Business

บีโอไอ อนุมัติลงทุน 1.2 หมื่นล้าน หนุนไทยฐานผลิตอุตสาหกรรมการแพทย์

บีโอไอ อนุมัติลงทุน 1.2 หมื่นล้าน หนุนไทยขึ้นแท่น ฐานผลิตอุตสาหกรรมการแพทย์ ไฟเขียว ไทย-เกาหลี ร่วมทุนวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูง

นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ เปิดเผยว่า จากมาตรการเร่งรัดการลงทุนในอุตสาหกรรมการแพทย์ ที่สิ้นสุดระยะเวลา การยื่นขอรับการส่งเสริมเมื่อเดือนมิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา ล่าสุด บีโอไอ อนุมัติลงทุน 42 โครงการ รวมมูลค่าลงทุน 11,999.5 ล้านบาท จากโครงการโครงการที่ยื่นขอรับการส่งเสริมฯ 50 โครงการ

วัคซีนโควิด ๒๐๐๙๐๑

สำหรับโครงการที่ยื่นขอรับการส่งเสริม ส่วนใหญ่ เป็นกิจการผลิตเครื่องมือแพทย์และชิ้นส่วน ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาล ที่ต้องการผลักดันให้ ไทยเป็นฐานการผลิต เพื่อรองรับความต้องการ ทั้งในและต่างประเทศ ในอนาคต เช่น กิจการผลิตหน้ากากอนามัย กิจการผลิตถุงมือยาง

นอกจากนี้ยังมีกิจการผลิต Non-Woven Fabric เช่น Spunbond หรือ Melt blown ที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญ ในการผลิตหน้ากากอนามัย หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ อีกด้วย

ตัวอย่างบริษัทที่น่าสนใจ ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามมาตรการนี้ ได้แก่ บริษัท แอปสลาเจน จำกัด บริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด (สัญชาติไทย) และบริษัท HAASE INVESTMENT (สัญชาติเยอรมัน)

โครงการร่วมทุนดังกล่าว เพื่อวิจัยพัฒนา หรือ ผลิตตัวทำปฏิกิริยาชีวภาพ ในการตรวจวินิจฉัย และ สารละลายผสมที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัย ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญ ในการนำไปใช้ในการตรวจวินิจฉัยระดับโมเลกุล หรือใช้ในการตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัส ด้วยวิธี RT – PCR โดยมีมูลค่าลงทุน 9 ล้านบาท

ดวงใจ อัศวจินตจิตร์
ดวงใจ อัศวจินตจิตร์

นอกจากนี้ บีโอไอยังได้อนุมัติโครงการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งเป็นกิจการที่ได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุด เพื่อสนับสนุนให้ไทยเป็นฐานการผลิตในอุตสาหกรรมการแพทย์ ของบริษัท คินเจน ไบโอเทค จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท คินเจน โฮลดิ้งส์ จำกัด (สัญชาติไทย) กับบริษัท เจเนไซน์ อิงค์ จำกัด (สัญชาติเกาหลีใต้)

บริษัทดังกล่าว เป็นการลงทุนเพื่อใช้เทคโนโลยีขั้นสูง นำจุลินทรีย์มาผลิตสารออกฤทธิ์ชีวภาพ ที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตยาชีววัตถุ ที่จะมาทดแทนยาเคมี มูลค่าการลงทุนกว่า 400 ล้านบาท

ขณะเดียวกัน ยังเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยี การวิจัยและผลิตสารออกฤทธิ์ ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูงจากประเทศเกาหลีใต้ เพื่อพัฒนาต่อยอดกระบวนการผลิตให้กับโรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ (NATIONAL BIOPHARMACEUTICAL FACILITY, NBF) ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยบริษัทได้เสนอแผนความร่วมมือในการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่มหาวิทยาลัยอีกด้วย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo