General

ทส. เปิดแผนรับน้ำฤดูฝน ปี 63 เก็บน้ำใช้ฤดูแล้ง

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เปิดแผนการ เตรียมความพร้อมรับน้ำในฤดูฝน ร่วมมือหน่วยงานเกี่ยวข้อง วิเคราะห์ คาดการณ์ พื้นที่เสี่ยงภาวะน้ำท่วม – น้ำล้นตลิ่ง-น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่นอกเขตชลประทาน ช่วงเดือน กรกฎาคม-ธันวาคม 2563 

นายภาดล ถาวรกฤชรัตน์ เปิดเผยว่า รัฐบาลภายใต้การบริหารของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (ทส.) ห่วงใยประชาชน และได้เร่งให้หน่วยงานภาครัฐ เตรียมการรับน้ำฝน

118690777 3429762847076140 3481749187325192123 o

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรน้ำ ได้วางแผนล่วงหน้า โดยร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการวิเคราะห์ คาดการณ์ พื้นที่เสี่ยงภาวะน้ำท่วม -น้ำล้นตลิ่ง-น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่นอกเขตชลประทาน ในช่วงเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2563

อีกทั้งเตรียมความพร้อม ด้วยการบำรุง รักษา ซ่อมแซม ระบบเตือนภัยล่วงหน้าน้ำหลากดินถล่ม (Early Warning) จำนวน 1,546 สถานี ครอบคลุมหมู่บ้านเสี่ยงภัยจำนวน 4,911 บ้าน ในพื้นที่ 51 จังหวัด 335 อำเภอ 1,152 ตำบล ให้มีความพร้อมมากที่สุด รวมถึง ระบบโทรมาตร จำนวน 228 สถานี สถานีอุตุ-อุทกวิทยาจำนวน 385 สถานี

ตลอดจนการเตรียมเครื่องสูบน้ำ 313 เครื่อง รถบรรทุกน้ำ 142 คัน ในการให้ความช่วยเหลือหากเกิดเหตุ พร้อมจัดทำแผนปฏิบัติบรรเทาภาวะน้ำท่วมรายสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค เพื่อรับสถานการณ์น้ำหลาก ดินโคลนถล่มปี 2563 และสร้างการรับรู้ให้กับประชาชน เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับประชาชน ผ่านสื่อหลัก และสื่อ โซเชียลมีเดีย หลากหลายช่องทาง

S 269869066

ในภาคการเกษตร กรมทรัพยากรน้ำได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วางแผนการเพาะปลูกพืช จัดทำเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำ การจัดทำเกณฑ์ (การใช้สี) การจำแนกระดับปริมาณฝน ปริมาณน้ำในลำน้ำ ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำ โดยจัดทำเกณฑ์น้ำน้อย-น้ำมาก (แม่น้ำโขง) 6 สถานี และเกณฑ์การระบายน้ำของอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 65 แห่ง ให้กับสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เป็นข้อมูลสำหรับกำหนดนโยบาย และแนวทางการปฏิบัติงาน

ช่วงก่อนฤดูน้ำหลาก กรมทรัพยากรน้ำได้ดำเนินการ ตรวจสอบสิ่งกีดขวางทางน้ำ กำจัดผักตบชวาตามลำน้ำสายหลัก-รอง พร้อมทั้งปรับปรุง ซ่อมแซม สภาพอาคารชลศาสตร์ ระบบระบายน้ำ ตลอดจนโครงการต่าง ๆ ในความรับผิดชอบของกรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพรองรับปริมาณน้ำหลากในช่วงฤดูฝน ซึ่งฤดูฝน 2563 แหล่งน้ำของภายใต้การดูแลของกรมทรัพยากรน้ำ มีศักยภาพในการกักเก็บน้ำได้ประมาณ 2,360 ล้าน ลบ.ม.

สำหรับแผนการดำเนินการช่วยเหลือภาวะวิกฤติด้านน้ำ ในระยะยาวนั้น กรมทรัพยากรน้ำได้วางแผนดำเนินการเตรียมการ จัดสร้างสถานที่เก็บอุปกรณ์สูบน้ำในพื้นที่เสี่ยง ครอบคลุมทั่วประเทศ (สทภ. 1 -11) วงเงินประมาณ 6,000 ล้านบาท”

เมื่อเร็วๆ นี้ กรมทรัพยากรน้ำยังได้เชิญสื่อมวลชน เยี่ยมชมพื้นที่โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำในพื้นที่ ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ เป็นโครงการแก้ไข และบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ในเขตพื้นที่อันเนื่องมาจากภัยแล้ง และอุทกภัยในจังหวัดราชบุรี

AK1 0061

ตำบลยางหัก มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเขาที่มีความสูงชัน ในช่วงฤดูฝนจึงเป็นพื้นที่รองรับน้ำฝน มีแหล่งต้นน้ำสายหลัก อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน คือห้วยแม่ประจันต์ ไหลลงสู่พื้นที่ตำบลยางหัก ผ่านอำเภอหนองหญ้าปล้อง และไหลลงสู่ทะเล ที่อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

ปี 2558 เกิดวิกฤติภัยแล้ง ประชาชนขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภค และทำการเกษตร สาเหตุหนึ่งเกิดจากการขาดแคลนฝายชะลอน้ำ และแหล่งกักเก็บน้ำ ประชาชนในพื้นที่ ได้ขอความอนุเคราะห์มายังสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 7 ในการสำรวจ และออกแบบเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพื้นที่จังหวัดราชบุรี

วัตถุประสงค์ของโครงการนอกเหนือจากการบรรเทา และแก้ปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยแล้ว ยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการกักเก็บน้ำ การระบายน้ำ และใช้ประโยชน์ในพื้นที่เกษตร ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์กว่า 200 ครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่การเกษตรกว่า 250 ไร่

S 269869068

นายภาดล ระบุว่า จากนโยบายเพิ่มน้ำต้นทุนของรัฐบาลนั้น ทส. โดยกรมทรัพยากรน้ำ ได้มีแผนดำเนินโครงการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาแหล่งน้ำสาธารณะ ในพื้นที่เกษตรน้ำฝน โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน ในปีงบประมาณ 2563 เพิ่มอีก 160 ล้าน ลบ.ม. คาดว่าประชาชนจะได้ประโยชน์ 75,389 ครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่การเกษตร 186,743 ไร่ และได้ขอการสนับสนุนโครงการ จากงบกลาง เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำเพิ่มอีกจำนวน 35 โครงการ  ขอสนับสนุนงบประมาณจากงบเงินกู้ จำนวนกว่า 700 โครงการ

หากได้รับการสนับสนุนคาดว่า จะเพิ่มพื้นที่รับน้ำต้นทุนรวมมากกว่า 400 ล้าน ลบ.ม. พร้อมทั้งจัดทำระบบกระจายน้ำ ในแต่ละพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในทุกๆ แหล่งน้ำที่มีศักยภาพ เพื่อให้เกิดความสมดุล กับความต้องการน้ำ สำหรับการอุปโภคบริโภคของประชาชน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo