Finance

บจ.ดึงมือโปรด้านการเงินนั่งบอร์ดแก้วิกฤต!!

ww horz

จากการสำรวจข้อมูลตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบว่าช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา บริษัทจดทะเบียนได้ทยอยแต่งตั้งคณะกรรมการบริษัทเพิ่มเติม ซึ่งพบว่า ผู้บริหารใหม่ที่ได้รับการแต่งตั้งจะเป็นบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ทางด้านการเงินเป็นอย่างดี และเป็นที่รู้จักของคนในสังคม  ซึ่งน่าจะสอดรับกับสถานการณ์การเงินทั่วโลกที่กำลังได้รับผลกระทบจากสงครามทางการค้าของประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐกับจีน

บุญทักษ์ หวังเจริญ
ภาพจาก SCB

ทั้งนี้ บริษัทจดทะเบียนที่มีการแต่งตั้งกรรมการใหม่ ประกอบด้วย บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ ESSO แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท อนุมัติการแต่งตั้ง  บุญทักษ์ หวังเจริญ เป็นกรรมการของบริษัทแทน วัธนี พรรณเชษฐ์ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 4 ก.ย. 2561

สำหรับ บุญทักษ์ หวังเจริญ เคยเป็นอดีตประธานกรรมการธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน)

เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ3
ภาพจากทำเนียบรัฐบาล

 

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI แจ้งว่า กระทรวงคมนาคมได้แจ้งมายังบริษัทว่าประธานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ได้ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งประธานกรรมการแล้ว  คือ เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการบริษัท มีผลตั้งแต่ 10 ก.ค.61

รวมทั้ง ธนาคารกรุงไทย หรือ KTB แจ้งว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้ความเห็นชอบ และได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่กฎหมายกำหนดครบถ้วนแล้ว ในการแต่งตั้ง เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ดำรงตาแหน่งประธานกรรมการธนาคาร ตามมติคณะกรรมการธนาคาร ทั้งนี้ มีผลตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2561 เป็นต้นไป

สำหรับ เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น อธิบดีกรรมพากร และผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)

ณรงค์ชัย ว่องธนะวิโมกษ์2
ภาพจาก ซีไอเอ็มบีไทย

ด้าน บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) หรือ DTC แจ้งว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท มีมติแต่งตั้ง ณรงค์ชัย ว่องธนะวิโมกษ์ ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชีและการเงินกลุ่มบริษัท  และประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท วิมานสุริยา จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ดำเนินธุรกิจโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รูปแบบผสม (Mixed-Use Project) โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 14 ก.ย.เป็นต้นไป

ทั้งนี้ ณรงค์ชัย ว่องธนะวิโมกษ์ แต่เดิมเป็น รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายการเงินและการบัญชี (ซีเอฟโอ) ของบริษัท การบินไทย

ประสงค์ พูนธเนศ1

ธนาคาร ทหารไทย หรือ TMB แจ้งว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท มีมติตั้ง ประสงค์ พูนธเนศ เป็นกรรมการ และประธานกรรมการธนาคาร โดยได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว ขณะที่ ประสงค์ พูนธเนศ ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการคลัง

ณสุ จันทร์สม
ภาพจาก thailuxe.com

บริษัท ไทยลักซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จากัด (มหาชน) หรือ TLUXE แจ้งว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท อนุมัติแต่งตั้ง

 ณสุ จันทร์สม เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ร่วม) ด้านธุรกิจพลังงาน, อสังหาริมทรัพย์และการลงทุนอื่นๆ และ พลเอกเชาวฤทธิ์ ประภาจิตร์ เป็น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ร่วม)  ด้านธุรกิจอาหารสัตว์ มีผลตั้งแต่วันที่ 15 ส.ค. 2561 เป็นต้น โดย ณสุ จันทร์สม เคยเป็นอดีตผู้จัดการกองทุนมืออาชีพ

แหล่งข่าวนักวิเคราะห์ กล่าวว่า การที่บริษัทจดทะเบียนได้ดึงบุคคลที่มีความรู้ความสามารถทางด้านการเงินมาเป็นผู้นำองค์กร เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันการบริหารงาน การกำหนดนโยบายขององค์กร ต้องอาศัยผู้ที่มีความสามารถและมีความรู้รอบด้าน โดยเฉพาะด้านนโยบายการบริหารด้านการเงิน ซึ่งมีแนวโน้มที่จะมีความผันผวนสูง เพราะต้องเชื่อมโยงกับต่างประเทศเพิ่มขึ้น และสิ่งที่สำคัญ คือต้องเป็นบุคคลที่มีความน่าเชื่อและได้รับการยอมรับทางสังคม

ตอนนี้บริษัทจดทะเบียนจะต้องมีการบริหารงานด้านการเงินอย่างรอบคอบเพราะความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจะเชื่อมโยงกับสถานการณ์ต่างประเทศเป็นหลัก โดยประเด็นสงครามทางการค้าของประเทศขนาดใหญ่ ทั้งสหรัฐและจีน ขณะที่เดียวกันปัญหาของการโจมตีค่าเงินในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ก็จะมีผลกระทบต่อไทยด้วย

นักวิเคราะหลักทรัพย์  บล.บัวหลวง  ประเมินว่า ตอนนี้ตลาดเงินที่ผันผวนมากขึ้นนับจาก เหตุการณ์ค่าเงิน ตุรกี และ ผลกระทบต่อเนื่องจาก เศรษฐกิจแถบ LATAM (อเจนติน่า, เวเนซุเอล่า) จะมีผลต่อแรงซื้อขายหุ้นของนักลงทุนต่างชาติจะชะลอลงในตลาดเกิดใหม่โดยรวม ตลอด ช่วง กันยายน – ตุลาคมนี้ สอดคล้องพอดีกับช่วงปกติของฤดูกาล ที่กองทุนต่างประเทศส่วนมากจะหยุดพักร้อน ก่อนจะกลับมา จัดสรร(Reallocation) เงินลงทุน สำหรับการลงทุนในปีหน้าอีกครั้งช่วงกลาง ตุลาคม ไปถึง พฤศจิกายนของทุกปี

สำหรับความตึงเครียดทางการค้า ระหว่างสหรัฐฯ และ ประเทศคู่ค้ายังไม่มีพัฒนาการเชิงบวก สหรัฐฯ-แคนาดา ยังไม่บรรลุข้อตกลง ส่วน สหรัฐฯ-จีน เตรียมใช้มาตรการภาษี 25% กับสินค้า 2 แสนล้านดอลลาร์ทันที

บล.เอเซียพลัส ระบุว่า การที่ดัชนีหุ้นไทยหลุด 1,700 จุด เร็วกว่าที่คาด เนื่องจากความกังวลสงครามการค้า กดดันเศรษฐกิจโลกมีน้ำหนักมากขึ้น ก่อนสหรัฐขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าขั้นปลายกับจีนอีก 2 แสนล้านดอลลาร์

ขณะที่กระแสเงินทุน(fund flow) ยังไหลออกต่อเนื่อง และค่าเงินประเทศเกิดใหม่อ่อนค่า กดดันเงินบาทอ่อนค่าตามในที่สุด กลยุทธ์ปรับพอร์ต และเลือกลงทุนรายหุ้นเน้นหุ้นอิงกับการบริโภคอุปโภคในประเทศ( Domestic Play) ที่ราคาต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น(P/E) และ ค่าความผันผวน(Beta) ต่ำ (หุ้นDCC, CPF, RATCH, EASTW) เติบโตสูงในครึ่งปีหลัง หรือหุ้น Laggard (หุ้น BH, SCCC) หุ้นอาหารส่งออกเข้าสู่ฤดูกาลคึกคัก (หุ้นCPF) หรือมีเงินสดสุทธิ (หุ้นVGI, MACO, PLANB)

บล.ยูโอบีเคย์เฮียน แนะนำว่า ความกังวลวิกฤติค่าเงินตลาดเกิดใหม่จะลุกลาม (Contagion) จากอาร์เจนตินา ตุรกี ไปยังอินโดนีเซียและประเทศอื่นๆ ก่อให้เกิดแรงขายหนักในเอเซียและตลาดเกิดใหม่ อย่างไรก็ตามสถานการณ์ยังห่างไกลจากโอกาสในการเกิดวิกฤติ เพียงแต่ในกระบวนการปรับพอร์ต เพื่อลดความเสี่ยงจากกลุ่มประเทศฐานะการเงินการคลังอ่อนแอ อาจสร้างผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุนช่วงสั้น แต่มีผลจำกัดต่อประเทศไทยที่ภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังคงแข็งแกร่ง เงินเฟ้อต่ำ ดุลบัญชีเดินสะพัดและทุนสำรองอยู่ในระดับสูง ประกอบกับความคาดหวังเชิงบวกต่อการเลือกตั้งในต้นปีหน้า จะเป็นปัจจัยที่ช่วยให้ทิศทางค่าเงินบาทรวมถึงราคาหุ้นยังคงแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของกลุ่มตลาดเกิดใหม่ (EMs)

เราประเมินการปรับลงของดัชนีหุ้นไทยที่ระดับ 1,660-1,680 จุด จะเริ่มเข้าเขตทยอยซื้อหุ้นใหญ่ ขณะที่โอกาสที่ราคาจะปรับลดลงของหุ้นใหญ่ชั้นดี ในกลุ่มพลังงาน ธนาคาร ค้าปลีก อยู่ในราว 3-5%เท่านั้น

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight