Digital Economy

ระทึก!! ลูกค้าดีแทค 4 แสนรายจ่อ ‘ซิมดับ’ หากไร้แผนเยียวยา  

การประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือกสทช. วันที่ 5 กันยายนนี้ เป็นการประชุมที่น่าจะสนใจ ว่าจะมีการพิจารณามาตรการเยียวยาให้กับบริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการโทรคมนาคม เครือข่าย “ดีแทค” ตามที่บริษัทเสนอไปหรือไม่ เนื่องจากวันที่ 15 กันยายน 2561 เป็นวันที่สิ้นสุดสัมปทานคลื่นความถี่ 850  MHz

28058717 10156845999552069 8599203087722903353 n

ขณะที่ดีแทคยืนยันว่าได้เสนอมาตรการเยียวยาให้กับทางกสทช.พิจารณา แต่ตอนนี้ดีแทคเหลือเวลาอีกประมาณ 10 วัน ที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน

เหตุผลที่ต้องขอช่วยเรื่องเยียวยาก็เพราะที่ผ่านมา เมื่อปี 2556 คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ของ TRUE และ DPC (บริษัทในเครือ AIS) เมื่อสิ้นสุดสัมปทาน กสทช. ได้ออกประกาศมาตรการเยียวยา โดยให้ผู้ใช้บริการของ TRUE และ DPC (บริษัทในเครือ AIS) ได้รับความคุ้มครองทั้งสิ้นเป็นเวลา 1 ปีหลังจากสิ้นสุดสัมปทาน

การที่กสทช.ตั้งเงื่อนไขจะให้เยียวยาได้ต้องเข้าร่วมประมูลคลื่น 900  MHz แต่ดีแทคก็ให้เหตุที่ไม่สามารถเข้าร่วมได้ไปแล้ว ที่ดีแทคยื่นแผนเยียวยา ต้องการเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับลูกค้า ที่สำคัญรายได้จาการให้บริการช่วงเยียวยา ก็ยินดีจ่ายให้กับรัฐ ซึ่งได้ตกลงกับ บมจ. กสท โทรคมนาคม หรือ CAT ไปแล้ว

“หากดีแทคไม่ได้รับอนุมัติให้เยียวยาจากบอร์ดกสทช.ครั้งนี้ ลูกค้าดีแทคกว่า 4 แสนราย จะเกิดปัญหา “ซิมดับ” ทันทีหลังวันที่ 15 กันยายนนี้ เท่ากับเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ใช้บริการแน่นอน” แหล่งข่าว ระบุ และว่าปัญหาการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ใช้บริการเกิดขึ้นแน่นอน ส่วนจะฟ้องเรียกว่าเสียหายจากใครเป็นหน้าที่ผู้ใช้บริการ

ทั้งนี้ ฝ่ายบริหารดีแทค ให้เหตุผลว่าการที่ไม่เข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz  เนื่องจากดีแทค ถือครองอยู่เป็นคลื่นความถี่ย่าน 850 MHz แต่การจัดประมูลเป็นการจัดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ซึ่งเป็นคนละคลื่นความถี่กัน ประกอบกับที่ผ่านมามีความไม่แน่นอนในการจะนำคลื่นความถี่ใดออกประมูลหรือไม่ออกประมูลมาตลอด

อย่างไรก็ตาม แม้ดีแทคจะเข้าร่วมและชนะการประมูลดีแทคอาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี เพื่อเตรียมการสำหรับให้บริการบนคลื่นความถี่ใหม่ ผู้ใช้บริการของดีแทค จึงมีความจำเป็นที่ต้องได้รับความคุ้มครองตามประกาศมาตรการเยียวยาฯ ในระหว่างที่ดีแทค ยังไม่พร้อมเริ่มให้บริการเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ การจัดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ยังกำหนดเงื่อนไขไว้ใบอนุญาต ให้ผู้ชนะการประมูลต้องรับผิดชอบ แก้ไขปัญหา คลื่นรบกวนทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว พร้อมทั้งติดตั้งระบบป้องกันการกวนสัญญาณทั้งหมด อีกทั้ง กสทช. ยังสงวนสิทธิ์ปรับเปลี่ยนช่วงคลื่นความถี่ได้กรณีจำเป็น

เงื่อนไขต่างๆ ทั้งหมดก่อให้เกิดต้นทุนที่สูง และไม่มีใครสามารถระบุได้แน่นอนว่า จำนวนเงินที่แท้จริงจะเป็นเท่าไหร่ ยังมีความไม่แน่นอน หากมีการปรับเปลี่ยนช่วงคลื่น อาจทำให้ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ทั้งหมด ความเสี่ยงดังกล่าว ทำให้ดีแทคไม่สามารถเข้าร่วมประมูลได้

ก่อนหน้านี้ ดีแทคได้เรียกร้องให้กสทช. ยกเลิกมติ ที่จะทบทวนเงื่อนไขการประมูลความถี่ย่าน 900 MHz เนื่องจากการจัดประมูลครั้งใหม่ จะไม่ทันกำหนดเวลาสิ้นสุดสัมปทานของบริษัทในวันที่ 15 กันยายน 2561

ดีแทคยังได้ขอให้กสทช. กำหนดให้ผู้ใช้บริการทุกรายได้รับความคุ้มครองตามมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นการชั่วคราว ในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ.2556 ( ประกาศเยียวยาฯ ) ที่กสทช. มีมติออกมา ตามการประชุมครั้งที่ 13/2561 เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ใช้บริการจากการสิ้นสุดของสัญญาสัมปทาน จนกว่ากสทช. จะได้จัดสรรคลื่นความถี่สัมปทานย่าน 900 MHz แล้วเสร็จ โดยบริษัทยินดีที่จะปฏิบัติตามประกาศเยียวยาโดยนำส่งรายได้ หลังหักค่าใช้จ่ายให้แก่รัฐ

 

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight