The Bangkok Insight

‘อุตสาหกรรมอาหารไทย’ การ์ดดี ไม่มีตก

สถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้น ทำให้โรงงานแปรรูปเนื้อสัตว์ และโรงงานผลิตอาหารหลายแห่ง ไล่ตั้งแต่สหรัฐ เยอรมนี และสหราชอาณาจักร ไปจนถึงบราซิล ต้องปิด หรือหยุดการผลิตชั่วคราว ทำให้เนื้อสัตว์ขาดตลาด

ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตอาหารรายใหญ่เพียงไม่กี่รายที่ยังสามารถผลิตอาหารได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยมาตรการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงใหม่ๆ ก็สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา หากเราการ์ดตกแค่ครั้งเดียว ก็อาจจะลงไปนอนน็อคได้เหมือนกัน

S 18546711

เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคมที่ผ่านมา ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์เรื่อง “โควิด-19 กับอาหารแช่แข็ง” บนเฟซบุ๊กส่วนตัว “Yong Poovorawan” ตั้งข้อสังเกตว่า การระบาดของโควิด-19 ในปักกิ่ง พบเชื้อที่เขียงปลาแซลมอนนำเข้าจากเดนมาร์ก และล่าสุด ในต้าเหลียน ก็พบเชื้อจากกุ้งนำเข้า เป็นข้อเตือนใจการซื้ออาหารแช่แข็งว่า ต้องให้ความสำคัญกับสุขอนามัยอยู่เสมอ

ด้านผู้ผลิตอาหารก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ และยังคงตั้งการ์ดป้องกันอย่างเหนียวแน่นมาโดยตลอด CPF เปิดเผยว่า แม้สถานการณ์โควิด-19 ในไทยเริ่มผ่อนคลาย แต่บริษัทยังคงใช้มาตรการป้องกันสูงสุด เพื่อให้อาหารปลอดภัยตั้งแต่ต้นทาง จนถึงมือผู้บริโภค

CPF ได้ศึกษา และถอดบทเรียนจากโมเดลความสำเร็จของซีพี ในอู่ฮั่น ประเทศจีน ที่สามารถป้องกันโรคระบาด สร้างความเชื่อมั่นให้กับพนักงาน พร้อมทั้งผลิตอาหารให้ผู้บริโภคได้อย่างต่อเนื่อง แม้จะอยู่ในจุดศูนย์กลางของการระบาด

S 18546712

S 18546709

จนเป็นที่มาของการยกระดับมาตรการควบคุมด้านสุขอนามัย และครบวงจร ตั้งแต่โรงงานผลิตอาหารสัตว์ ฟาร์มปศุสัตว์ โรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูป ไปจนถึงพนักงาน ระบบการขนส่ง และการกระจายสินค้า

โรงงานแปรรูปอาหารของ CPF ได้ติดตั้งประตูสแกนอุณหภูมิร่างกายแบบเดินผ่าน ช่วยคัดกรองอุณหภูมิแม่นยำยิ่งขึ้น ตลอดจนส่งเสริมการปฏิบัติตามหลักสุขอนามัย ทั้งการใส่หน้ากากอนามัย และหมั่นล้างมือเป็นประจำ เพิ่มความถี่ในการฆ่าเชื้อในพื้นที่ และจุดที่สัมผัสบ่อย รวมถึงเพิ่มการขนส่งด้วยระบบสายพาน เพื่อลดการสัมผัสของพนักงาน

นอกจากนี้ บริษัทได้กำหนดระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และ ระยะห่างทางบุคคล (Physical Distancing) เพื่อช่วยลดความเสี่ยง ของการแพร่ระบาดในโรงงานให้มากที่สุด

S 18546713

เริ่มตั้งแต่การเดินทางของพนักงาน ซึ่งบริษัทได้เพิ่มจำนวนรถรับส่งพนักงาน เพื่อให้ได้นั่งบนรถ แบบเว้นระยะห่าง รวมทั้งงดกิจกรรมการตรวจเยี่ยม จากบุคคลภายนอก  และตรวจคัดกรองลูกค้า และผู้รับเหมาอย่างเคร่งครัด

ในขณะเดียวกัน ฟาร์มของบริษัท และเกษตรกรในโครงการส่งเสริมอาชีพ แก่เกษตรกรรายย่อย (คอนแทรคฟาร์ม) ได้ปรับตัวเข้าสู่ยุค New Normal

น.สพ.ดำเนิน จตุรวิธวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านบริการวิชาการสุกร CPF ย้ำว่า บริษัทมีมาตรการเฝ้าระวังโรคในสัตว์ และมาตรการสุขอนามัย ของบุคลากรที่เคร่งครัดทั้งในฟาร์มสัตว์บก และสัตว์น้ำ มาอย่างต่อเนื่อง

ในช่วงที่มีโรคระบาด บริษัทได้ประกาศมาตรการเสริม ได้แก่

  • การคัดกรองตรวจวัดอุณหภูมิพนักงานทุกคน ทุกวันก่อนเข้าปฏิบัติงาน
  • การเว้นระยะทางสังคม เช่น การเว้นระยะห่าง 2 เมตร งดการเยี่ยมชมฟาร์ม งดเดินทางเข้าพื้นที่เสี่ยง และการทำงานที่บ้าน
  • สุขอนามัยส่วนบุคคล การสวมหน้ากากอนามัย และอุปกรณ์ป้องกัน
  • การขนส่งปลอดภัย มีการตรวจอุณหภูมิก่อนปฏิบัติงาน สวมหน้ากากอนามัย และจัดส่งแบบไม่สัมผัส เป็นต้น

S 18546714

นอกจากนี้ ฟาร์มสุกรทั้งหมดของ CPF ในปัจจุบัน เป็นการเลี้ยงด้วยระบบไบโอ ซีเคียวริตี้ ที่มีประสิทธิภาพ สามารถป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์ม เช่น เลี้ยงในระบบโรงเรือนปิด ที่ควบคุมอุณหภูมิ ด้วยอาหารสัตว์ ที่สามารถตรวจสอบแหล่งวัตถุดิบ โดยรับจากแหล่งที่ปลอดภัย ปลอดเชื้อเท่านั้น มีระบบฆ่าเชื้อรถขนส่ง กำหนดจุดส่งมอบสินค้าแยกจากฟาร์ม

ในร้านซีพี เฟรชมาร์ท พนักงาน CP Freshmart Delivery จัดส่งอาหาร โดยปฏิบัติตามมาตรการป้องกันความเสี่ยงติดเชื้อ อาทิ ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายพนักงานทุกวัน การเว้นระยะห่างในการส่งสินค้าแก่ผู้รับบริการ และส่งเสริมการชำระค่าบริการทางดิจิตอล

ทั้งนี้ CPF ยังได้จัดตั้ง “ศูนย์ฮอตไลน์ โควิด19” (CPF Covid-19 hotline) เพื่อให้พนักงานสอบถามข้อมูล และแจ้งอาการป่วยได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีล่ามให้พนักงานต่างชาติ เพื่อทำความเข้าใจพนักงานทุกคน ทุกระดับ สร้างความมั่นใจในการทำงาน

จากความสำเร็จในอู่ฮั่น สู่ประเทศไทย CPF ได้ส่งต่อองค์ความรู้เหล่านี้ ไปยังกิจการในต่างประเทศ จนทำให้ธุรกิจของบริษัททั่วโลก สามารถส่งมอบอาหารปลอดภัย สร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับประเทศของตน ตามวิสัยทัศน์การเป็น “ครัวของโลก”

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo