Business

คลิกเลยปุ่มสีเขียวเข้ม เราไม่ทิ้งกัน! เริ่มวันนี้ 7 หมื่นคน ตรวจสิทธิ์รับ 5 พัน!

คลิกปุ่มสีเขียวเข้ม เราไม่ทิ้งกัน 7 หมื่นคน เริ่มวันนี้ คลังเพิ่มปุ่มสีเขียวเข้ม ตรวจสอบผู้มีสิทธิ์ รับเงินเยียวยา 5,000 บาท แต่ยังโอนเงินไม่สำเร็จ   

เราไม่ทิ้งกัน กระทรวงการคลังได้ดำเนินมาตรการเยียวยา 5,000 บาท (มาตรการเราไม่ทิ้งกัน) เสร็จสิ้นแล้ว และผู้มีสิทธิ์รับเงินเยียวยาทั้งหมด 15.3 ล้านคน แต่ปัจจุบันคงเหลือผู้มีสิทธิ์รับเงินเยียวยา แต่กระทรวงการคลังไม่สามารถโอนเงินให้ได้จำนวน 70,000 คน กระทรวงการคลัง จึงได้เพิ่มช่องทางให้ตรวจสอบ โดยให้ไป คลิกปุ่มสีเขียวเข้ม เราไม่ทิ้งกัน เพื่อตรวจสอบผู้มีสิทธิ์ รับเงินเยียวยา 5,000 บาท

จากกรณีที่รัฐบาล เปิดมาตรการเยียวยาลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ นอกระบบประกันสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัส “โควิด-19” จะได้รับเงินสนับสนุนรายละ 5,000 บาท 3 เดือน โดยต้องลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com  เท่านั้น

นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่ากระทรวงการคลัง ได้ดำเนินมาตรการเยียวยา 5,000 บาท (มาตรการเราไม่ทิ้งกัน) เสร็จสิ้นแล้วและผู้มีสิทธิ์รับเงินเยียวยาทั้งหมด 15.3 ล้านคน แต่ปัจจุบันคงเหลือผู้มีสิทธิ์รับเงินเยียวยา แต่กระทรวงการคลังไม่สามารถโอนเงินให้ได้ จำนวน 70,000 คน  ส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาเกี่ยวกับบัญชีรับเงิน เช่น ยังไม่มีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขบัตรประชาชน หรือบัญชีปิด เป็นต้น

เราไม่ทิ้งกัน

กระทรวงการคลัง ได้พยายามโอนเงินซ้ำ (Retry) อย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์จนถึงปัจจุบัน พร้อมทั้งส่งข้อความ SMS แจ้งไปยังหมายเลขโทรศัพท์มือถือ ที่ใช้ลงทะเบียน แต่ยังโอนเงินไม่สำเร็จ ส่วนหนึ่งคาดว่าอาจมีการเปลี่ยนแปลงหมายเลขโทรศัพท์มือถือ

เราไม่ทิ้งกัน ผู้มีสิทธิ์ที่ยังโอนเงินไม่สำเร็จ

ดังนั้น กระทรวงการคลัง จึงได้เพิ่มช่องทางให้ตรวจสอบว่า ท่านอยู่ในกลุ่มผู้มีสิทธิ์ที่กระทรวงการคลัง โอนเงินไม่สำเร็จหรือไม่ ผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ปุ่มสีเขียวเข้ม ผู้มีสิทธิ์ที่ยังโอนเงินไม่สำเร็จ” และกรอกเลขบัตรประชาชน หากตรวจแล้วพบว่าท่านมีชื่ออยู่ในกลุ่มผู้มีสิทธิ์ที่ยังโอนเงินไม่สำเร็จ ขอให้รีบไปติดต่อธนาคารใดก็ได้ที่ท่านมีบัญชีอยู่ และดำเนินการผูกพร้อมเพย์ด้วยเลขบัตรประชาชนโดยเร็ว โดยกระทรวงการคลัง จะพิจารณาปิดโครงการ และยุติการโอนเงินในระยะเวลาที่เหมาะสมต่อไป

โฆษกกระทรวงการคลัง ย้ำว่ากระทรวงการคลังไม่ได้เปิดลงทะเบียนเพิ่มเติมหรือไม่ ได้แจ้งชื่อผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินเพิ่มเติมแต่อย่างใด การเปิดให้ตรวจสอบผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ปุ่มสีเขียวเข้มนั้น เป็นการตรวจสอบว่าท่านมีรายชื่ออยู่ในกลุ่มที่โอนเงินไม่สำเร็จหรือไม่เท่านั้น เพื่อให้สามารถโอนเงินถึงมือผู้มีสิทธิ์ได้อย่างครบถ้วน ทั้งนี้ สามารถเข้าไปตรวจสอบรายชื่อได้ตั้งแต่วันนี้ (12ส.ค.) เป็นต้นไป

ก่อนหน้านี้ Anti-Fake News Center Thailand รายงานว่า ตามที่ได้มีข่าวปรากฎในสื่อออนไลน์ต่างๆ ถึงประเด็นเรื่อง ศบค. แจ้งเพิ่มเงินเยียวยา 5,000 บาท ต่ออีก 1 เดือน ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) พบว่าข้อมูลที่ปรากฏดังกล่าว เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีข้อความที่การกล่าวถึง ศบค. ว่าได้ออกมาแจ้งเรื่องมาตรการเยียวยา 5,000 บาท ที่มีการต่ออีก 1 เดือนนั้น ทางศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. ได้ออกมาชี้แจงว่า ไม่เป็นความจริง เนื่องจากทาง ศบค. ไม่เคยกล่าวว่า มีการต่อมาตรการเยียวยาอีก 1 เดือน ตามที่กล่าวอ้าง

อีกทั้งปัจจุบันมาตรการ “เราไม่ทิ้งกัน” หรือ มาตรการเยียวยา 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือนนั้น ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว และขณะนี้ยังไม่มีการพิจารณาถึงเรื่องการต่อมาตรการเยียวยาออกไปอีก 1 เดือน

โอนไม่สำเร็จต้องผูกบัญชีพร้อมเพย์ 

สำหรับกลุ่มผู้ ที่ได้รับสิทธิ์ตามมาตรการฯ แต่ยังไม่ได้รับเงินเยียวยา เนื่องจากประสบปัญหา โอนเงินไม่สำเร็จ เพราะชื่อบัญชีไม่ตรงกับชื่อ และนามสกุล ที่ลงทะเบียนไว้ กระทรวงการคลัง ยังดำเนินการโอนเงินให้แก่ผู้ที่ได้รับสิทธิ์ โดยขอให้ผู้ได้รับสิทธิ์ไปดำเนินการผูกบัญชีพร้อมเพย์ ด้วยเลขบัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งจะมีการโอนเงินให้ผู้ได้รับสิทธิ์ต่อไป (ข้อมูล ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2563)

ดังนั้น ขอให้ประชาชน อย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจาก ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) สามารถติดตามข้อมูลได้ที่เฟซบุ๊ก ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) หรือโทร GCC1111

ทั้งนี้ ศบค. ไม่เคยกล่าวว่ามีการต่อมาตรการเยียวยาอีก 1 เดือน ซึ่งปัจจุบันมาตรการเยียวยา 5,000 บาท ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว และขณะนี้ยังไม่มีการพิจารณาถึง เรื่องการต่อมาตรการเยียวยาออกไปอีก 1 เดือน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight