Business

ซื้อหุ้น ‘ถูก’ ขายหุ้น ‘แพง’ ด้วยสูตร P/E 

คำถามแรกๆ ที่ทั้งนักลงทุนมือใหม่-มือเก๋า ต้องตอบให้ได้ก่อนเลือกลงทุนหุ้นสักตัว ก็คือราคาของหุ้นตัวนั้น ถูกหรือแพงไปหรือเปล่า ? แน่นอนครับว่าอัตราส่วนทางการเงินอย่าง P/E Ratio คือ เครื่องมือยอดนิยมที่หลายคนคุ้นเคยกันดี

P/E Ratio คืออะไร ใช้ยังไง 

P/E ย่อมาจาก Price/Earning Per Share หรือ ราคาหุ้น ณ ปัจจุบัน หารด้วย กำไรสุทธิต่อหุ้น ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบระหว่างราคาหุ้นกับกำไรสุทธิต่อหุ้น เช่น หุ้น A ราคา 10 บาท มีกำไรต่อหุ้น 1 บาท ดังนั้น P/E เท่ากับ 10 เท่า  โดยค่า P/E ที่คำนวณได้ แสดงให้เห็นว่าหากบริษัทมีกำไรต่อหุ้นคงที่ไปเรื่อยๆ และเมื่อเราเข้าลงทุนหุ้นตัวนั้นที่ราคาเท่านี้ จะใช้เวลากี่ปีถึงจะคืนทุน ทั้งนี้ เราสามารถใช้ P/E เป็นตัวช่วยวิเคราะห์มูลค่าหุ้นได้ ด้วยการเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม, ค่าเฉลี่ยตลาด หรือหุ้นตัวอื่นๆ ที่ประกอบธุรกิจใกล้เคียงกัน

ซื้อขายหุ้น cover 01

ตัวอย่างเช่น หุ้น A และ B ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกัน

หุ้น A ราคา 100 บาท มีกำไรสุทธิต่อหุ้นอยู่ที่ 20 บาท

P/E = 100/20 = 5 เท่า

หุ้น B ราคา 10 บาท มีกำไรสุทธิต่อหุ้นอยู่ที่ 0.1 บาท

P/E = 10/0.1 = 100 เท่า

จะเห็นว่าถ้ามองเผินๆ ดูเฉพาะราคาหุ้น เราก็คงคิดว่าหุ้น B นั้นถูกกว่าหุ้น A แต่เมื่อเจาะลึกลงไปที่มูลค่าจริงๆ กลับกลับเป็นหุ้น A ที่มีมูลค่าถูกหุ้น B

ข้อควรระวังในการใช้ P/E วิเคราะห์หุ้น

อย่างไรก็ดี ก็ใช่ว่าหุ้น P/E สูงๆ จะน่าสนใจน้อยกว่า P/E ต่ำเสมอไป เพราะอะไรนั้นลองมาดูเหตุผลกัน

1. แต่ละอุตสาหกรรมมีธรรมชาติที่แตกต่างกัน เราไม่ควรเปรียบเทียบ P/E ข้ามอุตสาหกรรม เพราะแต่ละอุตสาหกรรมย่อมมีธรรมชาติของธุรกิจ และค่าเฉลี่ย P/E Sector ที่แตกต่างกัน เช่น 

2. P/E ต่ำไม่ได้แปลว่าหุ้นถูกเสมอไป  เพราะอย่างหุ้น Growth Stock หรือเป็นหุ้นที่มีสภาพคล่องดี Market Cap ขนาดใหญ่ ก็มักจะมี P/E สูงเป็นปกติตามความคาดหวังของตลาด แต่ค่า P/E ก็ไม่เกินกว่าการโตของกำไร เช่น คาดว่ากำไรจะโตปีละ 20% ค่า P/E ก็ไม่ควรเกิน 20 เท่า 

นอกจากนี้ เราสามารถใช้่า  P/E วิเคราะห์เบื้องต้นได้ แต่อย่าลืมใช้ปัจจัยอื่นๆ พิจารณาประกอบด้วย เช่น งบการเงิน การเติบโตทางธุรกิจ ปัจจัยความเสี่ยง ผู้บริหาร และภาวะเศรษฐกิจ เป็นต้น  

ซื้อขายหุ้น 01

อ่านข่าวพิ่มเติม

Avatar photo