Business

จับเทรนด์ญี่ปุ่น ‘ลดคาเฟอีน’ มาแรง โอกาสเครื่องดื่มไทย ‘ไร้คาเฟอีน’

“ลดคาเฟอีน” มาแรงในตลาดญี่ปุ่น แนะสินค้าเครื่องดื่มไทย จับกระแสให้ทัน งัดนวัตกรรม พัฒนาเครื่องดื่ม ชูจุดขาย สุขภาพ ความแปลกใหม่ ปลอดคาอีน เจาะตลาด

ตลาดสินค้าเครื่องดื่มในญี่ปุ่น ยังเป็นตลาดที่มีมูลค่าสูง และมีกำลังซื้อ เมื่อเทียบกับตลาดอื่น ๆ ในเอเชีย ขณะที่ผู้ผลิตในญี่ปุ่น ต่างให้ความสำคัญสูงสุดกับนวัตกรรม (Innovation) เพื่อพัฒนาสินค้าใหม่ ให้เหมาะกับการเปลี่ยนแปลงไปของสภาพแวดล้อมทางสังคม และรสนิยมผู้บริโภค ซึ่งหนึ่งในเทรนด์สำคัญ ของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นคือ การ “ลดคาเฟอีน

ลดคาเฟอีน
Athletic woman in grassy meadow drinking from water bottle at sunset

ทั้งนี้ ความรู้สึกที่ว่า “บริโภคคาเฟอีนมากเกินไป” กำลังส่งผลกระทบ ต่อตลาดเครื่องดื่มของญี่ปุ่นอยู่ในขณะนี้ ธุรกิจเครื่องดื่มในญี่ปุ่น ได้รับความเห็นจากผู้บริโภค และผลสำรวจบางอย่างที่ทำให้ต้องกลับมาคิด สำหรับการ “ผลิตสินค้าครั้งใหม่

โดยเมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท Suntory Beverage & Food Limited ได้ทำการสำรวจตลาด และได้รับความคิดเห็นจากผู้บริโภคว่า “วันไหนที่ดื่มกาแฟตอนเช้า ช่วงบ่ายจะพยายามดื่มเครื่องดื่มที่ไม่มีคาเฟอีน”

ส่วนบริษัท Kirin Holdings Company, Limited ก็มีการสำรวจตลาดผู้บริโภคของบริษัทฯ เช่นกัน พบว่า ผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มหลีกเหลี่ยงการบริโภคเครื่องดื่มผสมสารคาเฟอีนมากขึ้น เพราะคำนึงถึงเรื่องสุขภาพ

ขณะเดียวกัน การทำงานอยู่บ้านมากขึ้น ของคนญี่ปุ่นที่ Work from home ในช่วง โควิด-19 ทำให้หยิบดื่มเครื่องดื่มที่ชอบ ออกมาดื่มได้สะดวกกว่าอยู่ออฟฟิศ จึงพยายาม หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพราะไม่อยากให้ร่างกายได้รับมากเกินไป

re 03 2

พฤติกรรมของผู้บริโภคที่แสดงออกมาเช่นนี้ ทำให้ตลาดเครื่องดื่มญี่ปุ่น ในช่วงฤดูร้อนหน้า ที่กำลังจะมาถึง น่าจับตามองเป็นพิเศษ

แนวโน้มความนิยมของการบริโภคเครื่องดื่ม Caffeineless หรือ เครื่องดื่มที่ลดปริมาณการผสมสารคาเฟอีน ที่เพิ่มสูงขึ้นนี้ จากเดิมที่เป็น กลุ่มคุณแม่กำลังอยู่ในช่วงให้นมลูก และพยายามหลีกเลี่ยงคาเฟอีน แต่ตอนนี้มีการขยายตัวของผู้บริโภค ส่งผลให้ผู้ผลิตเครื่องดื่ม หันมาสนใจในตลาดดังกล่าว โดยมีการพัฒนาสินค้า ทั้งทางด้านการตั้งชื่อผลิตภัณฑ์ ให้สื่อถึงสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ รวมถึงการพัฒนารสชาติ และเทคโนโลยีการผลิต

นายกิตติวัฒน์ ปัจฉิมนันท์ ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโตเกียว แนะแนวทางสำหรับผู้ประกอบการสินค้าเครื่องดื่มของไทยที่ต้องการส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น ไว้ 3 ด้านว่า

  • ควรเข้าใจในรสนิยม และความต้องการของผู้บริโภค ดังเช่นเรื่อง Caffeineless ที่กำลังได้รับความนิยม เครื่องดื่มที่ไม่มีหรือลดน้ำตาล ภาชนะบรรจุที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็น ขนาด สีสัน ไปจนถึงการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม

re 01 1

  • พัฒนาสินค้าให้ตรงกับแนวโน้มความต้องการของตลาด ศึกษาวิจัยและพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าที่เป็น Asian Speciality Drink ที่จะดึงดูดผู้บริโภคญี่ปุ่นได้ โดยเน้นจุดขายด้านประโยชน์ต่อสุขภาพและความแปลกใหม่ ซึ่งไทยเองมีความได้เปรียบในด้านวัตถุดิบ ที่เป็นผลผลิตการเกษตรต่าง ๆ รวมทั้งพืชสมุนไพรอยู่แล้ว

แต่ทั้งนี้ จะต้องระวังเรื่องการโฆษณาสรรพคุณ ที่ระบุประโยชน์ทางโภชนาการต่อสุขภาพ ที่อาจจะผิดกฎหมายควบคุมดูแลสินค้าอาหารเพื่อสุขภาพ ของญี่ปุ่น

  • ตลาดผู้บริโภคในญี่ปุ่นโดยรวม เปลี่ยนจากการซื้อ เพื่อการบริโภคสินค้า (Consumption) ไปเป็นเพื่อ การสร้างประสบการณ์ด้วยสินค้า (Experience) ดังนั้น เครื่องดื่มต่าง ๆ ก็อาจจะดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคญี่ปุ่น ได้จากการทำการตลาด ที่ส่งเสริมการสร้างประสบการณ์ อาทิ ใช้กิจกรรมทางวัฒนธรรม อย่างเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี ในหมู่คนญี่ปุ่น สอดแทรกการประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมการบริโภคเครื่องดื่มไทย เป็นต้น

สำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ที่สนใจเข้าร่วมงานแสดงสินค้าเพื่อเจาะตลาดญี่ปุ่น เพื่อขยายตลาดสินค้า และสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับธุรกิจ สามารถเข้าร่วมโครงการส่งเสริมและเพิ่มศักยภาพของ ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs Pro-active โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ในแต่ละปีจะมีงานแสดงสินค้าเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มอยู่หลายงาน อาทิ FOODEX JAPAN, Health Food Exposition & Conference (HFE), Gourmet & Dining Style Show Tokyo และ Hoteres Japan / Caterex Japan / Japan Food Service Equipment Show (HCJ) เป็นต้น

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo