CEO INSIGHT

‘ไฮบริด มัลติคลาวด์’ กุญแจสำคัญ ทรานส์ฟอร์ม องค์กรดิจิทัล

ไฮบริด มัลติคลาวด์ กุญแจสำคัญ สู่การทรานส์ฟอร์มเป็น ดิจิทัล เอ็นเตอร์ไพรส์ เทนเซ็นต์ แนะธุรกิจปรับตัว ขับเคลื่อนธุรกิจในยุค New Normal 

นายชาง ฟู ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จํากัด เปิดเผยว่า ระบบ ไฮบริด มัลติคลาวด์ จะเป็นกุญแจสำคัญ ในการเร่งกระบวนการปรับเปลี่ยนองค์กรเข้าสู่ระบบดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

ไฮบริด มัลติคลาวด์

ทั้งนี้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลก เกิดการชะลอตัว และเข้าสู่ภาวะถดถอย ภาคธุรกิจจำเป็นต้องปรับตัว เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง จากสภาวะเศรษฐกิจหยุดชะงัก ที่เกิดขึ้น

“การปรับเปลี่ยนองค์กร เข้าสู่ระบบดิจิทัล จะช่วยองค์กรต่าง ๆ ให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างยั่งยืน ท่ามกลางยุค New Normal”นายฟู กล่าว

เทนเซ็นต์ ประเทศไทย ในฐานะผู้ให้บริการ เทนเซ็นต์ คลาวด์ จึงมุ่งนำเสนอ “โซลูชันคลาวด์แบบไฮบริด” ที่พร้อมใช้งานได้ทั่วโลก ช่วยสร้างเสถียรภาพ ด้านความปลอดภัย และความยืดหยุ่น พร้อมด้วยโซลูชันอัจฉริยะ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ในทุกอุตสาหกรรม และทุกธุรกิจในประเทศไทย และประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สำหรับระบบ “ไฮบริด มัลติคลาวด์” หมายถึง การทำงานแบบผสมผสาน ระหว่างระบบไพรเวทคลาวด์ (Private Cloud) และระบบพับลิกคลาวด์ (Public Cloud) ซึ่งเป็นบริการจากบุคคลที่สาม สำหรับการทำงาน ที่แตกต่างกันออกไป

ไฮบริด มัลติคลาวด์

โดยหลักแล้ว ไฮบริด มัลติคลาวด์จะใช้ระบบแบบผสมผสานนี้ เพื่อช่วยถ่ายโอนปริมาณงานไปมา ระหว่างคลาวด์ทั้ง 2 ระบบได้อย่างคล่องตัว

ข้อมูลจาก IDC เปิดเผยว่า ระบบไฮบริด มัลติคลาวด์ จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลัก สำหรับการปรับเปลี่ยนองค์กร สู่ระบบดิจิทัล โดยภายในปี 2564 ธุรกิจทั่วโลกกว่า 90% จะต้องพึ่งพาการใช้ ระบบปฏิบัติการณ์คลาวด์ แบบผสมผสาน ทั้งแบบไพรเวทคลาวด์ พับลิกคลาวด์ จากผู้ให้บริการต่างๆ และแพลตฟอร์มแบบดั้งเดิม เพื่อตอบสนองความต้องการด้านโครงสร้างพื้นฐานของแต่ละองค์กร ที่ต้องการปรับเปลี่ยน เข้าสู่ระบบดิจิทัล

การที่องค์กรต่าง ๆ เดินหน้าสู่การใช้งาน ระบบคลาวด์ เพื่อเร่งให้เกิดการปรับเปลี่ยนองค์กร เข้าสู่ระบบดิจิทัล เทนเซ็นต์ คลาวด์มีข้อแนะนำ 3 ประการ สำหรับองค์กรที่ต้องการสร้าง “ดิจิทัล คลาวด์ แพลตฟอร์ม” เพื่อให้สามารถสร้างระบบดิจิทัล คลาวด์ได้อย่างสมบูรณ์ ดังนี้

  • โครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ที่เพิ่มขยายหรือปรับลดได้ (Scalable Cloud Infrastructure)

การวางโครงสร้างพื้นฐาน ระบบคลาวด์ ที่สามารถปรับขนาดได้ในอนาคต จะช่วยสร้างความยืดหยุ่น ในการเพิ่ม หรือลดจำนวนทรัพยากรตามความต้องการ ช่วยเร่งกระบวนการ การปรับเปลี่ยนองค์กร ให้เกิดความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ เสถียรภาพ และความปลอดภัย

Tencent Cloud Hybrid

  • แพลตฟอร์มที่มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน (Agile Distribution Platform)

แพลตฟอร์มดังกล่าว จะช่วยเพิ่มความคล่องตัว ให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงระบบได้จากทุกที่ โดยองค์กรสามารถตรวจสอบ และบริหารจัดการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ระบบเอดจ์คอมพิวติ้งอัจฉริยะที่เชื่อมต่อกัน (Connected Edge Intelligence)

ช่วยปรับปรุงระบบประมวลผลข้อมูล พร้อมสร้างเกราะกำบัง ด้านความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัย ในการเข้าสู่ข้อมูลภายในองค์กร

ด้าน นายวิลเลียม ลี Research Director จากไอดีซี กล่าวว่า การสร้างแพลตฟอร์มดิจิทัล ในแบบไฮบริด มัลติคลาวด์ (Hybrid Multicloud Digital Platform) จะช่วยให้องค์กร สามารถสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ และขับเคลื่อนการสร้างรายได้ ในรูปแบบใหม่ ผ่านความร่วมมือ และการสร้างสรรค์ นำเสนอสิ่งใหม่ ๆ ร่วมกันกับพันธมิตรในระบบนิเวศนั้น ๆ

ในขณะที่องค์กรต่าง ๆ ได้เริ่มทำงานบนสภาพแวดล้อม แบบระบบไฮบริด มัลติคลาวด์ ที่สามารถทำงานประสานกันระหว่างคลาวด์จากหลากหลายแห่ง ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่องค์กร จะต้องเลือกสรรผู้ให้บริการคลาวด์ ที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อมารองรับการทำธุรกิจในยุคดิจิทัล

สำหรับผู้ให้บริการคลาวด์ จำเป็นต้องเสริมสร้างศักยภาพของตนเอง เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์ ในการนำระบบไฮบริด มัลติคลาวด์ มาใช้ ขณะเดียวกัน ลูกค้าก็จำเป็นต้องมองหาตัวเลือก ที่ให้ความยืดหยุ่นจาก ระบบคลาวด์ แบบกระจายตัว (Distributed Cloud) ที่สามารถเชื่อมต่อกันได้

ขณะที่ เทนเซ็นต์ คลาวด์ มีทั้งพับลิกคลาวด์ ดาต้าเซ็นเตอร์ขององค์กร และเอดจ์คอมพิวติ้ง (Edge) โดยความยืดหยุ่นที่เพิ่มขึ้นนั้น จำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนควบคุมการ และจัดการปริมาณงานอย่างทั่วถึง ทั้งกระบวนการทำงานด้านไอที เพื่อผลักดันให้เกิดการปรับเปลี่ยนองค์กรเข้าสู่ระบบดิจิทัลได้อย่างสมบูรณ์ และก้าวสู่การเป็น “ดิจิทัล เอ็นเตอร์ไพรส์” ในยุค New Normal ได้อย่างเต็มรูปแบบ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo