Economics

เช็คด่วน!! กรมบัญชีกลางโอน ‘เงินผู้สูงอายุ-เบี้ยคนพิการ’ เข้าบัญชีวันนี้

เช็คด่วน!! กรมบัญชีกลางโอน “เงินผู้สูงอายุ-เบี้ยคนพิการ” เข้าบัญชีวันนี้ (17 ก.ย.) ผู้มีสิทธิอย่าลืมตรวจสอบยอดเงิน

น.ส.วิลาวรรณ พยาน้อย รองอธิบดี กรมบัญชีกลาง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่ารมบัญชีกลางได้โอนเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเบี้ยความพิการประจำเดือนกันยายน 2563 เข้าบัญชีเงินฝากธนาคารให้ผู้มีสิทธิในวันนี้ วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2563

เงินผู้สูงอายุ เบี้ยคนพิการ

ทั้งนี้ ผู้มีสิทธิสามารถตรวจสอบยอดเงินในบัญชีได้ ตามระยะเวลาของการดำเนินการของแต่ละธนาคาร กรณีผู้มีสิทธิที่ไม่มีบัญชีธนาคาร กรมบัญชีกลางจะโอนเงินไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เพื่อจ่ายเป็นเงินสดให้แก่ผู้มีสิทธิต่อไป

ด้านเพจเฟซบุ๊ก ท้องถิ่นไทย ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ก็ได้โพสต์ข้อความว่า “กรมบัญชีกลางแจ้งความคืบหน้า พร้อมจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และคนพิการ ในวันที่ 17 กันยายนนี้”

เงินผู้สูงอายุ เบี้ยคนพิการ

“โฆษกรัฐบาล” แจงปมจ่ายเงินล่าช้า

ประเด็นดังกล่าว เกิดจากรัฐบาลได้เลื่อนการจ่าย เงินผู้สูงอายุ และ เบี้ยคนพิการ จากวันที่ 10 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า รัฐบาลถังแตก ไม่มีเงินจ่าย

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ออกมาปฏิเสธกระแสข่าวดังกล่าว พร้อมชี้แจงว่า สาเหตุที่จ่ายเงินล่าช้า เพราะเปลี่ยนระบบการจ่ายเงินเป็น ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Payment)

ก่อนหน้านี้ นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจง การจ่ายเบี้ยคนพิการและเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ยืนยันว่า ทั้งกรมบัญชีกลาง สำนักงบประมาณ กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ดำเนินการจัดสรรงบประมาณ สำหรับจ่ายเบี้ยคนพิการ และเบี้ยยังชีพ ผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง

หลังจากได้มีการปรับปรุงตัวเลขจากเดิม ที่ตั้งเบิกจ่ายไว้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2562 พบว่า จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น 184,538 ราย จำนวนผู้พิการเพิ่มขึ้น 265,608 ราย ประกอบกับการพัฒนาการโอนตรง ด้วยระบบ E-Payment เพื่อเป็นการจ่ายเบี้ยสู่บัญชีธนาคาร ของคนพิการ และผู้สูงอายุ โดยตรง ซึ่งมีสูงถึง 80% ส่วนที่เหลือ 20% ซึ่งเป็นผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะทำหน้าที่จ่ายเบี้ย เป็นเงินสด

อนุชา บูรพชัยศรี

“ปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะไม่มีงบประมาณ แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ การเปลี่ยนระบบ และวิธีการชำระเงิน รวมทั้งจำนวนผู้ได้รับสิทธิ์เพิ่มขึ้น และเชื่อว่า หลังจากปี 2563 ที่เปลี่ยนระบบแล้ว เมื่อผู้ลงทะเบียนได้รับสิทธิแล้ว ก็จะได้รับเงินทันทีในเดือนถัดไป และจะไม่เกิดความล่าช้าอีก” นายอนุชา กล่าว

หลังจากการการปรับปรุงระบบ จากนี้ไป การชำระเงินให้กับผู้มีสิทธิ จะมีความคล่องตัวเพิ่มมากขึ้น เพราะเมื่อผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ ได้ขึ้นทะเบียนแล้ว จะได้รับเบี้ยยังชีพในเดือนถัดไปทันที โดยไม่ต้องรอการประกาศสิทธิ์เหมือนในอดีต

“เงินผู้สูงอายุ” เตรียมตัวลงทะเบียนรอบใหม่เดือน ต.ค. 63

ในเร็วๆ นี้ รัฐบาลยังจะเปิดให้ผู้สูงวัยที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปและมีคุณสมบัติตรงตาม เงื่อนไข ลงทะเบียนรับ “เบี้ยผู้สูงอายุ” หรือเรียกง่ายๆ ว่า “เงินผู้สูงอายุ” ประจำปีงบประมาณ 2564

ใครต้องลงทะเบียนรับ “เงินผู้สูงอายุ” ครั้งนี้

  • ผู้สูงอายุที่ปีนี้มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์
  • กลุ่มตกหล่นที่ไม่เคยได้รับเบี้ยมาก่อน
  • ผู้สูงอายุที่เคยได้รับเบี้ยประจำอยู่แล้ว แต่มีการย้ายที่อยู่หรือทะเบียนบ้าน
  • ผู้ที่ขณะนี้มีอายุ 59 ปี ต้องไปลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ในปีงบประมาณ 2564 ด้วยเช่นกัน

“คุณสมบัติและ เงื่อนไข” ผู้มีสิทธิรับ เบี้ยผู้สูงอายุ

  • สัญชาติไทย
  • มีภูมิลำเนา-มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในเขตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามทะเบียนบ้านที่ระบุไว้ และไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่

2.1 ผู้รับเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน
2.2 ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2.3 ผู้ที่ได้รับเงินเดือนค่าตอบแทนรายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ประจำ

  • มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และไม่เคยลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ โดยเป็นผู้ที่เกิดก่อนวันที่ 2 กันยายน 2504 ทั้งนี้ หากบัตรประชาชนระบุเฉพาะปีเกิด ให้ถือว่าเกิดวันที่ 1 มกราคมของปีนั้น
  • อายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปที่เคยลงทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแล้ว แต่มีการย้ายทะเบียนบ้าน ต้องลงทะเบียนตามทะเบียนบ้านใหม่

เบี้ยผู้สูงอายุ เงินผู้สูงอายุ

เปิดลงทะเบียนเมื่อไหร่

เบื้องต้นคาดว่าจะเปิดให้ลงทะเบียนรับ เงินผู้สูงอายุ รอบใหม่ได้ตั้งแต่เดือนหน้า ตุลาคม 2563 เป็นต้นไป

ลงทะเบียนได้ที่ไหน

ผู้สูงอายุที่เข้าเงื่อนไข สามารถติดต่อได้ที่ เทศบาล, องค์การบริการส่วนตำบล (อบต.), สำนักงานเขต ในพื้นที่ที่ผู้รับสิทธิ์มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ซึ่งสามารถไปติดต่อด้วยตนเอง หรือมีใบมอบอำนาจให้ญาติไปดำเนินการลงทะเบียนแทนได้

เตรียมเอกสารอะไรบ้าง

  • บัตรประชาชน
  • ทะเบียนบ้านปัจจุบัน
  • สมุดบัญชีธนาคาร

ได้รับ “เงินผู้สูงอายุ” คนละเท่าไหร่

ทั้งนี้ ผู้สูงอายุซึ่งมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ สัญชาติไทย ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อทป.) ที่ได้จัดให้อย่างเป็นประจำ จะได้รับการช่วยเหลือเงินเบี้ยยังชีพเป็นรายเดือนตลอดชีวิต โดยแบ่งตามช่วงอายุแบบขั้นบันได ดังนี้

  • อายุ 60-69 ปี จะได้รับเดือนละ 600 บาท
  • อายุ 70-79 ปี จะได้รับเดือนละ 700 บาท
  • อายุ 80-59 ปี จะได้รับเดือนละ 800 บาท
  • อายุ 90 ปีขึ้นไป จะได้รับเดือนละ 1,000 บาท

ได้รับเงินวันไหน

เมื่อผู้รับสิทธิ์ลงทะเบียนไว้ และอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ จะเริ่มได้รับเบี้ยผู้สูงอายุ โดยเงินจะโอนให้ทุกวันที่ 10 ของทุกเดือนในวันทำการ ซึ่งหากวันที่ 10 ของเดือนไหนตรงกับวันหยุด ทางภาครัฐจะดำเนินการโอนให้ก่อนวันที่ 10 ในวันทำการเช่นกัน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo