General

สระบุรี ‘โมเดลแก้หนี้ครู’ วางแนวทางพักชำระหนี้ หางานให้ลูกหลาน

สระบุรี โมเดลแก้หนี้ครู เลขาสกสค.คนใหม่เครื่องร้อน เดินหน้า 7 เรื่องเร่งด่วน เร่งลดภาระหนี้ครู ส่งเสริมสวัสดิการ ลดทุจริต สร้างอาชีพทายาทครู

นายธนพร สมศรี เลขาธิการ คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครู และบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) เปิดเผยว่า ในเร็วๆ นี้ ตนจะลงพื้นที่ หารือกับ สหกรณ์ออมทรัพย์ครูสระบุรี เพื่อวางแนวทางการ การพักชำระหนี้ครู โดยจะชูให้จังหวัด สระบุรี โมเดลแก้หนี้ครู เพื่อนำไปใช้สำหรับการแก้หนี้ครูในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป

สระบุรี โมเดลแก้หนี้ครู

ทั้งนี้ นายธนพร ได้มอบนโยบายให้แก่ผู้บริหารสกสค. ในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง เลขา สกสค. หลังจากคณะกรรมการ สกสค.ได้พิจารณาเลือกให้ตนดำรงตำแหน่งเลขาฯ สกสค. เมื่อวันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา โดยเซ็นสัญญาจ้าง ในตำแหน่งดังกล่าว ซึ่งมีระยะเวลาการว่าจ้างตามสัญญา 4 ปี

สำหรับนโยบาย 9 เรื่องเร่งด่วน ที่พร้อมทำทันที ได้แก่

  • ต่อประกันสินเชื่อ โครงการสวัสดิการฌาปนกิจสงเคราะห์ ช่วยเหลือเพื่อนครู และบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) ที่ 5 ,6 และ 7 ให้แล้วเสร็จ ภายในเดือนตุลาคม
  • จัดส่วนลดโปรโมชั่น สินค้าบริการ แก่สมาชิก
  • เจรจาสหกรณ์ออมทรัพย์ เรื่องหนี้ครู เพื่อหาแนวทางช่วยครู ในการลดภาระหนี้สิน
  • เตรียมแนวทาง รับสมาชิก สมทบครอบครัวครู
  • ออกช่องทางชำระเงินสงเคราะห์ออนไลน์ เพื่อให้การชำระเงินสงเคราะห์ มีความสะดวกมากขึ้น อาจจะสามารถชำระได้ ผ่านอินเทอร์เน็ตแบงค์กิ้ง
  • ติดตามเรื่องทุจริต ให้เป็นไปตามกฎหมาย
  • กำกับการฟื้นฟู องค์การค้าของ สกสค. ลดภาระหนี้ สกสค.
  • บรรจุเงินศาสนพิธี เป็นงบประจำ
  • ดูแลประสานสร้างอาชีพ ให้แก่ทายาทของครู
ธนพร สมศรี
ธนพร สมศรี

อย่างไรก็ตาม จากนโยบาย ทั้ง 9 เรื่องดังกล่าว เรื่องสำคัญคือ การแก้ไขปัญหาหนี้สินครู เพราะมองว่า ปัญหาหนี้ครู คือ ปัญหาสำคัญ ซึ่งหากครูมีภาระหนี้สินจำนวนมาก อาจส่งผลกระทบ ต่อการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนได้ รวมถึงจะมีการสำรวจลูกหลาน หรือ ทายาทของครู ว่า มีใครยังว่างงานอยู่บ้าง เพื่อประสานความร่วมกับ กระทรวงแรงงาน ในการจัดสอนอาชีพให้

ขณะเดียวกัน นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ยังได้มอบนโยบายการทำงาน ว่า การทำงาน สกสค.นั้น ครู คือ หัวใจสำคัญ เพราะไม่ว่าจะเป็น นายกรัฐมนตรี วิศวกร แพทย์ พยาบาล ทุกคนต้องได้รับการสอนจากครูทั้งสิ้น

ดังนั้น จะต้องสร้างสวัสดิการ และสวัสดิภาพที่ดี ให้แก่ข้าราชการครู เพื่อที่ครู จะได้มีขวัญกำลังใจ ในการทำงานมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนงาน สกสค. และ สร้างองค์กรด้วยความสามัคคี

ก่อนหน้านี้ นายสำคัญ จงโกเย็น เลขาธิการศูนย์ประสานงาน การแก้ปัญหาหนี้สินครู และบุคลากรทางการศึกษาแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันปัญหาหนี้สินครู อยู่ในขั้นวิกฤต โดยจากสถิติพบว่า มีครูกว่า 4 แสนราย หรือคิดเป็น 80% จากครูทั่วประเทศ มีหนี้จำนวนมาก เฉลี่ยแล้วมีหนี้รายละไม่ต่ำกว่า 3 ล้านบาท

ทั้งนี้ แบ่งเป็น สวัสดิการสินเชื่อ กองทุนบำเหน็จพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อชำระหนี้เงินกู้ (ช.พ.ค.) ประมาณ 4 แสนล้านบาท, หนี้สหกรณ์ครู ประมาณ 7 แสนล้านบาท รวมแล้วเป็นเงินกว่า 1.1 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 16% ของมูลหนี้ทั้งประเทศ

สาเหตุ ที่ทำให้เกิดปัญหาหนี้สินครู ที่มีเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ส่วนหนึ่งเกิดจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น จากการที่มีความต้องการปัจจัยสี่ เรื่องค่าใช้จ่ายในครอบครัว และ ความไม่มีวินัยของครู และ ความไม่มีวินัยของสถาบันการเงิน เป็นต้น

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo