Lifestyle

‘ความดันโลหิตสูง’ ฆาตกรเงียบ ต้นเหตุโรคหลอดเลือดสมอง-หัวใจ

ความดันโลหิตสูง ฆาตกรเงียบในตัวเรา ผู้ป่วยกว่าครึ่งไม่รู้ตัวว่าเป็น และไม่สนใจดูแลรักษา นำไปสู่โรคหลอดเลือดสมอง กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด 

พลอากาศโท นายแพทย์อนุตตร จิตตินันทน์ ประธาน ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่ตรวจพบความดันโลหิต อยู่ในระดับที่สูงกว่าปกติ อย่างเรื้อรังเป็นเวลานาน โดยทั่วไปหากผู้ใดวัดความดันโลหิต ระหว่างหัวใจบีบตัว ได้มากกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท หรือวัดความดันโลหิตระหว่างหัวใจคลายตัวได้มากกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท ถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง

สำหรับโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่พบได้บ่อย จากการสำรวจพบว่า ผู้ใหญ่คนไทย เป็นโรคความดันโลหิตสูงประมาณร้อยละ 25 เมื่ออายุมากขึ้น โอกาสที่จะเป็นความดันโลหิตสูง ก็เพิ่มขึ้นด้วย

ความดันโลหิต คือ ค่าที่วัดแรงดันในหลอดเลือดแดง โดยใช้เครื่องวัด ซึ่งมีหลายแบบทั้งที่เป็น แบบปรอท แบบเข็มวัด และแบบอัตโนมัติ ค่าที่วัดได้มี 2 ค่า โดยเขียนเป็นตัวเลข 2 ตัว คั่นกลางด้วยเครื่องหมาย เศษส่วน เช่น 130/80 มิลลิเมตรปรอท

ตัวเลขตัวแรก หรือ ตัวบน เป็นค่าความดันโลหิตระหว่างหัวใจบีบตัว (ความดันโลหิตซิสโตลิกส์) ส่วนตัวเลขตัวที่สอง หรือตัวล่างเป็นค่าความดันโลหิต ระหว่างหัวใจคลายตัว (ความดันโลหิตไดแอสโตลิกส์)

ค่าความดันโลหิตตัวบน ไม่ควรเกิน 120 มม.ปรอท ค่าความดันโลหิตตัวล่าง ไม่ควรเกิน 80 มม.ปรอท

  • ค่าความดันโลหิตตัวบน 120-129 มม.ปรอท ค่าความดันโลหิตตัวล่าง 80-84 มม.ปรอท แสดงว่าความดันโลหิตปกติ
  • ค่าความดันโลหิตตัวบน 130-139 มม.ปรอท ค่าความดันโลหิตตัวล่าง 85-89 มม.ปรอท แสดงว่าความดันโลหิตสูงค่อนข้างสูง
  • ค่าความดันโลหิตตัวบน 140-159 มม.ปรอท ค่าความดันโลหิตตัวล่าง 90-99 มม.ปรอท แสดงว่าความดันโลหิตสูงระยะที่ 1
  • ค่าความดันโลหิตตัวบน 160-179 มม.ปรอท ค่าความดันโลหิตตัวล่าง 100-109 มม.ปรอท แสดงว่าความดันโลหิตสูงระยะที่ 2
  • ค่าความดันโลหิตตัวบน 180 มม.ปรอท หรือมากกว่า ค่าความดันโลหิตตัวล่าง 100 มม.ปรอท หรือมากกว่า แสดงว่าความดันโลหิตสูงระยะที่ 3

1 1

ทั้งนี้จะต้อง วัดด้วยวิธีการที่ถูกต้อง กล่าวคือ ผู้ป่วยควรนั่งพัก อย่างน้อย 5 นาที วัดในท่านั่ง ใช้ผ้าพันแขนที่ได้มาตรฐาน และอยู่ในระดับเดียวกับหัวใจ

ทำไมจึงเป็นฆาตกรเงียบ เพราะปัญหาสำคัญ ของโรคความดันโลหิตสูง ก็คือ ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ มากกว่าครึ่งไม่รู้ตัวว่าเป็น และถึงแม้จะรู้ตัวว่าเป็นโรคนี้แล้ว ก็ยังไม่ได้สนใจดูแลรักษา ส่วนหนึ่งเนื่องจากโรคความดันโลหิตสูง มักไม่มีอาการ ทำให้คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคนี้ ไม่ได้ให้ความสนใจ เมื่อเริ่มมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนแล้ว จึงจะเริ่มสนใจตนเองและรักษา ซึ่งทำให้ผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร

โรคความดันโลหิตสูง เป็นสาเหตุสำคัญ ทำให้มีโอกาสเกิด โรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก เกิดอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือทำให้เกิด โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย ทำให้หัวใจวายและเสียชีวิตได้ รวมทั้งทำให้เกิดไตวายเรื้อรัง จนอาจต้องรับการล้างไตได้ จึงถือว่าโรคความดันโลหิตสูงเป็นเหมือน “ฆาตกรเงียบ” ที่แฝงอยู่ในตัวผู้ป่วย

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ข้อมูลถึงสาเหตุของการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงว่า ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มีปัจจัยร่วมบางอย่าง ที่ทำให้ความดันโลหิตสูง โดยมากกว่าร้อยละ 90 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จะไม่ทราบสาเหตุ

แต่อาจเกิดจาก 2 ปัจจัยคือ พันธุกรรมและพฤติกรรม และน้อยกว่าร้อยละ 10 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เป็นความดันโลหิตสูง ชนิดที่ทราบสาเหตุ เช่น ความดันโลหิตสูง จากการใช้ยาคุมกำเนิดบางชนิด หรือ การเกิดเนื้องอก ของต่อมหมวกไต เป็นต้น

การดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

อาหาร 

หากรับประทานเนื้อสัตว์ ควรเป็นเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และ ควรรับประทานผักผลไม้ ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากเกินไป เพราะผลไม้หลายชนิด มีรสหวาน หากเลือกรับประทานนม ควรเป็นนมไขมันต่ำ

newscms thaihealth c hknprtuwy138

การออกกำลังกาย

ควรเลือกออกกำลังกายแบบแอโรบิค (Aerobic exercise) หรือ การออกกำลังกายแบบต่อเนื่อง ระดับการออกกำลังกาย ที่สามารถออกได้ คือ เบาถึงปานกลาง หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย ที่หนักหรือหักโหม

บุหรี่และสุรา

ควรงดสูบบุหรี่ และงดดื่มสุรา เนื่องจากทั้งบุหรี่และสุรา ส่งผลกระทบทางลบแต่อสุขภาพ และ ระดับความดันโลหิต

การใช้ยา

รับประทานยาแอย่างสม่ำเสมอ ไม่ปรับยาเอง การรับประทานยา ต้องอยู่ภายใต้การดูแลแของแพทย์ผู้รักษา

ควบคุมน้ำหนัก

พยายามควบคุมน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เลือกรับประทานอาหาร ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย รวมถึงการออกกำลังกาย ที่เหมาะสม

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo