Technology

เปิดเพจ ‘อาสา จับตา ออนไลน์’ แจ้งเบาะแส จับเว็บผิดกฏหมาย

จับเว็บผิดกฏหมาย ดีอีเอส ผนึก กสทช. ไอเอสพี ตั้งทีมทำงาน พร้อมเปิดเพจ “อาสา จับตา ออนไลน์” ให้แจ้งเบาะแส เผย 7 เดือน ปิดแล้ว 7,164 เว็

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า ดีอีเอส ได้เปิดเพจเฟซบุ๊ก “อาสา จับตา ออนไลน์” เพื่อเป็นช่องทาง รับแจ้งข้อมูลจากประชาชน โดยมีเจ้าหน้าที่รับเรื่องและตรวจสอบตลอด 24 ชม. รวมถึง หมายเลขโทรศัพท์ 02-141 6747 เพื่อให้ประชาชนแจ้งเบาะแส จับเว็บผิดกฏหมาย

จับเว็บผิดกฏหมาย

ทั้งนี้ ในรอบ 7 เดือนแรกของปี 2563 กระทรวงดิจิทัลฯ ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) และประสานงานร่วมกับไอเอสพี จนนำไปสู่กระบวนการตรวจสอบ รวบรวมพยานหลักฐาน และยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งปิด หรือลบข้อมูล ในเว็บไซต์ผิดกฎหมายไปแล้ว จำนวน 7,164 ยูอาร์แอล (ขัอมูล ณ วันที่ 23 ก.ค.2563) จากจำนวนที่ได้รับแจ้งทั้งสิ้น 8,715 ยูอาร์แอล และส่งศาล 7,164 ยูอาร์แอล

สำหรับการกระทำผิดส่วนใหญ่ ที่ได้รับข้อมูล จากการแจ้งข้อมูลเข้ามา พบว่า ส่วนใหญ่เกิดขึ้นบน เครือข่ายสังคมออนไลน์ และมีช่องทางอื่นๆ บ้าง ทั้งนี้ ดีอีเอส ได้ดำเนินการส่งข้อมูลให้กับบก.ปอท. จำนวน 7,164 ยูอาร์แอล พร้อมพยาน หลักฐาน และคำสั่งศาล เพื่อดำเนินการหาตัวผู้กระทำความผิดตามกฎหมายต่อไป

จับเว็บผิดกฏหมาย

 

นายพุทธิพงษ์ อธิบายขั้นตอนการทำงานว่า เริ่มจากการรับแจ้งเว็บไซต์จากประชาชน พร้อมทั้งตรวจสอบ รวบรวมหลักฐานพยานที่ครบถ้วน และมีขั้นตอนของการยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่ง ให้ปิดหรือลบข้อมูล ต่อไป

จากนั้นขั้นตอนสำคัญ คือ หากได้คำสั่งศาล ก็จะมีการส่งให้กับผู้บริการอินเทอร์เน็ต (ไอเอสพี) และส่งคำสั่งศาลให้กับ ผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ (เฟซบุ๊ก /ยูทูบ /ทวิตเตอร์) เพื่อดำเนินการปิด หรือลบข้อมูล ที่ผิดกฎหมายต่อไป โดยจะมีการแต่งตั้งคณะทำงานร่วมกับไอเอสพี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำงานเชิงรุกให้ปัญหาการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ลดลง

ปัจจุบันประเทศไทย มีกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ หรือทางออนไลน์ ได้แก่ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ซึ่งมีบทบัญญัติที่มีการกำหนดความผิด และกำหนดโทษทางอาญา สำหรับการเผยแพร่ หรือสร้างข่าวปลอม ในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะในมาตรา 14 มาตร 15 และมาตรา 16 ที่บัญญัติถึงการนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จสู่ระบบคอมพิวเตอร์

เว็บ 1

ที่ผ่านมา ได้มีการใช้มาตรา 14 และมาตรา 15 และมาตรา 16 จัดการกับปัญหา ผู้กระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ มาแล้วหลายคดี เช่น การกดแชร์ข้อมูลที่มีเนื้อหาเข้าข่ายความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ การตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีเจตนาทำให้ผู้อื่นนั้นเสียหาย ก็มีความผิดเช่นกัน แต่ก็มีข้อสังเกตบางประการว่ากฎหมายไทยก็ยังไม่ได้ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการลบหรือสั่งให้ลบ หรือจัดการกับข้อมูลอันเป็นเท็จนั้นๆ เหมือนกฎหมายในต่างประเทศ

รมว.ดิจิทัลฯ ยังกล่าวฝากข้อห่วงใยเรื่องที่ห้ามทำ ผิดกฎหมาย พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ ได้แก่

1. เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ชอบ

2. แก้ไข ดัดแปลง หรือทำให้ข้อมูลผู้อื่นเสียหาย

3. ส่งข้อมูลหรืออีเมล์ก่อกวนผู้อื่น หรือส่งอีเมล์สแปม

4. เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลทางด้านความมั่นคงโดยมิชอบ

5. จำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อนำไปใช้กระทำความผิด

พุทธิพงษ์

6. ข้อมูลที่ผิด พ.ร.บ. เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์

7. ให้ความร่วมมือ ยินยอม รู้เห็นเป็นใจกับผู้ร่วมกระทำความผิด

8. ตัดต่อเติม หรือดัดแปลงภาพ

9. เผยแพร่ข้อมูล เกี่ยวกับเยาวชน ต้องกระทำโดยปกปิดไม่ให้ทราบตัวตน

10. เผยแพร่เนื้อหาลามก อนาจาร

11. กด Like & Share ถือเป็นวิธีหนึ่งในการ เผยแพร่ข้อมูล

12. แสดงความคิดเห็นที่ผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ

13. ละเมิดลิขสิทธิ์ นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo