Business

‘ถาวร’ ร่ายยาวเครื่องบิน 10 ลำจุดเริ่มต้นขาดทุน ‘การบินไทย’ วันนี้ดิ้นฟื้นฟูกิจการ

“ถาวร” ร่ายยาว โยนเครื่องบิน 10 ลำรัฐบาลปี 46-47 จุดเริ่มต้นขาดทุน “การบินไทย” ตอนนี้กำลังเคลียร์เจ้าหนี้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ยอมรับหากพบอุปสรรค อาจต้องเปิด “โครงการสมัครใจจาก”

วานนี้ (19 ส.ค. 63) นายถาวร เสนเนียม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จังหวัดสงขลา เขต 6 พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงคมนาคม ได้ชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับสายการบินแห่งชาติต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

นายถาวร ระบุว่า ต้องขอบคุณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่ให้ความสนใจกับเรื่องของสายการบินแห่งชาติ ซึ่งเป็นสายการบินที่คนไทยภาคภูมิใจ และดำเนินกิจการมาเป็นปีที่ 60 แล้ว เราดำเนินการขาดทุนในช่วง 10 ปีหลัง ในช่วง 50 ปีแรกมีกำไรอย่างต่อเนื่อง

ถาวร การบินไทย

ส่วนคำถามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ถาม สาเหตุของการขาดทุนว่าเกิดจากอะไร จึงต้องขอชี้แจงว่า ปฐมเหตุจากการที่ขาดทุนก่อนหน้านี้ได้ชี้แจงไปในเบื้องต้น ตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่ง ประมาณเดือนมกราคม ปี 2562 มาถึงวันนี้ก็ประมาณ 1 ปีแล้ว ให้วันที่เข้าไปกำกับดูแล จากการได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมนั้น

ส่วนตัวได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมา 1 ชุด เพื่อที่จะตรวจสอบและนำไปสู่การแก้ไขนั่นคือ ตั้งคณะกรรมการขึ้นเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2563 และต่อมาเพิ่มเติมแก้ไขคำสั่งเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2563 โดยมีพลตำรวจโทชาญเทพ เสสะเวช อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เป็นประธาน มีคณะทำงานอยู่ 33 คน

 

จุดเริ่มต้น “ขาดทุน” มาจากเครื่องบิน 10 ลำ

ผลของการตรวจสอบเบื้องต้นแค่ย้อนหลังประมาณ 2 ปีกว่าปรากฏว่า ปฐมเหตุนั้นในห้วงปี 2546 ถึง 2547 รัฐบาลในยุคนั้น การบินไทยจัดซื้อเครื่องบิน A340-500 และเครื่องบิน A340-600 รวม 10 ลำเป็นเครื่องบินชนิด 4 เครื่องยนต์และตั้งใจว่าจะนำมาบินระหว่างประเทศ ไทยกับประเทศสหรัฐอเมริกานั่นคือ กรุงเทพฯ-ลอสแองเจลิส และกรุงเทพฯ-นิวยอร์ก

ผลการดำเนินการบินในช่วงนั้น ปรากฏว่า ขาดทุนทุกเที่ยวบิน แค่เพียง 2-3 ปีก็ขาดทุนไปแล้ว 12,000 ล้านบาท หลังจากนั้นการบินไทยก็กลับมาคิดทบทวนใหม่นำเครื่องบิน 4 เครื่องยนต์ 10 ลำนี้ไปบินในเส้นทางเส้นเพิ่มเติม อีก 51 เส้นทาง ก็ปรากฏว่ายังขาดทุนหนักไปกว่าเดิม ขาดทุนไปอีกประมาณ 39,000 ล้านบาท

Airbus A340 การบินไทย

หลังจากนั้นถามกลับมาว่า แล้วซื้อเครื่องบินเหล่านั้นไปได้อย่างไร ส่วนตัวได้ไปตรวจสอบย้อนหลังก็พบว่า สภาพัฒน์ทำการทักท้วงแล้วทักท้วงทั้งคณะกรรมการ (บอร์ด) การบินไทยและทักท้วงทั้งทางรัฐบาล แต่ก็ไม่ได้มีการรับฟังข้อทักท้วงของสภาพัฒน์ ผู้ที่เป็นนายกรัฐมนตรีขณะนั้ นขณะนี้ไม่ได้อยู่ในประเทศไทยแล้ว

ดังนั้น ตนจึงได้หาข้อมูลต่อไปว่า แล้วจากนั้นมีการดำเนินการอย่างไรก็พบว่าขณะนี้เครื่องบินทั้ง 10 ลำนั้น ขายออกไปให้กองทัพอากาศแล้ว 1 ลำ ยังคงจอดอยู่และยังคงต้องเสียค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการบำรุงรักษาค่าประกันภัยและค่าจอด รวมแล้วตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้ ขาดทุนทั้งค่าด้อยค่าและค่าประกอบการ ขาดทุนทั้งหมดกว่า 62,000 ล้านบาท

 

สู่ยุคฟื้นฟู “การบินไทย”

ขณะนี้ คณะกรรมการที่ตนได้ตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการสอบสวนหาข้อเท็จจริงในการบริหารของการบินไทยว่า บกพร่องเรื่องอะไรบ้าง เรื่องนี้คือเรื่องปฐมเหตุ ต่อมาเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา ครม. ชุดนี้ได้มีมติว่าในระหว่างที่การบินไทยขาดทุนนั้น จะดำเนินการฟื้นฟูอย่างไร ก็ปรากฏว่าการบินไทยได้เสนอแผนฟื้นฟูผ่านมาที่ ครม. เพื่อที่จะดำเนินการฟื้นฟู

ปรากฏว่า  ครม. ภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งได้ให้ความใส่ใจและมีความเป็นห่วงใหญ่การบินไทยเป็นอย่างมาก ก็มาพิจารณาดูว่า การที่จะฟื้นฟูการบินไทยได้นั้นมีกี่ช่องทาง

ประยุทธ์8763
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

ช่องทางแรก รัฐบาลช่วยเข้าไปอุ้ม ปรากฏว่าการบินไทยเสนอมาให้การบินไทยเข้าไปกู้เงินอีก 54,000 ล้านบาท และรัฐบาลจะต้องเป็นผู้ค้ำประกัน และถ้านำเงินก้อนดังกล่าวมาใช้จ่ายในการบริหารจัดการในช่วงนั้น ถ้าหากไม่ได้ผลอีกก็จะต้องเพิ่มทุนด้วยการออกหุ้นกู้อีก 80,000 กว่าล้านบาท นั่นคือทางเลือกที่ 1 รัฐบาลยังไม่เห็นด้วย

ทางเลือกที่ 2 รัฐบาลปล่อยให้ดำเนินกิจการต่อไป จะล้มหรือจะฟื้นก็แล้วแต่ความสามารถของการบินไทย

ทางเลือกที่ 3 คือบริษัท การบินไทย จำกัด  (มหาชน) เป็นรัฐวิสาหกิจจะต้องดำเนินการฟื้นฟูด้วยการส่งเข้าสู่ ศาลล้มละลาย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย และจะให้เกิดความคล่องตัวได้นั้น การบินไทยต้องลดการถือหุ้นของกระทรวงการคลังที่ถือหุ้นอยู่ประมาณ 51% ไม่ให้ถือหุ้นเกิน 50% เพื่อเปลี่ยนจากรัฐวิสาหกิจ มาเป็นบริษัทปกติธรรมดา เป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ หลังจากนั้นเมื่อโอนหุ้นแล้ว การบินไทยก็ไม่ได้เป็นรัฐวิสาหกิจอีกต่อไป รัฐมนตรีทุกคนไม่มีอำนาจที่จะกำกับ

 

ตั้งคณะทำงาน 1 ชุดเชื่อม “การบินไทย-รัฐบาล”

แต่รัฐบาลชุดนี้ก็ยังคงห่วงใยจึงตั้งคณะทำงานขึ้นมา 1 คณะเพื่อดำเนินการติดตามให้เกิดความเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างการบินไทยกับรัฐบาลโดยมี นายวิษณุเครืองามเป็นประธานและมีกรรมการอื่นอีก 8 คนเพื่อติดต่อประสานงานในเหตุขัดข้องในการฟื้นฟูกิจการการบินไทยไปยังรัฐบาลและรัฐบาลจะมีคำแนะนำในการให้ความช่วยเหลืออย่างไร

195244

เช่น ประสานกับหน่วยราชการ หรือรัฐวิสาหกิจในสังกัดรัฐบาล ว่ าในขณะที่จะทำการฟื้นฟูเกิดปัญหาอะไรบ้าง จะได้ช่วยเหลือได้ หลังจากนั้นการบินไทยก็ยื่นเข้าฟื้นฟูและเมื่อวันที่ 17 ที่ผ่านมานี้ ศาลได้ดำเนินการไต่สวนไปแล้ว 2 ปาก นั่นคือคนที่จะเป็นผู้บริหารแผนและจะดำเนินยื่นต่อศาลผู้ที่เข้าไปเบิกความก็คือนายปิยสวัสดิ์และนายชาญศิลป์ ในวันที่ 20 และ 25 สิงหาคมนี้ ศาลนัดอีก 2 นัด ก็คงจะเสร็จสิ้น

โดยสารได้นัด ผอ.ฝ่ายการเงินและผู้ตรวจสอบบัญชีเข้าไปเบิกความในศาล และที่สำคัญที่สุดขณะนี้มีผู้ที่เป็นเจ้าหนี้รายย่อยยื่นคัดค้านเพื่อที่จะเข้ามาร่วมบริหารแผนด้วย ศาลได้นัดไกล่เกลี่ยไปแล้วเมื่อวันที่ 17 ที่ผ่านมาอย่างไม่มีการตกลงและจะนัดไกล่เกลี่ยใหม่วันที่ 20 และ 25 สิงหาคมนี้อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การฟื้นฟูกิจการการบินไทยผ่านไปได้ด้วยดี ทางรัฐบาลได้แต่งตั้งนายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ให้ทำหน้าที่รักษาการณ์ ผู้บริหารการบินไทยแทนนายจักรกฤษที่ลาออกไป

 

“บิ๊กตู่” สั่งรัฐวิสาหกิจ-ราชการให้ความร่วมมือ

ส่วนในเรื่องของการบริหารแผนฟื้นฟูที่มีการถามกันมานั้น ซึ่งแผนนี้ยังอยู่ในระหว่างการไต่สวนของศาล แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดแผนฟื้นฟูที่จะเป็นไปได้หรือไม่ เกิดความมั่นใจกับเจ้าหนี้หรือไม่ เกิดความสบายใจของลูกค้าหรือไม่ เพราะมีเจ้าหนี้อยู่ 2 ล้านกว่าคน ยอดหนี้ทั้งหมดคือ 3 แสนกว่าล้านบาท สินทรัพย์มีอยู่กว่า 3 แสนล้านบาท

GettyImages 477671464

สิ่งสำคัญที่สุด เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีได้สั่งการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่เป็นรัฐวิสาหกิจหรือราชการ ที่เป็นเจ้าหนี้หรือผู้ที่มีอิทธิพลทางด้านการตัดสินใจในการฟื้นฟูว่า จะเป็นไปได้อย่างราบรื่นหรือไม่ ให้ความร่วมมือ เพราะลูกหนี้ทั้งหมด 2 ล้านกว่าราย เจ้าหนี้รายใหญ่ให้ความร่วมมือหมดแล้วและศาลก็ได้มีความเมตตาด้วย การให้เจ้าหนี้กับลูกหนี้ติดต่อประสานงานกันผ่านระบบออนไลน์การไต่สวนจึงสะดวกยิ่งขึ้น

 

ลดขนาดฝูงบิน

สิ่งสำคัญที่มีการถามมาว่า การฟื้นฟูมีความหวังหรือไม่ อย่างไร

สิ่งแรกคือต้องบอกว่าการบริหารแผนของนายชาญศิลป์ที่เข้ามากำกับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา ได้แยกการบริหารจัดการออกเป็น 2 แนวทาง

แนวทางการบริหารภายในนั้น ได้พบพนักงานและชี้แจงเริ่มต้นโครงการที่เรียกว่า Together we care นั่นคือขอความร่วมมือจากพนักงานทุกคนในการลดเงินเดือนลดรายได้ที่เคยได้รับปรากฏว่า 80-90% ของพนักงานทั้งหมดจาก 2 หมื่นกว่าคนให้ความร่วมมือ แม้แต่พนักงานที่มีเงินเดือนระดับ 20,000 กว่าบาทก็ให้ความร่วมมือ เพราะพวกเขาเหล่านั้นรักองค์กร

ส่วนเรื่องการบริหารการปรับพนักงานออกหรือไม่ มีคำถามขึ้นมามากมาย ถ้าแผนของการบินไทยฟื้นฟูเป็นไปตามที่คาดหวังและขณะนี้การลดค่าใช้จ่ายเป็นไปตามแผน การที่จะลดพนักงานหรือปรับออกนั้นก็คงจะไม่เกิดขึ้น

แต่อย่างไรก็ตามหากแผนฟื้นฟูที่ผ่านเข้าไปในศาล ผู้บริหารแผนพบปัญหาอุปสรรคก็อาจต้องใช้วิธีการลดพนักงานด้วยการสมัครใจลาออกโดยมีค่าตอบแทนและไม่มีการบังคับ นั่นคือสิ่งที่ต้องดำเนินการ อย่างไรก็ตามแค่นั้นยังไม่พอ

GettyImages 1209050136

สิ่งที่เราพบก็คือเมื่อตนเข้ามาบริหารการบินไทยก็พบว่ามีฝูงบินอยู่ทั้งหมด 102 ลำปรากฏว่ามีเครื่องบินที่ต้องปลดระวาง และมีแผนที่ต้องจัดหาเครื่องบินเพิ่ม 38 ลำใช้เงินกว่า 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งตนก็ได้ให้นำโครงการดังกล่าวกลับไปทบทวนเรื่องการจัดซื้อทดแทนเครื่องบิน กลุ่มไหน บินเส้นทางใด บ้างลำตัวกว้างลำตัวแคบ วิสัยไกล วิสัยใกล้ ก็ไม่ได้มีคำตอบกลับมา ดังนั้นตนจึงได้นำแผนนั้นกลับไปดำเนินการใหม่จนกระทั่งวันนี้ยังชะลอโครงการและไม่มีการจัดซื้อเครื่องบินใหม่มาถึงวันนี้ 102 ลำในขณะที่ยังรออยู่

ปรากฏว่าผู้บริหารแผนดำเนินการให้ลดดาวไซส์ซิ่งลงทั้งองค์กร และที่ถามมาครั้งสุดท้ายน่าจะลดจาก 102 ลำเหลือฝูงบินของการบินไทยไม่เกิน 60 ลำและรถจาก 11 แบบให้เหลือประมาณ 3 แบบเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย หากเป็นไปตามนี้ก็คาดหวังว่าการบินไทยจะต้องกลับมาฟื้นเป็นสายการบินแห่งชาติที่เราภาคภูมิใจรักคุณเท่าฟ้าอีกครั้งหนึ่ง

 

คณะสอบทุจริตหมดอำนาจ

แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องขอชี้แจงว่า ไม่ต้องกังวลใจการบริหารงานของการฟื้นฟูจะเป็นไปได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ปัจจัยคือ

1 พนักงานการบินไทยและวัฒนธรรมของการบินไทย ว่า คุณจะร่วมมือปรับเปลี่ยนจากความไม่เป็นรัฐวิสาหกิจที่ติดขัดโน่นนี่นั่น การตัดสินใจได้เร็วดำเนินการธุรกิจให้เป็นธุรกิจที่แท้จริง อุตสาหกรรมการบินที่มีการแข่งขันกันมากขึ้น บริษัท การบินในเมืองไทย อย่างน้อย 2 บริษัทเข้าไปช่วยกันฟื้นฟูและต่างชาติล้มละลายไปแล้วคุณจะต้องปรับการทำงานลง

ประการที่ 2 นั่นคือผู้บริหารแผนจะต้องจริงใจและจริงจังในการบริหารแผน

3 แผนฟื้นฟู จะต้องฟังเจ้าหนี้ด้วยทั้งหลายเหล่านี้หากสมัครใจทำกันอย่างสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวมั่นใจว่า Together we care เราไปด้วยกันได้และสามารถฟื้นฟูกิจการไทยให้กลับมาฟื้นฟูได้

ถาวร เสนเนียม การบินไทย
ถาวร เสนเนียม เตรียมเยี่ยมบริษัท การบินไทย ปี 2562

ในเรื่องของนโยบายรัฐบาลนี้ เราทราบดีว่าการท่องเที่ยวเป็นบทบาทสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศฟื้น แต่อย่างไรก็ตามเที่ยวบินในปี 2562 ที่เข้ามาในประเทศไทยมีกว่า 1 ล้าน 1 แสนเที่ยวบิน พอเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และมีการปิดน่านฟ้าในเดือนเมษายนเที่ยวบินเหลืออยู่เพียง 5-10% ของเที่ยวบินทั้งหมด

อีกเรื่องคือ หลังจากที่ตนตั้งคณะทำงานขึ้นมาตรวจสอบการสอบทุจริต หรือการทำงานที่ไม่ได้ประสิทธิภาพแล้ว ปรากฏว่าคณะกรรมการกฤษฎีการายงานมาว่า คณะกรรมการชุดนี้หมดอำนาจแล้ว

แต่อย่างไรก็ตามภายในเดือนนี้ จะแถลงส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ให้การบินไทยส่งเรื่องรัฐบาล เพื่อดำเนินการต่อไปในสิ่งที่เราพบว่ามีการสอบทุจริตเกิดขึ้น

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight