Business

เม็ดเงินโฆษณา ส.ค. ‘3 สื่อ’ตัวเลขบวก

บริษัท นีลเส็น (ประเทศไทย) จำกัด  รายงานการใช้งบโฆษณาเดือนสิงหาคม 2561 เปรียบเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน มีมูลค่า 8,743 ล้านบาท ติดลบ 2.31% สื่อส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาวะ “ติดลบ” โดยมีเพียง 3 สื่อที่โฆษณาเป็น “บวก” ในเดือนสิงหาคม คือ ทีวี มูลค่า 5,719 ล้านบาท เติบโต 3.93%  ป้ายโฆษณา 568 ล้านบาท เติบโต 0.89% และอินเทอร์เน็ต 169 ล้านบาท เติบโต 6.96%

โฆษณา ส.ค.2561 นีลเส็น

สื่อโฆษณาที่อยู่ในภาวะ “ติดลบ” เดือนสิงหาคมนี้ ประกอบด้วย เคเบิล/ทีวีดาวเทียม มูลค่า 204 ล้านบาท ติดลบ 11.30%  วิทยุ 402 ล้านบาท ติดลบ 6.73% หนังสือพิมพ์ 548 ล้านบาท ติดลบ 17.59%  นิตยสาร 98 ล้านบาท ติดลบ 39.51%  สื่อในโรงภาพยนตร์ 471 ล้านบาท ติดลบ 27.31%  สื่อเคลื่อนที่ 475 ล้านบาท ติดลบ 4.81%  อินสโตร์ 88 ล้านบาท ติดลบ 3.30%

สำหรับงบโฆษณา 8 เดือน (ม.ค.-ส.ค.) ปี 2561 เปรียบเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน มีมูลค่า 69,647 ล้านบาท ติดลบ 0.49%  ยอดสะสม 8 เดือน สื่อโฆษณารายประเภท มีตัวเลขเป็น “บวก” มากขึ้น นำโดย ทีวี มูลค่า 44,950 ล้านบาท เติบโต 2.45%  วิทยุ มูลค่า 3,071 ล้านบาท เติบโต 3.09% สื่อในโรงภาพยนตร์ มูลค่า 4,935 ล้านบาท เติบโต 6.36% ป้ายโฆษณา มูลค่า 4,496 ล้านบาท เติบโต 8.52% อินสโตร์ มูลค่า 696 ล้านบาท เติบโต 6.28% และสื่ออินเทอร์เน็ต มูลค่า 1,062 ล้านบาท เติบโต 2.12%

ส่วนสื่อโฆษณาที่เม็ดเงินอยู่ในภาวะ “ติดลบ” คือ เคเบิล/ทีวีดาวเทียม มูลค่า 1,643 ล้านบาท ติดลบ  21.54%  หนังสือพิมพ์ มูลค่า 4,004 ล้านบาท ติดลบ 23.12% นิตยสาร มูลค่า 852 ล้านบาท ติดลบ 36.32% สื่อเคลื่อนที่ มูลค่า 3,940 ล้านบาท ติดลบ 2.04%

โฆษณา ส.ค.2561 นีลเส็น กสทช.

โฆษณาทีวีดิจิทัลลดลง 4.4%

สำนักงานนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์ (วส.) สำนักงาน กสทช. รายงานมูลค่าการโฆษณาทีวีดิจิทัล เดือนสิงหาคม 2561 มีมูลค่า 5,716 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 263 ล้านบาท หรือ  4.4%

หากเปรียบเทียบมูลค่าการโฆษณาของเดือนสิงหาคม 2561 กับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้า พบว่าเดือนสิงหาคม 2560  มีมูลค่าโฆษณาทีวีดิจิทัล 5,502 ล้านบาท ต่ำกว่ามูลค่าโฆษณาของเดือนสิงหาคม 2561 ประมาณ 214 ล้านบาท

ส่องท็อปไฟว์ “แบรนด์-บริษัท”

ทางด้านมูลค่าการใช้จ่ายกลุ่มท็อปไฟว์ ราย “แบรนด์” ช่วง 8 เดือนแรก (ม.ค.-ส.ค.) ปี 2561
1.ทีวีไดเร็ค มูลค่า 1,539 ล้านบาท
2.ธนาคารออมสิน 752 ล้านบาท
3.โคคา-โคลา 670 ล้านบาท
4.มือถือซัมซุง 510 ล้านบาท
5.รถเก๋งโตโยต้า 510 ล้านบาท

กลุ่มท็อปไฟว์ “บริษัท” ที่ใช้งบโฆษณาสูงสุด 8 เดือนแรกปีนี้
1.ยูนิลีเวอร์ (ไทย) โฮลดิ้ง 2,620 ล้านบาท
2.พีแอนด์จี 1,562 ล้านบาท
3.ทีวีไดเร็ค 1,539 ล้านบาท
4.โตโยต้า มอเตอร์ 1,245 ล้านบาท
5.โคคา-โคลา (ประเทศไทย) 1,050 ล้านบาท

หมายเหตุ

สื่อกลางแจ้ง (outdoor) และสื่อเคลื่อนที่ (transit): มีการรวมข้อมูลจาก JCDecaux สำหรับข้อมูลจากสื่อในสนามบินตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2560 และข้อมูลของสื่อ outdoor และ transit จาก JCDecaux ได้ถูกรวมเข้าไว้ในรายงานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2560

นีลเส็นได้มีการเพิ่มพื้นที่การเก็บข้อมูลสื่อกลางแจ้ง เช่น สื่อเคลื่อนที่, ป้ายบิลบอร์ด, ป้ายโฆษณาบนทางเท้า, สื่อในสนามบิน และอื่นๆ ตั้งแต่ มกราคม ปี 2559 เป็นต้นมา

อินเทอร์เน็ต : ตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2559 นีลเส็นได้มีการขยายการเก็บข้อมูลโมษณาผ่านสื่อ อินเทอร์เน็ต ครอบคลุม 50 เว็บไซต์ และ 10 เว็บไซต์บนมือถือ (ภาพรวมการใช้งบโฆษณาผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตทั้งหมดให้อ้างอิงข้อมูลจาก DAAT)

สื่อในห้าง : นีลเส็นได้มีการเพิ่มข้อมูล สื่อวิทยุในห้าง Big C และ 7 Eleven เข้ามาในฐานข้อมูล ตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2559 ทั้งนี้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2558 ข้อมูลของสื่อในห้าง Tesco Lotus และ Big C ไม่ได้รวมอยู่ในฐานข้อมูลของนีลเส็น  ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี 2559 เป็นต้นมา เพิ่มสื่อที่บริหารจัดการโดยบริษัท Plan B เข้ามาในฐานข้อมูลของสื่อกลางแจ้ง, สื่อเคลื่อนที่, และสื่อในห้าง

Avatar photo