Economics

‘กฟผ.’ ผู้นำอาเซียน ‘ผลิต-ซ่อม-ปรับปรุง’ ชิ้นส่วนเครื่องจักรโรงไฟฟ้า

โรงไฟฟ้ามีความสำคัญอย่างมาก ในการผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นโรงไฟฟ้า ประเภทใดก็ตาม ต่างก็มีจุดมุ่งหมายหลักเช่นเดียวกัน คือ การร่วมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศ ให้เกิดขึ้นในทุกวินาที และมีความพร้อมตลอดเวลา

แต่การที่จะทำให้โรงไฟฟ้า มีความพร้อมในการผลิตไฟฟ้าได้อย่างมั่นคง และมีประสิทธิภาพนั้น ต้องอาศัยความพร้อม และปัจจัยในหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประสบการณ์ความเชี่ยวชาญของบุคลากร เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยเฉพาะในงานบำรุงรักษาเครื่องจักรโรงไฟฟ้า

และนี่คือภารกิจที่ท้าทาย ของฝ่ายโรงงานและอะไหล่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

cover ปรับลดเศรษฐกิจพอ1

ภารกิจสำคัญระดับประเทศของ กฟผ. ที่ได้รับความไว้วางใจให้รักษาเสถียรภาพความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้า ต้องมีการวางแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักร ให้มีความพร้อมเดินเครื่องอยู่ตลอดเวลา

กฟผ. โดย สายงานรองผู้ว่าการธุรกิจเกี่ยวเนื่อง (รวธ.) ฝ่ายโรงงานและอะไหล่ (อรอ.) รับหน้าที่เป็นผู้ดูแลการผลิต ซ่อมแซม ปรับปรุงชิ้นส่วนเครื่องจักรโรงไฟฟ้าทุกแห่งของ กฟผ. รวมถึงได้รับการไว้วางใจ ให้ทำหน้าที่ซ่อมเครื่องจักรโรงไฟฟ้าของเอกชนหลายแห่งในปัจจุบัน โดยใช้ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติงาน ที่มีมายาวนานกว่า 50 ปี  ผ่านการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรโรงไฟฟ้า มาหลากหลายยี่ห้อ จนนับได้ว่าเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการผลิต ซ่อมแซม ปรับปรุงชิ้นส่วนเครื่องจักรโรงไฟฟ้าของภูมิภาคอาเซียน

20200804 ART01 02
ชัช ศรีถนอมวงศ์

นายชัช ศรีถนอมวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายโรงงานและอะไหล่ กล่าวว่า ที่ผ่านมา กฟผ. ได้รับความไว้วางใจให้ซ่อมเครื่องจักรของโรงไฟฟ้า ทั้งของ กฟผ. และเอกชนหลายแห่ง การผลิตกระแสไฟฟ้า ด้วยกังหันไอน้ำ (Steam Turbine) หรือ กังหันก๊าซ ( Gas Turbine ) ต้องอาศัยเครื่องจักรขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า “Rotor (โรเตอร์)” ที่มีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก และมีมูลค่าสูง ต้องใช้กำลังในการขับเคลื่อนเครื่องจักร และใช้ขับเคลื่อนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ให้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้

เมื่อมีอายุการใช้งานถึงตามเกณฑ์ ที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ หรือเกิดความเสียหายอย่างรุนแรงที่ Rotor จนไม่สามารถเดินเครื่องได้อีก ก็จะต้องดำเนินการตรวจสภาพ หรือเปลี่ยนชิ้นส่วน

061261 sp 5

หลายครั้งที่โรงไฟฟ้าเอกชนจำนวนมาก เกิดปัญหาความเสียหายดังกล่าว แต่ไม่สามารถหาบริษัท ที่จะซ่อมความเสียหายรุนแรงได้ ซึ่งประสบการณ์การทำงานมาเป็นเวลานาน และความพร้อมของเครื่องมือ รวมถึง ศักยภาพความเชี่ยวชาญของผู้ปฏิบัติงานฝ่ายโรงงาน และอะไหล่ ทำให้ กฟผ. สามารถวิเคราะห์ปัญหา และแก้ไขให้ Rotor กลับมาใช้งานได้ดังเดิม เป็นผลให้โรงไฟฟ้าเอกชนยอมรับในความสามารถของ กฟผ. ในการฟื้นคืนชีพ Rotor ให้สามารถกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง

นอกเหนือจาก ประสบการณ์ และศักยภาพ ของผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. ที่ทำให้การซ่อมเครื่องจักร และอุปกรณ์โรงไฟฟ้า สำเร็จลุล่วงเป็นที่ยอมรับของลูกค้าแล้ว ฝ่ายโรงงานและอะไหล่ของกฟผ. ยังมีการลงทุนเครื่องจักรอื่นๆ เช่น เครื่องกลึง ที่สามารถรองรับอะไหล่ หรือชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่ได้ โดยรองรับน้ำหนักได้สูงสุด 250 ตัน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางสูงสุด 5 เมตร ความยาวสูงสุดประมาณ 13 เมตร

ทั้งยังมี เครื่อง Low Speed Balance ซึ่งเป็นเครื่องจักร ที่มีขนาดใหญ่สุดในประเทศไทย สามารถรับน้ำหนักได้สูงสุดถึง 125 ตัน มีประสิทธิภาพ และความแม่นยำสูง ทั้งยังทันสมัยที่สุด ของประเทศไทยแห่งหนึ่ง

20200804 ART01 03

เครื่องจักรเหล่านี้มีส่วนสำคัญ ที่สนับสนุนให้สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว และได้ผลงานที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน สามารถตอบสนอง และแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว “ทำให้ชิ้นส่วนเครื่องจักรที่เสียหายรุนแรง ซึ่งเป็นงานที่ยากและท้าทาย สามารถฟื้นคืนสภาพให้กลับมาใช้งานได้ปกติ”

ยิ่งกว่านั้น ยังมีกระบวนการตรวจสอบคุณภาพหลังการซ่อมแซม ปรับปรุง และการรับประกันคุณภาพของผลงานตามมาตรฐานหลังงานซ่อม เพื่อเป็นการยืนยันและสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าหรือผู้รับบริการก่อนนำกลับเข้าใช้งานอีกด้วย

ถ้าเปรียบเทียบกับมนุษย์เรา ความเสียหายของ Rotor ก็คงเหมือนกับการเป็นโรคร้าย ยากต่อการรักษาให้หายขาดได้ แต่หากเจอหมอที่ดี และมีแนวทางการรักษาที่ถูกต้อง ก็จะสามารถกลับมามีชีวิตปกติได้อีกครั้ง

20200804 ART01 05

เห็นได้ชัดว่า ประสบการณ์ อุปกรณ์เครื่องมือที่มันสมัย และความเชี่ยวชาญของบุคลากร กฟผ. สามารถที่จะแก้ไขปัญหาเครื่องจักรโรงไฟฟ้าได้อย่างครบวงจร เป็นจุดเด่นที่ทำให้ ฝ่ายโรงงานและอะไหล่ กฟผ. เป็นที่หนึ่งในเรื่องการซ่อมเครื่องจักรโรงไฟฟ้า

กฟผ. ยังคงมุ่งมั่นดูแลการการให้บริการ ควบคุมคุณภาพ ทั้งการผลิต ซ่อมแซมปรับปรุงชิ้นส่วน และบำรุงรักษาให้กับทุกโรงไฟฟ้า เพื่อเป็นฟันเฟืองเล็กๆที่สนับสนุนในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศไทยต่อไป

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo