Business

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ หลังโควิด-19 กับ 5 ประเด็นที่ต้องจับตา!

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ หลังโควิด-19 ผลจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 คาดว่าจะฟื้นตัวกลับมามียอดขายเท่ากับก่อนเกิดโควิด-19 เร็วที่สุดในปี 2565

จากการระบาดของโควิด-19 ซ้ำเติมให้ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ หลังโควิด-19  ดตัวลงต่อเนื่องในปี 2563 โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 ยอดขายที่อยู่อาศัยหดตัวถึง 45% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากกำลังซื้อและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ที่ลดลงมาก รวมถึงการปรับลดลง ของยอดขายจากตลาดต่างชาติ

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ หลังโควิด-19

ขณะที่ในด้านอุปทาน ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ชะลอการเปิดโครงการใหม่ ๆ ออกไป โดยเฉพาะคอนโดมิเนียม และหันมาเน้นโครงการแนวราบเพื่อเจาะกลุ่มเรียลดีมานด์หรือผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริงมากขึ้น

คาดในปี 63 อสังหาฯ ยังมีแนวโน้มซบเซา

จากรายงานของ Economic Intelligence Center หรือ EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ คาดการณ์ว่า จำนวนหน่วยขายได้ที่อยู่อาศัยทั้งปี 2563 จะหดตัวถึง 29% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยในช่วงที่เหลือของปี 2563 ตลาดยังมีแนวโน้มซบเซา แม้ว่าหลังจากการคลายล็อกดาวน์ ยอดขายจะกลับมาฟื้นตัวได้บางส่วน จากการแข่งขันออกโปรโมชั่นของผู้ประกอบการ

แต่ภาวะเศรษฐกิจ และกำลังซื้อที่ยังฟื้นตัวช้า ส่งผลให้ยอดขายโดยรวม ยังฟื้นตัวได้ไม่มากนัก ขณะที่มูลค่าโอนกรรมสิทธิ์จะหดตัวที่ 7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ 8.7 แสนล้านบาท โดยมียอดโอนบางส่วน มาจากยอดขายที่เกิดขึ้นในช่วงปีก่อน ๆ โดยเฉพาะในส่วนของคอนโดมิเนียม ที่มีหน่วยขายได้ค่อนข้างสูงในช่วงปี 2561 เริ่มทยอยสร้างเสร็จและพร้อมโอนได้ในช่วงปี 2563

สอดคล้องกับรายงาน DDproperty Thailand Property Market Index ฉบับล่าสุด ที่พบว่า แนวโน้มอสังหาริมทรัพย์ในปี 2563 ยังคงลดลงในแง่ของราคา โดยเฉพาะคอนโดมิเนียม จากปัจจัยสำคัญคือการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สภาพเศรษฐกิจที่ยังคงต้องการเวลาฟื้นตัว และหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับที่สูง ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง

ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องแข่งขันกันในเรื่องราคา พร้อมโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถมต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นการตัดสินใจของผู้ซื้อคอนโด ทำให้ราคาคอนโดปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีราคาคอนโดมิเนียมในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ลดลง 4% จากไตรมาสแรกของปี และลดลงมากถึง 9% ในรอบ 1 ปี และคาดว่าจะเห็นภาพเช่นนี้ตลอดทั้งปี 2563

ดัชนีราคา

5 ประเด็นต้องจับตากับทิศทางตลาดอสังหาฯ ในช่วง 1-3 ปีข้างหน้า

EIC ยังมองว่ามี 5 ประเด็นที่ต้องจับตามองสำหรับทิศทางตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วง 1-3 ปีข้างหน้า คือ

1. ภาพการฟื้นตัวของตลาดจากโควิด-19 โดยภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวลงอย่างมาก ส่งผลให้แนวโน้มการฟื้นตัว ของภาคอสังหาริมทรัพย์ จะเป็นไปอย่างช้า ๆ กว่าที่ยอดขายจะกลับมาสู่ระดับก่อนเกิดโควิด-19 ได้อย่างเร็วที่สุดในปี 2565 โดยตลาดกลุ่มระดับกลางถึงบน จะเป็นตัวนำการฟื้นตัวของตลาด

2. ภาวะอุปทานส่วนเกิน และการลดลงของราคาที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะที่อยู่อาศัย ประเภทคอนโดมิเนียม ราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท ที่มีหน่วยเหลือขายสะสมค่อนข้างมาก ส่งผลให้ผู้ประกอบการ ยังต้องเน้นการระบายสต็อก และทำให้การแข่งขันด้านราคารุนแรงมากขึ้น

3. ความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภค (housing affordability) มีแนวโน้มลดลง ตามภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้ผู้ประกอบการ ต้องปรับลดราคาลง และเน้นพัฒนาที่อยู่อาศัยในราคาที่ถูกลง เพื่อให้ผู้ซื้อสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น

4. การที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ หันมาเน้นเจาะตลาดแนวราบมากขึ้น ส่งผลให้ภาวะการแข่งขันในตลาดแนวราบ มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะในตลาดระดับราคาปานกลาง อย่างเช่น ทาวน์เฮ้าส์

จากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Index ฉบับล่าสุด ชี้ให้เห็นว่า ทาวน์เฮ้าส์มีจำนวนเพิ่มขึ้นมากที่สุด ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2563 โดยเพิ่มขึ้นถึง 5% จากไตรมาสแรกของปี และเพิ่มขึ้นถึง 27% ในรอบ 1 ปี

อสังหา

5. ยอดขายใหม่ มีแนวโน้มจะกระจุกตัว ในโครงการของผู้ประกอบการขนาดใหญ่มากขึ้น จากการแข่งขันทำโปรโมชั่นอย่างต่อเนื่อง เพื่อระบายสต็อก รวมถึงการแข่งขันเปิดตัวโครงการแนวราบ ประกอบกับชื่อเสียงของแบรนด์ ที่ได้รับความไว้วางใจ ตลอดจนความสามารถในการแข่งขัน ที่ได้เปรียบมากกว่า

ผู้ประกอบการส่วนใหญ่หันมาเน้นเจาะตลาดแนวราบมากขึ้น

การปรับตัวของผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในการพัฒนาที่อยู่อาศัย สู่ new normal จะมีการปรับกลยุทธ์เพื่อให้ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคและไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนี้

  • ช่องทางการขาย online ที่จะมาช่วยเสริม เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ซื้อ และยังเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญ ที่ใช้ในการทำการตลาด

สอดคล้องกับผลสำรวจ DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study ฉบับล่าสุด ที่พบว่าผู้บริโภคกว่า 70% ใช้ช่องทางออนไลน์ อย่างโซเชียลมีเดีย และเว็บสื่อกลาง (online property marketplace) ในการหาค้นหาข้อมูล

  • การพัฒนาโครงการใหม่จะเน้นความคุ้มค่า เพื่อให้สอดคล้องกับกำลังซื้อที่ลดลง และยังต้องแข่งขันกับตลาดมือสอง ที่คาดว่าจะมีทรัพย์สิน ที่รอการขาย (Non Performing Asset) เข้ามาในตลาดมากขึ้น จากมีหนี้เสียหรือ Non-Performing Loan (NPL) ในตลาดที่อยู่อาศัย ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
  • ไลฟ์สไตล์ใหม่ เช่น เทรนด์ของการทำงานที่บ้าน หรือ Work from home จะส่งผลให้ผู้บริโภค พิจารณาเลือกที่อยู่อาศัย โดยให้ความสำคัญกับ ทั้งปัจจัยด้านทำเล และพื้นที่ใช้สอยที่ตอบโจทย์ ส่งผลให้ที่อยู่อาศัยแนวราบ ที่อาจจะอยู่ห่างออกไป แต่ยังเดินทางได้สะดวก จากส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า มีแนวโน้มได้รับความสนใจมากขึ้น
  • รูปแบบของการพัฒนาโครงการ ที่ต้องตอบโจทย์เทรนด์ผู้บริโภคยุคใหม่ อาทิ ด้านสุขภาพและสุขอนามัย ซึ่งมีแนวโน้มนำเอา เทคโนโลยี เข้ามาใช้มากขึ้น เช่น เทคโนโลยีด้าน Face Recognition และ Voice Command มาใช้ในพื้นที่ส่วนกลาง

อย่างไรก็ตาม นอกจากปัจจัยต่าง ๆ ที่ต้องจับตามองข้างต้นแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นที่สำคัญไม่แพ้กัน ที่จะส่งผลกระทบต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ อาทิ นโยบายกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์จากภาครัฐ นโยบายสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ จากสถาบันการเงินของรัฐ ความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ ๆ รวมถึงภาษีที่ดินที่

ทั้งนี้เพราะแม้ว่า ภาครัฐจะผ่อนปรนลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลง 90% ในปี 2563 แล้ว แต่คาดว่าจะส่งผลเพียงในระยะสั้น แต่ในระยะยาว ภาระภาษีที่ดิน ยังคงเป็นอีกหนึ่งปัจจัย ที่ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ ต้องนำมาพิจารณา ก่อนการตัดสินใจซื้อ หรือพัฒนาโครงการในอนาคต

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo