COVID-19

เปิดรับผู้ป่วยนอก เข้าโรงพยาบาลทางเลือก ประเดิม จีน เมียนมาร์ กัมพูชา

เปิดรับผู้ป่วยนอก รักษาต่อเนื่อง สธ.เข้มมาตรการกักตัว ประเดิม 3 ประเทศ จีน เมียนมาร์ กัมพูชา มีโรงพยาบาลทางเลือกเข้าร่วมแล้ว 382 แห่ง

ทันตแพทย์อาคม ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดี กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) เปิดเผยว่า ได้  เปิดรับผู้ป่วยนอก หรือผู้ป่วยที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ เข้ามารับการรักษาพยาบาล ในโรงพยาบาลทางเลือกแล้ว รวมผู้ติดตาม โดยจะเน้นในกลุ่มรักษาต่อเนื่อง การรักษาศักยภาพสูง (Magnet) และมีนัดหมาย ที่สำคัญคือ ไม่ใช่ผู้ป่วยโควิด-19

เปิดรับผู้ป่วยนอก

สำหรับการเปิดรับ กลุ่มผู้ป่วยดังกล่าว เป็นไปตามประกาศ ที่ให้มีสถานกักกันในโรงพยาบาลทางเลือก (Alternative Hospital Quarantine) สำหรับผู้ป่วยชาวไทย และชาวต่างชาติ รวมผู้ติดตาม ที่เดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรไทย โดยเป็นการรักษา ในสถานพยาบาลภาครัฐ และภาคเอกชน ที่กำหนด

นอกจากนี้ ต้องมีการนัดหมายไว้ล่วงหน้า ตามกลุ่มโรค อาการ หัตถการที่นัดหมาย เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน ซึ่งโรงพยาบาล จะต้องจัดสถานที่เฉพาะ ไม่ปะปนกับผู้ป่วยอื่น รวมทั้งมีห้องพักกักตัวญาติ 14 วันเช่นเดียวกัน และมีระบบการป้องกัน ไม่ให้ออกนอกสถานที่กักตัว เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคโควิด-19

ทั้งนี้ล่าสุด ได้ประกาศรายชื่อและออกใบประกาศ รับรองสถานพยาบาล ที่ร่วมเป็นสถานกักกัน ในโรงพยาบาลทางเลือก (Alternative Hospital Quarantine) แล้ว 124 แห่ง แบ่งเป็น โรงพยาบาล 98 แห่ง และ คลินิก 26 แห่ง และได้เปิดรับผู้ป่วยชาวไทยและชาวต่างชาติเข้ามารับการรักษาพยาบาลแล้ว

สธ. 1

การเปิดรับผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวนี้ ในเบื้องต้น ได้อนุญาตเฉพาะ ผู้ป่วยที่เดินทางมาจาก กลุ่มประเทศสีเขียว ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำ 3 ประเทศ ได้แก่ จีน เมียนมาร์ และกัมพูชา เฉพาะการรักษาพยาบาล และบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ที่มีศักยภาพสูง (Magnet) อาทิ โรคตา โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ภาวะมีบุตรยาก ศัลยกรรมเสริมความงาม เป็นต้น

“ทั้งหมดนี้ เป็นการรักษาโรคตามกลุ่มเป้าหมาย ที่ไม่เกี่ยวข้องกับ กรณีการรักษาโรคโควิด 19 สำหรับผู้ป่วยชาวต่างชาติ มีผู้ติดตามได้ไม่เกิน 3 คน”ทันตแพทย์อาคม กล่าว

พร้อมกันนี้ ยังย้ำว่า กระทรวงสาธารณสุข มีกลไกควบคุมกำกับดูแล โรงพยาบาลทางเลือก อย่างเข้มงวด ผู้ป่วยและญาติ ที่เข้ารับการรักษาพยาบาล จะต้องมีหนังสือรับรองผล การตรวจโควิด 19 ก่อนเข้าประเทศไม่เกิน 72 ชั่วโมง และเมื่อเข้ารักษา ในโรงพยาบาล จะได้รับการตรวจซ้ำอีก 3 ครั้ง คือ วันแรก, วันที่ 5-7 และในวันที่ 14

medical tourism ๒๐๐๗๒๙

หากผลการตรวจไม่พบเชื้อ จะอนุญาตให้ผู้ป่วย และผู้ติดตาม ออกจากโรงพยาบาลได้ พร้อมหนังสือรับรอง การกักกันตัวครบ 14 วัน ที่อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ หรือ ผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ออกให้ และจะสามารถไปท่องเที่ยวตามแผนการเดินทาง ที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการสร้างรายได้เข้าประเทศ ทั้งธุรกิจด้านการแพทย์ และการท่องเที่ยวของประเทศ ตามนโยบาย การเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub)

ด้านนายแพทย์ไพบูลย์ เอกแสงศรี เลขาธิการสมาคมโรงพยาบาลเอกชน กล่าวว่า ประเทศไทยมีโรงพยาบาลเอกชน 382 แห่ง สมัครเข้าร่วมเป็นโรงพยาบาลทางเลือก 98 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่ให้บริการชาวต่างชาติ สร้างรายได้เข้าประเทศ

ขณะนี้มีผู้ป่วยที่ต้องรักษาต่อเนื่อง และผู้ป่วยตามนัดหมายเริ่มเข้ามารักษาแล้ว ไม่ใช่ผู้ป่วยโรคโควิด 19 โดยโรงพยาบาล มีการจัดระบบรองรับ ตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้มั่นใจว่า มีการป้องกันควบคุมโรค ไม่เข้ามาแพร่ในประเทศไทย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo