Business

เทียบฟอร์ม ‘5 หุ้นแบงก์ใหญ่’ ใครมั่นคงกว่ากัน!

เทียบฟอร์ม “5 หุ้นแบงก์ใหญ่” ใครมั่นคงกว่ากัน พร้อมเปิด 4 ปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจธนาคาร

เดิมนั้นหุ้นธนาคารถือได้ว่า เป็นหุ้นกลุ่มแรกๆ ที่นักลงทุนนึกถึงอยู่เสมอ ด้วยพื้นฐานธุรกิจที่มั่นคง จ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ และมีสภาพคล่องสูง ยิ่งในช่วงที่เศรษฐกิจเติบโตดี หุ้นกลุ่มธนาคาร ยิ่งได้รับความสนใจเป็นพิเศษ

แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันที่เศรษฐกิจชะลอตัว รวมถึงการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยขอให้ธนาคารพาณิชย์งดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล ทำให้เกิดความกังวัลที่จะลงทุนหุ้นธนาคารพอสมควร เพราะต้องมาลุ้นต่อว่าปันผลประจำปีจะจ่ายไหม หรือจะจ่ายลดลงหรือเปล่า? ขณะเดียวกันหลายคนก็มองว่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนสำคัญอีกด้วย

5 หุ้นแบงก์ใหญ่ cover 01

อย่างไรก็ดี ก่อนจะไปลงรายละเอียดเจาะลึกหุ้นแบงก์ อยากจะให้ทุกคนเข้าใจ Business Model คร่าวๆ ของธุรกิจธนาคารกันก่อนว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ควรให้ความสำคัญ โดยสามารถแบ่งเป็น 4 ปัจจัย ดังนี้

1. อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก (Loan to Deposit) : ในยามเศรษฐกิจเติบโต ยิ่งสูง ยิ่งดี  

ยิ่งธนาคารปล่อยกู้ได้เยอะ สินเชื่อเพิ่ม ก็หมายถึงโอกาสสร้างกำไรจากเงินฝากที่มากขึ้น ซึ่งในยามเศรษฐกิจเติบโต จำนวนการปล่อยสินเชื่อต่อเงินฝากก็มักเติบโตสัมพันธ์กัน แต่ก็ต้องระวังหากเป็นช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ หากมี Loan to Deposit มากจนเกินไป ก็อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงได้

2. ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กับเงินฝาก (NIM : Net Interest Margin) : ยิ่งสูง ยิ่งดี

อธิบายง่ายๆ Net Interest Margin นั้นเปรียบเสมือนมาร์จินของธนาคาร ถ้าส่วนต่างยิ่งมาก กำไรก็ยิ่งเยอะนั่นเอง

3. สัดส่วนหนี้เสียต่อสินเชื่อ (NPL Ratio) : ยิ่งน้อย ยิ่งดี

ไม่ใช่ว่าสินเชื่อทุกบาทธนาคารจะได้คืนหมด ซึ่งสินเชื่อที่เก็บคืนไม่ได้ เราเรียกว่า “หนี้เสีย” ธนาคารที่ดี ไม่ควรปล่อยให้สัดส่วน NPL สูงจนเกินไป

4. เงินกองทุนสำรองต่อสินทรัพย์เสี่ยง (Capital Adequacy Ratio หรือ CAR) : ยิ่งสูง ยิ่งดี 

แต่ละธนาคารจะมีการกำหนดเงินกองทุนสำรองเอาไว้รองรับความเสี่ยง เช่น เวลาที่เก็บสินเชื่อไม่ได้ เป็นต้น โดยปัจจุบันมีการกำหนดขั้นต่ำไว้ที่ 12% แต่ธนาคารสามารถสำรองได้สูงกว่านี้ เพื่อความมั่นคงของตัวเอง 

เมื่อเข้าใจถึง 4 ปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจธนาคารแล้ว ลำดับต่อไปเรามาสำรวจกันดูว่า ในกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารกรุงไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ แต่ละแห่งเป็นอย่างไรกันบ้าง 

5 หุ้นแบงก์ใหญ่ 01

เพราะว่ากันว่าปัจจัยลบต่างๆ จะสะท้อนชัดเจนในช่วงนั้น เนื่องจากมาตรการพักชำระหนี้ที่หมดลง ส่งผลให้ตัวเลขหนี้เสียต่างๆ อาจจะทวีความรุนแรงขึ้น และมีโอกาสเกิดเป็นปัญหาระยะยาวได้นั่นเอง ซึ่งก็คงต้องรอลุ้นกันดูครับว่าจะเป็นจริงแท้แค่ไหน โดยสรุปภาพรวมแล้ว ในกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ ยังถือว่ามีฐานะการเงินที่มั่นคงพอสมควร จากตัวเลขเงินกองทุนที่สูงกว่าเกณฑ์กำหนด ขณะที่ NPL ก็ยังไม่สูงมากนัก แต่อย่างไรก็ตาม นักลงทุนจะประมาทไม่ได้ อาจต้องรอติดตามตัวเลขในไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ให้ดีๆ 

 รวบรวมข้อมูลจาก : ข้อมูลงบการเงินไตรมาส 2/2563, ธนาคารแห่งประเทศไทย, JITTA THAILAND, S&P Global Market

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo