั้นพระอธิการคล้อยเป็นเจ้าอาวาส ได้ชักชวนราษฎรสร้างพลับพลารับเสด็จพระองค์มีพระราชประสงค์เสวยยอดหวายโปง ตาแป้นมัคทายกวัดหนองแคจึงให้ชาวบ้านไปหายอดหวายโปงมาเผาไฟหยวกกล้วยต้ม น้ำพริกปลาร้า (ปลามัจฉะ) มาถวายพระองค์ทรงเจริญพระกระยาหาร (เสวยอย่างเอร็ดอร่อย)และตรัสกับชาวบ้านว่า “ต่อไปนี้ให้เรียกวัดนี้ว่า วัดเสวย”แต่ชาวบ้านเติมคำว่า ทรง ไปด้วย จึงเรียกว่า วัดทรงเสวย

วัดทรงเสวย6

วัดทรงเสวย5

ผู้ที่พิสมัยตัวเลข ต้องแวะมาหา น้องส้มฉุน ณ วัดทรงเสวย ตำบลหนองน้อย อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ที่นี่จะมีชาวบ้านชาวช่อง แห่กันเดินทางมาที่ศาลาการเปรียญเพื่อนำสิ่งของทั้งอาหารหวานคาว ขนม นมเนย น้ำแดงและของเล่นเด็ก เสื้อผ้าต่างๆ ที่เป็นสีแดง มาถวาย “ไอ้ส้มฉุน” สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตามความเชื่อของชาวบ้านที่ได้สร้างรูปปั้นตั้งไว้บนศาลาแห่งนี้

เนื่องจาก หลวงปู่คล้อย เจ้าอาวาสองค์แรก ทั้งรักและเอ็นดูมาก “ไอ้ส้มฉุน” จะออกมาปรากฏให้ชาวบ้านเห็นอยู่ตลอด  ที่ผ่านมามีคนมากราบไหว้ ขอโชคลาภแล้วสมหวังกันไปจำนวนมาก หลายงวดติดกัน ทำให้ผู้คนที่ทราบข่าว เดินทางมาด้วยความหวังที่จะได้โชคลาภ กลับไปเหมือนกันเป็นความเชื่อของแต่ละบุคคล

ด้วยความศรัทธาและบารมีหลวงปู่ย้อย เทพเจ้าวาจาสิทธิ์ลูกศิษย์หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่าและ ไอ้ส้มฉุน เด็กวัดทรง ให้คิดดีทำดี ฝึกสมาธิ ปฏิบัติธรรม ทำบุญแผ่เมตตาให้ตนเองและส้มฉุนเด็กวัดทรงเสวยขอให้บารมีส้มฉุนเด็กวัดทรงเสวยช่วยให้สมหวังด้วยเถิด สาธุ ขอให้รวยทั้งแผ่นดิน“ศาลาพิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 5” อยู่ในวัดทรงเสวยหลังจากที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช (พระโอรสที่ 75) สิ้นพระชนม์ด้วยวัยเพียง 17 พรรษา

วัดทรงเสวย 11

วัดทรงเสวย4

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงรับสั่งให้มีการบูรณะวัดทรงเสวย ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภชถวายของที่ระลึกแด่พระอธิการคล้อย เป็นของที่ระลึกงานพระศพของที่ถวาย ได้แก่ บาตร ฝาบาตรมีตราสีทองรูปวงรี มีข้อความว่า ร.ศ. 128 งานพระศพพระเจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช ปิ่นโตขนาดใหญ่ที่ฝาปิ่นโตมีข้อความเช่นเดียวกับฝาบาตรพระขรรค์ ตาลปัตรใบลาน ตะเกียงลาน เรือสำปั้น ป้านน้ำชา 1 ชุดสิ่งของต่างๆ วัดทรงเสวยยังเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีใน “พิพิธภัณฑ์วัดทรงเสวย” ซึ่งเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมทุกวันพุธ-วันอาทิตย์

นอกจากนั้นภายในพิพิธภัณฑ์จะรวบรวมข้อมูลต่างๆในครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสต้นในช่วงเวลานั้นไว้มากมายอีกทั้งยังบอกถึงความสำคัญของการประพาสต้นในครั้งนั้นไว้ว่า การมาประพาสต้นที่ชัยนาท พระองค์ท่านทรงมีวัตถุประสงค์เพื่อสำราญพระราชอิริยาบถทั้งยังถือโอกาสสำรวจลักษณะภูมิประเทศอย่างใกล้ชิด โดยเป็นการเสด็จไปอย่างเงียบๆหากทรงพอพระทัยจะพักแวะที่ใดก็ทรงแวะที่นั้นและตระเตรียมอาหารกันเองปลูกพลับพลาที่ประทับกันเอง โดยส่วนมากจะแวะตามวัดต่างๆทำให้การประพาสนี้พระองค์เองได้ใกล้ชิดกับราษฎรและทำให้ราษฎรซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ

วัดทรงเสวย 9

วัดทรงเสวย 12

วัดทรงเสวย2

วัดทรงเสวย 10

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo