Lifestyle

สารทเดือนสิบ : ประเพณีทำบุญใหญ่ ชาวเมืองนครศรีฯ

งานประเพณีสารทเดือนสิบเมืองนครศรีธรรมราช ถือว่าเป็นงานบุญประเพณีของคนใต้ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของ ชาวนครศรีธรรมราช ที่ได้รับอิทธิพลด้านความเชื่อ มาจากศาสนาพราหมณ์  มีการผสมผสานกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนา เข้ามาภายหลัง จุดมุ่งหมายสำคัญ เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ดวงวิญญาณของบรรพชนและญาติที่ล่วงลับ

ในความเชื่อของคนภาคใต้ว่ากันว่า ดวงวิญญาณของบรรพชนที่ล่วงลับไปแล้ว จะได้รับการปล่อย มาจากตนต้องจองจำอยู่ตามผลกรรมที่ตนได้เคยทำไว้ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยจะเริ่มปล่อยตัวในวันแรม 1 ค่ำเดือน 10 เพื่อมายังโลกมนุษย์  มาขอส่วนบุญจากลูกหลานญาติพี่น้อง ที่ได้เตรียมการอุทิศไว้ให้เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ล่วงลับ หลังจากนั้นก็จะกลับไปในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10

สาทร์เดือนสิบ ๒๐๐๘๓๑ 6

ช่วงระยะเวลาในการประกอบพิธีกรรม ของประเพณีสารทเดือนสิบ จะมีขึ้นในวันแรม 1 ค่ำเดือนสิบก็จะ ทำบุญ รับตา ยาย แต่ วันที่ชาวใต้มักจะนิยมทำบุญกันมากคือ วันแรม 13-15 ค่ำ ประเพณีวันสารทเดือนสิบ

ชาวนครศรีธรรม เริ่มงานวันแรกในวันแรม 13 ค่ำ โดยขบวนแห่เปรตในตอนเย็นขบวนเปรตต่างๆ เริ่มตั้งขบวนหน้า วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ในขบวนก็จะมีหุ่นเปรต จากหน่วยงานต่างๆ มาร่วมขบวนโดยเดินไปสิ้นสุดที่สนามหน้าเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช   การแห่ขบวนเปรต จัดขึ้นเพื่อเตือนใจให้ คนได้ทำความดี ตายไปจะได้ไม่เป็นเปรตปากเท่ารูเข็ม มือใหญ่เท่าใบตาล และในวันแรม 13 นี้ยังถือว่าเป็นวันจ่าย คือออกไปหาซื้อสิ่งของเพื่อเตรียมไปทำบุญในวันแรม 15 ค่ำอีกด้วย

สาทร์เดือนสิบ ๒๐๐๘๓๑ 9

เช้าวันแรม 14 ค่ำเป็น วันหลองหฺมฺรับ โดยมีหน่วยงานราชการใน อำเภอต่างๆของ จังหวัดนครศรีธรรม ตกแต่งขบวนรถสวยงามมีการฟ้อนรำ นำหน้าขบวนหฺมฺรับที่เต็มไปด้วยความสวยงามนำมาประกวดกัน โดยขบวนจะเริ่มจากสนามหน้าเมือง ไปยังวัดพระมหาธาตุวรวิหาร ขบวนยาวเป็นกิโล

มาถึงวันสำคัญที่ต้องยก หฺมฺรับ ไปวัด หฺมฺรับ (หมายถึงสำหรับ)

สาทร์เดือนสิบ ๒๐๐๘๓๑ 1

สาทร์เดือนสิบ ๒๐๐๘๓๑ 2

 

 

การจัดหฺมฺรับ และยกหฺมฺรับ การจัดเตรียมสิ่งของที่ใช้จัดหฺมฺรับ  เริ่มขึ้นในวันแรม 13 ค่ำ วันนี้เรียกกันว่า “วันจ่าย” ชาวบ้าน จะซื้ออาหารแห้ง พืชผักที่เก็บไว้ได้นาน ข้าวของเครื่องใช้ ในชีวิตประจำวัน และขนมที่เป็นสัญลักษณ์ของสารทเดือนสิบ จัดเตรียมไว้สำหรับใส่หฺมฺรับ และสำหรับ การจัดหฺมฺรับ มักจะจัดเฉพาะครอบครัว หรือจัดรวมกันในหมู่ญาติ และจัดเป็นกลุ่ม ภาชนะที่ใช้จัดหฺมฺรับรับ ใช้กระบุง หรือ เข่งสานด้วยด้วยตอกไม้ไผ่ ขนาดเล็กหรือใหญ่ขึ้นอยู่กับเจ้าของหฺมฺรับ

ปัจจุบันใช้ภาชนะที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเป็นกรณีพิเศษ การจัดหฺมฺรับ คือ การบรรจุและประดับด้วยสิ่งของ อาหาร ขนมเดือนสิบ  ลงภายในภาชนะที่เตรียมไว้ ลักษณะของการจัด ชั้นล่างสุด จัดบรรจุสิ่งของประเภทอาหารแห้ง ลงไว้ที่ก้นภาชนะ ได้แก่ ข้าวสาร พริก เกลือ หอม กระเทียม กะปิ น้ำปลา น้ำตาล มะขามเปียก รวมทั้งบรรดาปลาเค็ม เนื้อเค็ม หมูเค็ม กุ้งแห้ง เครื่องปรุงอาหารที่จำเป็น ขั้นที่สอง จัดบรรจุอาหารประเภทพืชผักที่เก็บไว้ได้นาน

สาทร์เดือนสิบ ๒๐๐๘๓๑ 3

ใส่ขึ้นมาจากชั้นแรก ได้แก่ มะพร้าว ขี้พร้า หัวมันทุกชนิด กล้วยแก่ ข้าวโพด อ้อย ตะไคร้ ลูกเนียง สะตอ รวมทั้งพืชผักอื่นที่มีในเวลานั้น ขั้นที่่สาม จัดบรรจุสิ่งของประเภทของใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ น้ำมันพืช น้ำมันมะพร้าวน้ำมันก๊าด ไต้ ไม้ขีดไฟ หม้อ กระทะ ถ้วย ชาม เข็ม ด้าย หมาก พลู กานพลู การบูน พิมเสน สีเสียด ปูน ยาเส้น บุหรี่ ยาสามัญประจำบ้าน ธูป เทียน

ขั้นบนสุด ใช้บรรจุและประดับประดาด้วยขนมอันเป็นสัญลักษณ์ของสารทเดือนสิบ เป็นสิ่งสำคัญของหมฺรับ ได้แก่ ขนมพอง เป็นสัญลักษณ์แทน เรือ แพ ที่บรรพบุรุษใช้ข้ามห้วงมหรรณพ ขนมลา เป็นสัญลักษณ์แทน แพรพรรณ เครื่องนุ่งห่ม ขนมบ้า มีรูปทรงคล้ายลูกสะบ้าเป็นสัญลักษณ์แทน ลูกสะบ้า การละเล่นที่นิยมในสมัยก่อน ขนมกง (ไข่ปลา) เป็นสัญลักษณ์แทน เครื่องประดับ เหตุเพราะรูปทรงมีลักษณะ คล้ายกำไล แหวน ขนมดีซำ เป็นสัญลักษณ์แทน เงิน เบี้ย สำหรับใชัสอย เหตุเพราะรูปทรงของขนม คล้ายเบี้ยหอย

สาทร์เดือนสิบ ๒๐๐๘๓๑ 7

การฉลองหฺมฺรับ และการบังสุกุล ในวันแรม 15 ค่ำ ซึ่งเป็นวันสารทเรียกว่า “วันหลองหฺมฺรับ” มีการทำบุญเลี้ยงพระ และบังสุุกุล การทำบุญวันนี้เป็นการส่งบรรพบุรุษและญาติพี่น้องให้กลับไปยังเมืองนรก นับเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง เชื่อกันว่าหากไม่ได้กระทำพิธีกรรมในวันนี้่ บรรพบุรุษพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วจะไม่ได้รับส่วนกุศล ทำให้เกิดทุกขเวทนาด้วยความอดอยาก ลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่ก็จะกลายเป็นคนอกตัญญู

การตั้งเปรตและการชิงเปรต เสร็จจากการฉลองหมฺรับและถวายภัตตาหารแล้ว ลูกหลานจะนำขนม หรืออาหารนำไปวางในที่ต่างๆของวัด ตั้งที่ศาลาซึ่งเป็นศาลาสำหรับเปรตทั่วไป และริมกำแพงวัด หรือใต้ต้นไม้ สำหรับเปรตที่ปราศจากญาติ หรือญาติไม่ได้ทำบุญอุทิศให้ หรือมีกรรมไม่สามารถเข้าในวัดได้ พิธีกรรมทำบุญอุทิศส่วนกุศลทำได้ โดยการแผ่ส่วนกุศล และกรวดน้ำอุทิศให้ เมื่อเสร็จลูกหลานจะมีการแย่งชิงขนม และอาหารกันที่เรียกว่า “ชิงเปรต” การชิงเปรต เป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้น

สาทร์เดือนสิบ

สาทร์เดือนสิบ ๒๐๐๘๓๑

สาทร์เดือนสิบ ๒๐๐๘๓๑ 10

หลังจากการอุทิศส่วนกุศลแก่เปรต เป็นการแผ่ส่วนกุศล ให้เป็นสาธารณะทาน แก่ผู้ล่วงลับที่ไม่มีญาติหรือญาติไม่ได้มาร่วมทำบุญได้่ บางวัดนิยมสร้างร้านขึ้น เพื่อสะดวกแก่ตั้งเปรต เรียกว่า หลาเปรต (ศาลาเปรต) เพื่อตั้งขนม ผลไม้ และเงินทำบุญเสร็จแล้ว ก็จะนำสายสิญจน์ที่ได้บังสุกุลแล้ว มาผูกเพื่อแผ่ส่วนกุศลด้วย เมื่อเสร็จพิธีสงฆ์ การชิงเปรตจะเริ่มหลังจากตั้งเปรตเสร็จแล้ว ช่วงนี้เป็นช่วงที่เรียกว่า “ชิงเปรต” ทั้งผู้ใหญ่และเด็กจะวิ่งกันเข้าไปแย่งขนมกัน เชื่อกันว่า ของที่เหลือจากการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ถ้าใครได้ไปกินก็จะได้กุศลแรง เป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และครอบครัว

สาทร์เดือนสิบ ๒๐๐๘๓๑ 4

สาทร์เดือนสิบ ๒๐๐๘๓๑ 5

สาทร์เดือนสิบ ๒๐๐๘๓๑ 8

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo